ก่อนศึกษาบิตคอยน์ => บิทคอยน์ดูคล้ายแชร์ลูกโซ่
หลังศึกษาบิทคอยน์ => แชร์ลูกโซ่ตัวจริง คือระบบธนาคารทั้งหมด ไม่ใช่บิทคอยน์
😏😏😏😏
Last posted
Total of 612 posts
ก่อนศึกษาบิตคอยน์ => บิทคอยน์ดูคล้ายแชร์ลูกโซ่
หลังศึกษาบิทคอยน์ => แชร์ลูกโซ่ตัวจริง คือระบบธนาคารทั้งหมด ไม่ใช่บิทคอยน์
😏😏😏😏
วันนี้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว (23 เมษายน 2011) ผู้สร้าง #Bitcoin หรือ "Satoshi Nakamoto" ได้ทิ้งอีเมลฉบับสุดท้ายเอาไว้ให้แก่ Mike Hearn ก่อนที่จะหายไปตลอดกาลและไม่เคยตอบอีเมลใครให้โลกได้รับรู้อีกเลย (มากสุดคือแค่มาโผล่ในช่องตอบกระทู้ในรอบ 5 ปี) 📩
.
จะบอกว่าเป็น "จดหมายลา" ก็คงไม่ผิดนัก เพราะเข้าได้ระบุเอาไว้ในอีเมลดังกล่าวว่า "ฉันจะย้ายไปทำอย่างอื่นแล้ว Bitcoin อยู่ในมือของเหล่าคนที่ดี..." 💬
.
ซึ่งเหล่าคนที่ดีที่เขาพูดถึงในอีเมลคือ Gavin เพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขา และคนอื่น ๆ (เขาใช้คำว่า "... with Gavin and everyone") 👨👨👧👦
.
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ "หายห่วง" และ "วางใจ" จนสามารถปล่อยมือจาก #BTC ได้แล้ว และเขาคงหวังว่าชุมชน Bitcoin จะสามารถเติบโต พัฒนา และปกป้องแก่นแท้ของตัวมันเองเอาไว้ได้ด้วยกลุ่มคนเหล่านี้ ❤
.
13 ปีผ่านไป ไม่รู้ว่าตอนนี้บุคคลหรือกลุ่มคนที่สร้าง Bitcoin ขึ้นมานี้ยังมีชีวิตอยู่ไหม แต่ถ้ายังมีชีวิตอยู่ เขาคงได้เห็นภาพอย่างทุกวันนี้ และคงได้เห็นว่ามันเติบโตมามากขนาดไหน มีการพัฒนาอะไรมากมายข้างบนเครือข่าย และยังมีเครื่องขุด โหนด รวมถึงสาวกอีกมากมาย ที่ยังศรัทธาและยึดมั่นในแนวทางอย่างทุกวันนี้ 🥰
.
มาร่วมฉลองครบรอบ 13 ปี วันที่จดหมายฉบับสุดท้ายนี้ได้ถูกทิ้งไว้กันเถอะสหาย !!! โดยเว็บไซต์ Bitcoin Holidays ได้บรรจุวันนี้ลงในปฏิทินประจำปีของ Bitcoin และได้ตั้งชื่อมันว่าวัน "Bitcoin in Good Hands" 🗓📌
.
