เอามาปรับใช้ได้หลายรูปแบบมากค่ะ จะลองยกตัวอย่างให้ดู
ในตอนท้ายของแต่ละบท Goggins ได้กำหนดงานสำหรับผู้อ่านโดยอิงจากเครื่องมือ และวิธีสอนที่เขาใช้ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา เช่น
Reality check:
ในบทเริ่มต้นของหนังสือ Goggins พูดถึงความทรงจำในวัยเด็กที่บอบช้ำทางจิตใจ โดยเฉพาะลักษณะการล่วงละเมิดของพ่อ
Goggins เชื่อว่าชีวิตของเขาถูกกำหนดไว้สำหรับความล้มเหลว แต่การเข้าร่วมฝึกในกองทัพทำให้เขาคิดว่าเขาจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมาย ชีวิตเค้ามี potential และมีลู่ทางมากขึ้นกว่าจมอยู่กับอดีต
การฝึกที่เราใช้ได้: ลองไตร่ตรองตนเองโดยบันทึกความยากลำบากในอดีตของเรา ข้อด้อยหรือดูว่าเราเคยท้าทายทดสอบตัวเองอย่างแท้จริงหรือไม่ สร้าง “กระจกสะท้อนความรับผิดชอบ” โดยจดความไม่มั่นคงของเรา ปม ข้อด้อย ความฝัน และเป้าหมายลงในกระดาษโพสต์อิทแล้วติดแท็กไว้ที่กระจก
นี่เป็นการตรวจสอบความเป็นจริง เตือนถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในหาความรู้ ปรับตัวจากข้อด้อย แก้ไขปมในปัจจุบัน
สมมติว่าเราปรับปรุงเป้าหมายเฉพาะในด้านต่างๆ ในชีวิตที่ต้องปรับปรุงแล้ว การมีเป้าหมายบนกระจกก็เป็นเครื่องเตือนใจ และเป็นแรงบันดาลใจในแต่ละวันให้จัดลำดับความสำคัญเพื่อไปสู่เป้าหมาย
สิ่งที่ทำ ก็คือ กอด หรือ embrace ความรู้สึกไม่สบายในแต่ละวัน ซึ่งไม่สามารถต่อรองได้ เขียนเลย ทุกวันจะตื่น 6 โมงเช้า ไปวิ่งออกกำลังกาย ไปออกกำลังแบบ HIIT ที่เราเกลียดนักหนา
การทำกิจกรรมที่ทำให้เรารู้สึกลำบาก ขัดใจเป็นประจำทุกวัน ทำให้เราพัฒนากรอบความคิดที่มีระเบียบวินัยมากขึ้น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของชีวิตที่ต้องมีระเบียบวินัย เช่น การเรียน แล้วเราจะชินกับมาตรฐานใหม่ของชีวิต
สมมุติว่าจะเทรนไปมาราธอน นี่ก็สามารถเป็นเป้าหมาย ที่เราจะต้องตื่นไปเทรนโดยที่ไม่มีข้อแม้
—-
Visualisation
.
จินตนาการถึงอุปสรรคและจินตนาการถึงการเอาชนะมัน จินตนาการถึงความสำเร็จและความยากลำบากที่เราจะต้องเผชิญ
ตัวอย่างเช่น หนึ่งในเป้าหมายที่แปะไว้บนกระจกแห่งความรับผิดชอบ คือการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนให้สำเร็จ
ในระหว่างการซ้อม ก็จะมีหลายช่วงเวลาที่ความคิดที่จะยอมแพ้ล้มเลิก เราก็คิดภาพไว้เลย ว่าจะมีช่วงที่เรารู้สึกอยากเลิก ก็เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อช่วงเวลาแห่งการคิดลบมาถึง ก็จะไม่เป็นการเซอร์ไพรส์ประหลาดใจ เราพร้อมจะรับมือกับมันอย่างไร โดยการคุยกับตัวเอง ฟังเพลงที่เตรียมมา ทำให้ก้าวผ่านและขับเคลื่อนตัวเองไปสู่การจบฮาล์ฟมาราธอนได้
——
เอาชัยชนะในอดีตมาใช้
บทฝึกหัด: เขียนอุปสรรคทั้งหมดที่เราเคยเอาชนะ และความเจ็บปวดที่เราเคยต้องเผชิญจึงจะประสบความสำเร็จ จำสิ่งเหล่านี้ไว้ในช่วงการต่อสู้ต่อสู้อันดุเดือดกับตัวเอง เช่นช่วงเวลาที่เราทั้งเหนื่อยทั้งท้อถอย เราก็บอกตัวเองได้ว่าเราเคยผ่านความรู้สึกนี้มาแล้วและเราก็ชนะมัน เพื่อเติมพลังให้กับตัวเอง
การจดจำชัยชนะในอดีตของเราจะเป็นแรงบันดาลใจในการผลักดันความคิดเชิงลบในอดีต และทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจว่าเราสามารถเอาชนะความท้าทายได้
เอาการวิ่งฮาล์ฟมาราธอน ที่เป็นชัยชนะของเราเอามาใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ค่ะเวลาที่เราเจอสถานการณ์ ที่เครียดหรือท้าทาย ที่เราผ่านมาได้แม้ว่าเราจะทนความเจ็บปวดจนไม่ไหว แต่เราก็อดทนจนสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับตัวเอง
—-
กฎ 40%
แบบฝึกหัด: เมื่อเราไปถึงจุดที่เหนื่อยสุดๆ และจิตใจของเรากำลังบอกให้เรายอมแพ้ จากนั้นลองผลักดันต่อไปอีก 5%-10%
Goggins แนะนำแนวคิดของกฎ 40% กฎนี้ว่าเมื่อเราเชื่อว่าเราได้มาถึงขีดจำกัดแล้ว อันที่จริงแล้วความสามารถด้านประสิทธิภาพเราจะยังคงเหลืออยู่ 60% ที่ยังไม่ได้ใช้ภายในตัวเราเลย
เรื่องนี้ใช้ได้แน่นอนในการออกกำลังกายหรือเทรน เพื่อเป็นการผลักดันพัฒนาต่อไปอีก เมื่อเราท้อและคิดว่าสุดความสามารถแล้วอันที่จริงเราก็ยังไปต่อได้ เพราะเราใช้ความสามารถเพียงแค่ 40% เท่านั้น แล้วเราจะประหลาดใจว่าอันที่จริงแล้วเราก็สามารถผลักดันตัวเองไปได้ไกลกว่าที่คิด ทั้งที่นึกว่าถึงขีดจำกัดแล้วก็ตาม
—-
สร้างตารางเวลาให้ตัวเอง
.
การฝึก: กำหนดตารางเวลาเพื่อที่จะให้เราจัดลำดับความสำคัญของงานในแง่มุมที่สำคัญในชีวิตของเราได้ เพื่อให้เราโฟกัสที่งานเดียวในเวลานั้นๆ แบบ 100% ไม่พะวงถึงงานอื่น
——
ใช้พลังของความล้มเหลวมาช่วย
.
เรียนรู้จากความพ่ายแพ้ เพราะความล้มเหลวมีความจำเป็น ต่อความสำเร็จ ใช้สาเหตุที่เราล้มเหลวเพื่อที่จะเราจะไม่ทำซ้ำอีก
ลองอ่านดูค่ะ เล่มหนาหน่อย แต่สนุกและให้พลังดี
นานมาก อ่านสมัยทำงานบริษัทต่างประเทศ