ประหยัดไฟ แต่อาจเสียบ้านทั้งหลัง
หลังคาโซล่าเซลล์ไฟไหม้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพียงแต่มันเพิ่มเกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะอายุการใช้งานมันถึงเวลา
ต้องเข้าใจกันใหม่ด้วยว่า การผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ ไม่ได้ใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า แต่มันเป็นการใช้ความเข้มของแสงจากดวงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า
การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยซิลิกอน เกิดจากปฏิกิริยาที่เรียกว่า #ปฏิกิริยาโฟโต้โวลตาอิก #Photovoltaic #Reaction เมื่อแสงมากระทบกับซิลิกอน ซิลิกอนจะดูดซับพลังงานแสงเอาไว้ และจะไปกระตุ้นให้อิเล็กตรอนในซิลิกอนเกิดการเคลื่อนที่ก่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง
การผลิตไฟฟ้าด้วยแผงโซล่าเซลล์ จึงต้องการความเข้มของแสงเป็นหลัก ไม่ใช่ความร้อนจากแสง แผงโซล่าเซลล์จะมีสมรรถนะในการผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 15°-25°C
เพราะถ้าในช่วงเวลาที่อิเล็กตรอนในซิลิกอนกำลังผลิตไฟฟ้า แล้วมีอุณหภูมิสูงว่า 35°C มันจะส่งผลทำให้แผงโซล่าเซลล์เกิดการเสื่อมสภาพเร็วขึ้นจากความร้อน การคายความร้อนในตัวมันเองก็จะลดลง ความร้อนที่สะสมก็จะทำให้เกิดการลัดวงจรเกิดความร้อนสูงจนเกิดเพลิงไหม้ได้
ในประเทศจีนมักจะไม่เกิดแผงโซล่าเซลล์ลัดวงจรจรเกิดเพลิงไหม้ เพราะอุณหภูมิภูมิอากาศมันไม่สูงมากจนทำให้ซิลิกอนเสื่อมสภาพ หากพื้นที่ใดมีอุณหภูมิสูง เขาก็จะติดตั้งระบบระบายความร้อน หรือยกตัวแผนโซล่าเซลล์ให้สูงขึ้นเพื่อระบายความร้อนให้ได้ดีขึ้น
สังเกตุได้ว่า แผงโซล่าเซลล์ที่เกิดเพลิงไหม้มักจะเป็นการติดตั้งแบบแนบกับแผ่นหลังคาทั้งนั้น ซึ่งแบบนี้การระบายความร้อนของแผ่นโซล่าเซลล์จะทำได้ไม่ดี
ที่สำคัญคือแผงโซล่าเซลล์ที่เกิดเพลิงไหม้ มักจะเป็นแผ่นโซล่าเซลล์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว 4-5 ปี ซึ่งแผงเริ่มเสื่อมสภาพใกล้หมดอายุการทำงาน เพราะอายุการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ หากเป็นวัสดุซิลิกอน ก็จะมีอายุ 7-8 ปี เท่านั้น แต่ถ้าเป็นแบบโพลีแกลเลียม ก็จะมีอายุเกิน 10 ปี อาจถึง 13-15 ปี แต่ราคาก็สูงกว่าซิลิกอนเท่าตัว
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไม่ควรคิดแต่ความสวยงาม ติดแนบกับแผ่นหลังคา มันควรที่จะมีช่องว่างให้อากาศไหลผ่านระบายความร้อนด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ให้ได้ดีด้วย หรืออาจจะต้องมีระบบพ่นน้ำแบบหมุนเวียน เพื่อใช้ในการระบายความร้อนแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้อายุการทำงานของแผงโซล่าเซลล์เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ประเทศไทยแม้จะมีแสงแดดจัด แต่ความร้อนภูมิอากาศก็ร้อนจัดด้วย ซึ่งแผงโซล่าเซลล์ไม่ชอบ แผงโซล่าเซลล์มันขอบแสงจัดๆ แต่อากาศเย็น เขาถึงไม่ทำโซล่าฟาร์มในทะเลทรายเขตร้อน แต่จะทำโซล่าฟาร์มในพื้นที่ทะเลทรายเขตหนาวเย็นในทะเลทรายโกบี
ปัจจุบันการสร้างโซล่าฟาร์มลอยน้ำ ในอ่างเก็บน้ำ ในทะเลสาบเหนือเขื่น ก็เป็นอีกพื้นที่นึงที่เริ่มสร้างกัน รวมถึงไทยด้วย เพราะน้ำสามารถระบายความร้อนให้กับแผงโซล่าเซลล์ที่ลอยิยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปประเทศไทยไม่ได้เหมาะสมในการใช้โซล่าเซลล์ในการผลิตไฟฟ้า หากใช้วิธีการติดต้องแบบของจีน ที่แนบแผงโซล่าเซลล์ให้ชิดหลังคาตึก หลังคาบ้าน การติดตั้งควรพัฒนาขึ้นใหม่โดยให้แผงสามารถระบายความร้อนได้ดี หรือควรมีระบบระบายความร้อนแผงโซล่าเซลล์
ที่สำคัญที่สุดคือ ห้ามใช้แผงโซล่าเซลล์ที่ผ่านการใช้งานมาติดตั้ง เพราะเมื่อแผงโซล่าเซลล์ที่ใกล้เสื่อมสภาพมันมีโอกาสแผงเกิดการลัดวงจรขึ้นได้