#พ่อมดคริปโต
แล้วทำไมเรื่องการจ่ายภาษีมันถึงกลายเป็น”หน้าที่“ละครับ ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่เราควรตั้งคำถาม ถ้าบอกว่าอย่างนั้นเรามีสิทธิที่จะไม่จ่ายภาษีรึเปล่า? การที่เราก้มหน้าก้มตายอมรับให้เรื่องแบบนี้เป็นหน้าที่ก็ไม่ต่างกับการบอกว่าการเป็นทาสมันคือหน้าที่ การเป็นทาสคือการที่นายทาสมีสิทธีเหนือร่างกายและผลผลิตของทาส100% การขัดขืนของทาสนำมาซึ่งท้ายสุดคือคุกหรือความตาย แล้วอย่างนี้ ทาส 2% 10% 20% ยังเป็นทาสอยู่รึเปล่า?? สำหรับผมแล้วคำตอบนั้นชัดเจน ใช่การเป็นทาส 2%อาจดีกว่าการเป็นทาส100% แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความจริงในการเป็นทาสนั้นเปลี่ยน เผื่อนึกภาพไม่ออก ถ้าผมเลือกไม่จ่ายภาษีเป็นไงครับ ติดคุกครับแล้วถ้าเรา push to the extreme ก็คือความตาย ภาพทาสขึ้นมายังครับแค่มันไม่ extreme เท่าและทาสขัดขืนได้เล็กน้อย(ถึงแม้นายทาสอย่างรัฐจะมีเครื่องมือในการขโมยเงินอย่างเงินเฟ้ออยู่ดี)
ผมบอกว่าตอนนี้ฐานะเรากับรัฐคือ “ทาสกับนายทาส” in extreme view เพราะเราโดนมัดมือชกให้จ่ายภาษี(บังคับเอาแรงงานผลประกอบการให้) ในมุมมองนายทาส ทาสมีหน้าที่ๆจะต้องจ่ายภาษีให้นายทาส แต่นั่นคือมุมมองนายทาส ในความจริงแล้วในฐานะปัจเจกเราไม่ได้ต้องมอบ แรงงานจาก private property(ร่างกายเรา)ให้คนอื่นเลยเพาาะนั้นคือ ”สิทธิ“ที่มีมาตั้งแต่กำเนิดของเรา ไม่ต้องให้มีใครมาบอกว่าเรามีสิทธินั้นรึเปล่า ซึ่งถ้าเราเห็นแบบนี้แล้ว การที่นายทาสหรือเพื่อนมองว่าการจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ก็คือการสนับสนุนให้มีการละเมิด“สิทธิ”ของเรานั่นเอง
คุณแม่งปัญญาอ่อน และสิ่งที่คุณบอกว่า รัฐ provide นู้นนี่นั่น คุณแม่งปัญญาอ่อนอ่ะ สินค้าไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่เคยยกระดับชีวิตมนุษย์ครับ และเอาเข้าจริงๆ การเดินทางไปต่างประเทศ ก็ไม่เห็นต้องติดต่อใครเลยจริงๆก็ได้ ถ้างั้นคุณจะอ้างเสรีภาพได้ยังไง ในเมื่ออยู่ในกรงของ รัฐฐะ
โอ้วววว อย่าลืมเสียภาษีให้ฉันนะ ฉันจะอยู่เหนือความดีและชั่วเอง 555
สังคม ancap มันเคยเกิดขึ้นนะ แล้วผมไม่เคยแปลกใจกับความคิดเห็นทำนองแบบคุณเท่าไหร่ เพราะ
1.) คุณอยู่ในโลกที่อยู่ภายใต้ modern state คุณก็จะมี mindset ที่ต้องสยบสมยอมอย่างไม่สมัครใจกับการกระทำของคนที่มีอำนาจสูงกว่า ดังนั้น ความคิดคุณจึงจะมองว่าสิ่งที่ outside เลยมันเป็นไปไม่ได้... มันสุดโต่ง คนที่คิดแบบนี้มันอันตราย ดังที่ Murray N. Rothbard เคยพูดเปรยไว้ใน Anatomy of the state ไว้ว่า "สิ่งที่อันตรายที่สุดของรัฐคือการปล่อยให้ปัญญาชนวิจารณ์มัน" ถ้าคุณจะเถียงว่ารัฐยังคง "จำเป็น" ผมไม่ว่าอะไรกับโลกแห่งความเป็นจริง ณ ตอนนี้นะ แต่ถ้าพูดถึงว่า "มันได้ไหม" หรือ "มันเป็นไปได้ไหม" ผมต้องขอตอบว่าทำได้และเป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น Republic of Cospaia ที่อยู่ได้ถึง 386 ปี หรือ Acadia อยู่ได้ถึง 105 ปี และอื่น ๆ หรือ ใกล้เคยอีกก้คือ Old Swiss Confederacy
2.) รายละเอียดเกี่ยวกับรัฐมี function อะไรที่จะมอบพลเมืองตัวเองได้บ้างเช่น สาธารณูโภค, สาธารณสุข, ทหารและอื่น ๆ ถ้าพูดอย่างเป็นกลางจริง ๆ "ควร" พูดว่า สิ่งที่กล่าวมาเอกชนมันก็ทำได้ กล่าวคือ ชุมชนหนึ่งสามารถสร้างถนนเองและเก็บค่าผ่านทาง/ค่าเหยียบได้, บริษัทหนึ่งสามารถเป็นบริษัททหารในรูปแบบ mercenary/private militia ที่จงรักภักดีต่อนายจ้างได้ และอื่นๆ ทีนี้ถ้าจะถกเถียงกันก็ต้องไปดูตัวอย่างครับและเหตุผลเบื้องหน้าเบื้องหลังถึงความสำเร็จและล้มเหลว ด้วย literature ทั้งสองฝ่าย....
