Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 24th quotes

Last posted

Total of 949 posts

465 Nameless Fanboi Posted ID6:pxuvPOqNuo

เลื่อนทวิตผ่าน ละเจอคนแสดงความคิดเห็นกันเรื่อง “การสอนเด็กฝึกงาน” เลยอยากพูดถึงเรื่อง ‘ความเห็นอกเห็นใจ’ (empathy)

ที่มาลองคิดดูว่า ถ้าสังคมเราเน้นเรื่องพวกนี้ จะมีไรเปลี่ยนไหมนะ จะสอนกันดีๆ ได้ไหม จะมีระบบที่มองว่า they need to be trained from the beginning ไหม ไม่ว่าคนนั้นจะรู้มาก/น้อย สังคมจะเปลี่ยนไปยังไง ถ้าเรา develop ส่วนนี้ได้

ขอพูดถึง Types of empathy ก่อนว่ามีแบบไหน และถ้าคนเราเมื่อขาดตรงนี้จะฝึกยังไงบ้าง (เผื่อจะลดความดราม่าในสังคมลง)

• Empathy แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ (ref: Paul Ekman and Daniel Goleman)

1. Cognitive empathy ถือเป็น ความสามารถในการเข้าใจครส.ละความคิดของอีกฝ่าย มองจากเลนส์เขา เช่น ถ้าเราอายุเท่าน้องคนนั้น เราจะอยากรู้อะไรบ้างนะ เขาอาจจะยังไม่รู้จะถามยังไง เริ่มตรงไหน

2. Affective or ‘emotional’ empathy
ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์และรับรู้ว่าเขามีความรู้สึกและอารมณ์ยังไง เพื่อให้เราสามารถเข้าใจเขามากขึ้นและวางตัวได้เหมาะสมในการพูดคุย เช่น กลุ่ม A อยากให้ กลุ่ม B ขยันเก็บเงิน แต่ใช้การสื่อสารที่ช่วยในการเทรนในแบบที่ไม่ bossy, controlling, pushing หรือ blaming อีกฝ่ายมากไป

3. Compassionate empathy or ‘empathetic concern‘ คือ ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจที่นอกจากจะเข้าใจว่าเขารู้สึกยังไงแล้ว ต้องรู้ด้วยว่า *เพราะอะไร* ถึงทำให้เขารู้สึกแบบนั้น และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือเขา

**การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ทำให้เรารู้จักการควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้นนะ เพราะเมื่อเรารู้ว่าเขามีความรู้สึกและอารมณ์ยังไง เราก็จะพยายามควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์ตรงนั้น ถึงสอนงานไม่เป็น แต่ก็ยังประคองการสื่อสารในแบบที่ remain a good relationship in a team ได้

ถ้าอยากฝึกทำยังไง?

- จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย มันต้องมาจากการรู้จักตัวเองก่อน การทำความเข้าใจตัวเอง จะทำให้สามารถสังเกตคนอื่นได้ อาจจะฝึกจาก

1. พูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม เพราะในบทสนทนาเราจะคอยสังเกตและพยายามทำความเข้าใจว่าฝ่ายตรงข้ามมีความรู้สึกยังไง ฝึกบ่อยๆ จะได้เปรียบในการเข้าสังคมที่แตกต่างกันไปด้วย และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้าง Empathy ให้กับเราโดยตรง

2. สังเกตภาษากาย+น้ำเสียง ถึงจะไม่ได้สื่อสารกัน แต่การสังเกตภาษากายแบบไหนแสดงความรู้สึกอะไรออกมา จะพอเข้าใจครสอีกคน เช่น อึดอัด ประหม่า

3. Active listening การรับฟังอย่างตั้งใจ ตลอดการสนทนา อย่าหาไรมาเบี่ยงเบียนความสนใจ แม้ว่าจะเป็นความคิดของเราเองพยายามควบคุมอารมณ์ don’t interrupt ใหการสนทนาไหลไป

4. จินตนาการว่าเราอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเขาดู ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา การทำแบบนี้จะทำให้เราได้เห็นภาพและมุมมองใหม่ๆ ไปด้วย

มันฝึกได้นะไม่ว่าจะอายุแค่ไหน ทำงานอะไร ยิ่งทำได้ เราจะยอมรับความแตกต่างได้มากขึ้น

#มิตรสหายท่านหนึ่ง

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.