เมื่อไรที่ลูกค้าส่วนใหญ่พูดว่า
"ครั้งเดียวพอ"
เมื่อนั้น รอเจ๊งได้เลยครับ
. . . . .
แอดฯเองไปกินหม่าล่าสายพาน
ตั้งแต่ยุคต้นๆจนถึงโค้งสุดท้าย
ที่เริ่มมีร้านหม่าล่าสายพานเจ๊งกัน
บางร้านที่ยังสู้อยู่ ก็ปรับกลยุทธ์
เป็นไพ่ใบสุดท้ายคือทำ บุฟเฟ่ต์
.
ช่วง 1 - 2 เดือนนี้แอดฯมักจะลอง
ไปกินร้านหม่าล่าสายพานที่เงียบๆดู
แต่ 3 ครั้ง 3 ร้านที่ไปมามีคำๆเดียว
ในหัวตลอดเลยว่า "ครั้งเดียวพอ"
สิ่งที่ทำให้เกิดคำนี้มีไม่มาก คือ
- ร้านไม่สะอาด ตั้งแต่พื้น ยันสายพาน
ภาชนะที่วาง Set ไว้ก็มีคราบ
กระบอกใส่ไม้เสียบก็เลอะเถอะ
- พนักงานไม่ใส่ใจ บริการช้า
มีร้านหนึ่งเหมือนเราไป
รบกวนเวลาเล่นมือถือเขาเลย
- คุณภาพอาหารห่วยแตก
วัตถุดิบแช่น้ำอยู่ในชาม
เนื้อหมูช้ำๆ ผักก็เหี่ยว
เหมือนดูถูกลูกค้า
ซึ่งในภาพเป็นหมูสามชั้น
ที่แอดฯแบบ "อห!!!มาก"
จากบรรยากาศร้าน
แอดฯเข้าใจว่าธุรกิจเป็นขาลง
เลยต้องการเซฟต้นทุน
แต่บอกเลยว่าการทำบุฟเฟ่ต์
แล้วเซฟต้นทุนแบบนี้
ด้วยการเอาของที่คุณภาพ
ไม่เหมาะกับราคาขายมาลง
เป็นการไล่ลูกค้าทางอ้อมชัดๆ
ยิ่งเซฟยิ่งตาย
. . . . .
ใครที่กำลังเกิดวิกฤต
เรื่องยอดขายตก กำไรหาย
หนึ่งอย่างที่อยากฝากเลยคือ
"อย่าลดต้นทุนแบบผิดๆ"
การลดต้นทุนที่ถูกต้อง
มีหลายมิติให้ทำกัน
ที่จะไม่ส่งผลต่อคุณภาพอาหาร
ได้แก่
- การลด Waste การตัดแต่งผัก เนื้อสัตว์
- การลด Waste จากการสั่งของ
ให้พอเหมาะกับยอดขาย
- ควบคุมการใช้น้ำ ไฟ แก๊สของร้าน
- ควบคุมการใช้วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆเช่น
ถุงขยะดำ หมวกคลุมผม น้ำยาล้างจาน
น้ำยาถูพื้น ทิชชู่ม้วนยาว
- เสาะหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
ใกล้เคียงเดิมหรือดีกว่าในราคาที่ถูกลง
- เจรจากับซัพฯโดยใช้การการันตี
Volume การใช้ต่อเดือน
เพื่อให้ราคาถูกลง และค่อยๆรับเข้า
ตามรอบการใช้งานแต่ละวัน
- หากเป็นร้านบุฟเฟ่ต์สายพาน
หรือหมูกระทะเดินตัก
อาหารในไลน์หรือสายพาน
ที่เป็นพวกของพร้อมรับประทาน
เช่น ไส้กรอกทอด เฟรนฟราย
ซาลาเปาทอด หากรู้ว่าวันนี้แนวโน้ม
ลูกค้าน่าจะเข้าน้อยจากสถิติที่ขายมา
หรือเป็นช่วงใกล้ปิดร้าน
ก็วางรูปภาพที่จุดบาร์ตักอาหาร
แทนการลงอาหาร และข้อความสั้นๆว่า
"สั่งได้ที่พนักงาน เพื่อคุณภาพอาหารที่อร่อย"
. . . . .
สุดท้ายหากเสิร์ฟอาหารแบบในภาพ
บอกเป็นสโลแกนได้เลยว่า
"ครั้งเดียวพอ รอวันเจ๊ง"