3.) ผมชื่นชอบคนเรียนเศรษฐศาสตร์นะ แต่มันก็ต้องจำเป็นต้องตั้งคำถามทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะคำถาม "พื้นฐาน" ของเศรษฐศาสตร์ ทุกวันนี้เราเห็นพวกจบ PhD, postdoctoral, professor หรือใครหลายคนมักจะเป็นพวกมองข้ามพื้นฐานของศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญ ยกตัวอย่างเช่น การแทรกแซงของรัฐในเรื่องหนึ่งมันมี trade-off อย่างไรบ้าง? เป็นต้น
แต่บ่อยครั้งเราจะพบว่ามีบางคนพยายาม balance ความคิดตลาดกับรัฐอยู่ซึ่งเป็นไปไม่ได้ สัจธรรมของโลกต้องเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น การผสมของแนวคิดในประเด็นหนึ่งให้ลงตัวมันเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาโดยอาจมีลักษณะบางอย่างเหมือนกันกับสิ่งอื่น
4.) ถ้าพูดถึง "ภาษี" ก็ต้องยอมรับ logic ที่เหมือนกับการเก็บภาษีได้
ยกตัวอย่างเช่น ภาษีเป็นการที่เราถูกบังคับจ่ายผ่านการออกกฎหมาย ถ้าไม่จ่ายมีความผิดติดตาราง ดังนั้นมันจึงมีการเปรียบเทียบว่ามันคือ "การปล้น" ในที่นี้คุณเห็นด้วยเพราะจำเป็นต้องพึ่งพากัน ผมเปรียบเทียบแบบนี้ให้เห็นภาพนะ สมมติคุณต้องการให้สังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คุณให้โจรมาปล้นของบ้านคนรวยหรือร้านขายของไปให้คนยากจน คุณยอมรับการปล้นของโจรใช่หรือไม่หากต้องการสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่? คุณอาจจะมองว่ามันคนละเรื่องนะ แต่ภาษีก้มีหน้าที่ในการสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยการทำสวัสดิการโดยการปล้นเงินคนอื่นมาแจกให้คนจนและคนที่ไม่ได้จ่ายภาษี นี่คือประเด็นปัญหาของภาษี อีกอย่างสวัสดิการโดยรัฐไม่เคยคุ้ม คุณเอาเวลาไปสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ปล่อยกลไกตลาดทำงานในภาคประกันสังคมและการกุศลยังมีประสิทธิภาพกว่าอีก
https://www.youtube.com/watch?v=1QhF4m3Yjew
สงครามที่เราต้องตื่นตัว ไม่ใช่สงครามรัสเซียยูเครน หรือ สงครามอิสราเอล แต่เป็นสงครามระหว่างรัฐกับประชาชน ที่รัฐกำลังบีบบังคับประชาชนให้เป็นทาส ต้องทำงานเพื่อให้รัฐเอาไปใช้กับกลุ่มทุน
รัฐบีบบังคับเราสองทาง คือการเก็บภาษี และสร้างเงินเฟ้อ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเก็บออมไว้ให้ตัวเรายามแก่หรือลูกหลานได้เลย
การใช้พลังงานในการขุดบิทคอยน์
50% มาจาก พลังงาน หมุนเวียน
ที่ถือว่าเป็นพลังงานสะอาด
อีก 23% มาจากพลังงานน้ำ
อีก 7% มาจากพลังงานโซลาร์
ต่อไปจะมีการทำให้พลังงานโซลาร์
ใช้ในการขุดมากขึ้น และ มากขึ้น
ก็จะลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลไปได้อีก
แต่ปัญหาต่อมาคืออายุของแผงโซลาร์ มีวันหมด
ก็กลับไปกระบวนการรีไซเคิล
เช่นพวกสายทองแดง , กรอบอลูมิเนียม, พลาสติก
แล้วก็มีวัสดุที่ถูกพัฒนาให้เป็น bio-degradable ด้วย
แต่วัสดุบางชิ้นอย่างทองแดง
เราก็ยังต้องทำเหมือง
เพื่อเอามันมาใช้งาน
แต่โดยรวม ถ้าชั่งน้ำหนักแล้ว
การทำให้พลังงานโซลาร์มัน viable ได้
มันจะดีกว่าการใช้ฟอสซิลมาก
แต่ละอย่างก็จะค่อยๆพัฒนาตามๆกันไป
ผมคิดว่าเด็กๆ ควรเรียนรู้เรื่องBitcoin ไม่ใช่เพราะแค่มันมีจำกัด มันช่วยเราต้านเงินเฟ้อ
แต่มันบทเรียนหลายๆ อย่าง และบทเรียนที่ว่าคือ "ทำไมหนูต้องทำงาน" , "ทำไมหนูต้องเก็บออม" และ "เวลาหนูมีจำกัด"
"ก็ถ้าหนูไม่ทำงาน ก็อดแตกตาeสิค่ะลูก"
เออจะตอบแบบนั้นก็ง่ายดี แต่ถ้าคิดในอีกมุม การที่เราทำงานและได้เงินมา มันต้อง Trade off 2 สิ่ง นั้นคือ "เวลา" และ "คุณค่า" ที่เราทำ
สมมุติลูกเราออกไปทำงานพนักงานเซเว่น ได้เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 เฉลี่ยต่อวันได้เงินวันละ 500 บาท นั้นหมายความว่า ลูกเราเสียเวลา 1 วัน และสร้างคุณค่า หรือ productivity ให้กับสังคมและได้รับผลตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 500 บาท/วัน ถูกไหม?
ถ้าลูกเราอยากจะได้เงินมากกว่าเดิม เขาก็แค่พยายามสร้างคุณค่าให้มากกว่าเดิม ในเวลาที่เท่าเดิม อาจจะขยันทำ OT หรือจัดการร้านได้ดีจนได้แต่งตั้งเป็นผู้จัดการ หรือออกไปทำงานอื่นที่ได้เงินเฉลี่ยมากกว่า 500 บาท/วัน
นี้คือจุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่ของพวกเขา คือการออกไปสร้างคุณค่าแก่สังคม อาจจะสานต่อเส้นทาง Proof of Work ของครอบครัวเสียพวกเขาเสียสละเวลาทำมา หรือสร้างเส้นทางของตัวเองใหม่ตั้งแต่เริ่ม ไม่รู้แหละด้วยวิธีไหน แต่ถ้ามันเวิร์ค สังคมจะตอบแทนคุณคุณค่ากลับมา
"หนูเกิดมาเพื่อสร้างคุณค่าในแก่สังคมนะลูก"
และเงินไม่ใช่แค่เงิน แต่ : เงิน = เวลา+คุณค่า /// เรากำลังแลกเปลี่ยนคุณค่ากับคุณค่าด้วยกันในสังคม
ที่นี้ ถ้าลูกอยากจะได้ไอโฟนซักเครื่อง เอาไอโฟน 13 128GB ตีกลมๆ ขายตอนนี้ 20,000 บาท และเขายังทำงานที่เซเว่น แสดงว่าเขาก็ต้องเก็บเงิน หรือ เก็บ "เวลา+คุณค่า" จำนวน 40 วัน (เข้ เยอะวะ) เพื่อแลกไอโฟน 1 เครื่อง
แต่อย่าลืมว่า ระหว่างที่ลูกๆ เก็บเงินรอซื้อไอโฟน เขาอาจจะใช้เวลาเก็บจริงเกิน 4-5 เดือน++ และระหว่างนั้น "ตลาดเสรี" ก็กำลังทำงาน และกำลังพัฒนา productivity ให้แกสังคมมนุษย์
มนุษยชาติมันมีกิเลส มันขี้เบื่อ ขี้เกียจ เลยพัฒนา Productivity ให้ตัวเองสบายขึ้นอยู่เสมอ
ใครจะไปรู้ว่าระหว่างที่ลูกค้าเราเก็บ "เวลา+คุณค่า" เอาไว้ อยู่ดีๆ ไอโฟน 13 ราคาอาจจะลดลงด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกลง ลดเหลือ 18,000 บาท (จากเดิมใช้เวลา 40 วัน ใช้แค่ 36วัน) หรือมีไอโฟน 16 ผลิตออกมา แล้วกดดันราคาไอโฟน 14 ให้เท่ากับไอโฟน 13 เพราะกำลังจะตกรุ่น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผลพ่วงของกลไกลตลาดเสรีทั้งสิ้น
"กลายเป็นว่ายิ่งลูกของเรา Low Time มากเท่าไหร่ ยิ่งเก็บ เวลา+คุณค่านานเท่าไหร่ เขาจะจ่ายเวลา+คุณค่าที่เขาเก็บไว้ น้อยลงเพื่อครอบครองสิ่งของหรือบริการที่ดีกว่าเดิม"
ยิ่งลูกเก็บออม ชีวิตยิ่งดีขึ้น ยิ่งเติมเต็ม Self esteem , Self sufficient และ Self secure พวกเขาจะรู้ว่า "เวลา+คุณค่า" ของพวกเขา "มันมีความหมายจริงๆ" มันมี " Meaning of Life จริงๆ" ชีวิตพวกเขามันมีค่าจริงๆ การสร้างคุณค่าให้สังคมมันคุ้มจริงๆ
ยิ่งทำงานได้เงินเยอะ ก็เป็นการโชว์ให้สังคมรู้ว่าเขาเป็นคนที่ทำคุณค่าให้สังคมสูง และมีเงินเก็บเยอะ ก็เป็นโชว์ว่าตัวเขาเป็นผู้เสียสละ ขยัน อดทน เก็บเยอะกว่าแดรก โดยเฉพาะยิ่งรายได้น้อยแต่เก็บออมเยอะ จะยิ่งน่านับถือมากๆ
- แต่เรื่อง Meaning of Life พวกนี้คุณปาทิ้งไปได้เลย หากลูกเราเอา เวลา+คุณค่า ไปเก็บในสิ่งที่มันไม่สามารถรักษาเวลา+คุณค่าของพวกเขาไว้ได้-
"เวลาหนูมีจำกัดนะลูก"
เราไม่รู้หรอกลูกเราจะมีอายุเท่าไหร่ อาจจะมีอายุในชีวิตนี้สัก 70 ปี ตีเป็นวันก็ 25,550 วัน กว่าจะทำงานจริงจังอาจจะอายุ 20 เหลืออีก 18,250 วัน
ทำงานเซเว่นมีเงินเก็บ 10,000 บาท เฉลี่ยก็ใช้เวลา20วัน แต่ดันทะลึ่งเอาไปปั่นสล็อต ติดพนัน เล่นฟิวเจอร์พอร์ตแตก และปลอบใจตัวเองว่าไม่เป็นไร ไม่เล่นของพวกนี้แล้ว เดือนหน้าเก็บเงินใหม่
"ไม่ใช่นะหนู" ลูกเราเสียเวลาไป 20 วัน หรือ 0.07% ของเวลาทั้งหมดไปฟรีๆ และ 20 วันนั้นเอาคืนไม่ได้ ย้อนเวลาไปห้ามตัวเองไม่ได้ หรือจะยืดเวลาชีวิตตัวเองเป็น 70 ปี กับ 20 วัน ในอนาคตก็ไม่ได้ ถ้าชะตาฟ้ามันลิขิตไว้ให้ชีวิตต้องdedใน 70ปี
เพราะไอ้การที่เวลามีจำกัดเนี่ยแหละ ลูกเราจึงจะต้องคิดให้ดี ว่าจะเอาไปใช้กับอะไร หรือเก็บเวลาไว้ที่ไหน
ส่วนผม ที่อายุกำลังเข้าเลข 3 แล้ว อาจจะมาได้ครึ่งทาง กระสุนผมใช้ไปแล้วครึ่งแม็ค เหลืออีกครึ่ง ผมจะเอาเวลา+คุณค่า ของผมไปเก็บไว้ที่ไหนดี?
"เวลาเรามีจำกัด จงเก็บมันในสิ่งที่จำกัดเหมือนเวลาเรา"
คนเงินเดือน 100,000 บาท ไม่ได้รวย เหมือนในอดีต อีกต่อไปแล้ว ....
สมัยเด็กๆ 10-20 ปีที่แล้ว เราจะคิดกันว่า คนเงิน หลักแสน คือ เทพ คือ โคดเก่ง โคดรวย
แต่ความเป็นจริง คือ คนเงิน 100,000 บาท ทุกวันนี้ หากคิดด้วยอัตราเงินเฟ้อ 5% ....
แล้วย้อนกลับไป 10 ปีที่แล้ว คุณ จะมี purchasing power หรือ อำนาจในการจับจ่ายใช้สอย เท่ากับ คนเงินเดือน 61,391 บาท
ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น เทียบกับ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว คุณจะเท่ากับ คนเงินเดือน 37,689 บาท !!!!!
สรุป คือ คนเงินเดือน 100,000 บาท ในปัจจุบัน เท่ากับ คนที่เงินเดือน 30,000 กว่าบาท ในอดีต เท่านั้น !!!!
แล้ว ถ้า เราอยากมี purchasing power เท่ากับ คนเงินเดือน 100,000 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เราต้องมีเงิน เท่ากับ 100,000*1.05^20 = 265,330 บาท !!!! แปลว่า ปัจจุบัน คุณต้องมีเงินเดือน 265,330 บาท แล้ว
หลายคน ก็จะติงว่า เห้ย เงินเฟ้อไทย ที่ ภาครัฐ รายงาน จริงๆ เฉลี่ยแค่ 2% ต้องบอกว่า ตัวเลขมันต่ำเกินไปครับ ด้วยน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าเงินเฟ้อ ที่ คนทั่วไป ไม่ได้ใช้ตามนั้นเลย รวมถึงเทคนิค ต่างๆ ที่ภาครัฐ ทำให้เงินเฟ้อ ที่รายงาน ต่ำกว่าความเป็นจริง
แต่สมมติ ให้ เงินเฟ้อ 2% จริง คนเงินเดือน 100,000 บาททุกวันนี้ ก็เทียบเท่ากับ คนเงินเดือน 67,000 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เท่านั้น เหมือนกัน
สิ่งที่อยากสื่อคือ อย่าให้ ภาพจำ ในอดีต มาหลอกตาเราครับ เมื่อคนพูดกันว่า คนนูู้น คนนี้ เงินเดือน เกินแสน มันไม่ได้เยอะแล้วครับ มันเท่ากับคนเงินเดือน 3-4 หมื่นบาท ในยุคพ่อแม่เราครับ
นี่คือ ธรรมชาติ ของยุค global fiat currency ที่สามารถ money printing ได้ และ รัฐบาล มี bias ที่จะ สร้างเงินเพิ่ม เพื่อ ฐานคะแนนเสียงทางการเมือง และ ลดภาระหนี้สินในอนาคต และ มันจะเป็นแบบนี้ ต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต จนกว่าทุกอย่างจะพังครับ แต่เราควรจะมีสติ และ รู้ว่าอะไร กำลังจะเกิดขึ้นกับเราครับ
ขอบคุณครับ
คริปโตไม่ต่างจากการพนัน
ใจความที่น่าสนใจเกี่ยวกับคลิปนี้เรื่องเงินเฟ้อ เงินฝืด
- เงินฝืด หรือเงินฝืดอ่อนๆ คือสิ่งที่จะช่วยโลกนี้เอาไว้ได้ เพราะจริงๆแล้ว เงินฝืด ควรจะมีชื่อว่า appreciation money เงินที่มีมูลค่าเพิ่มหรือคงที่เมื่อเวลาผ่านไป จะเป็นกลไกสำคัญที่จะกระจายความมั่งคั่งให้กับผู้คนที่ตั้งใจขยันขันแข็งทำงานสร้างประโยชน์ให้กับสังคม เอาเงินออกจากผีดูดเลือดเพื่อไปสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมได้
- ภาวะเงินเฟ้อ ที่เงินสามารถสร้างได้โดยรัฐ โรงเรียนธุรกิจในปัจจุบัน เมื่อคุณสามารถสร้างมูลค่าและผลตอบแทนได้ คุณต้องสร้างคูน้ำล้อมรอบไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแข่งขันได้ เมื่อธุรกิจคุณสามารถสร้างเงินจนขนาดใหญ่ขึ้น ธุรกิจก็จะเข้าไปล็อบบี้รัฐบาล และรัฐบาลจะเป็นจรเข้ที่อยู่ในคูน้ำ ที่จะคอยบอกว่าธุรกิจนี้เป็นเจ้าแรกในไทย และประสบความสำเร็จ เลยไปบอกรัฐบาลว่าเจ้าใหม่ๆ ที่จะมาแข่ง ผมกลัวว่าเจ้าใหม่ที่จะมาแข่งจะไม่สะอาดเท่าผม รัฐบาลต้องมีใบอนุญาตในการผลิต ต้องมีใบอนุญาตตรวจความสะอาดในโรงงานด้วย หรือต้องตรวจมาตรฐานการผลิตว่าต้องเหมือนกับโรงงานของผมถึงจะได้มาตรฐาน ถึงจะสามารถสร้างโรงงานได้ ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดเลย ก็โรงงานเบียร์ ที่เจ้าตลาดมีไม่กี่ราย และต้องใช้ทุนสร้าง 300-500 ลบ. เพราะมาตรฐานโรงงานที่สูงเกินไป
- ไม่ต้องห่วงว่าเงินฝืดจะทำให้คนไม่ใช้เงิน จะทำเศรษฐกิจจะชลอตัวลง ลองดู btc ก็ได้ เมื่อเงินขึ้นไปสูง ก็ขายมาซื้อรถหรูบ้าง เพราะตัวเราก็ต้องมีความอยากได้อยากมีอยู่แล้ว
- การที่เงินเพิ่มมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะรู้สึกปลอดภัยในชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วพอเรารู้สึกปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น เราก็จะใช้เงินมากขึ้น พอเรามีความมั่งคั่งมีความสามารถในการจับจ่ายมากขึ้น เราก็จะซื้อของได้มากขึ้น ซื้อของที่มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ไม่มีใครอยากจะกอดความร่ำรวยแล้วไปนอนใต้สะพานลอย
- ในที่นี้ เงินที่เราเก็บต้องเพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อยๆ เป็นการให้รางวัลกับคนที่มีวินัยทางการเงินมากขึ้นเรื่อย และเมื่อเวลาผ่านไปเงินเก็บของเขามีมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ เอาเงินนั้นมาใช้เพื่อสร้างความสุขในชีวิตได้ ยิ่งมีเงินเก็บมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งมีเงินหมุนเวียนในสังคมมากขึ้นเท่านั้น นี่ล่ะ จุดเริ่มต้นของทฤษฎีของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์
FED คือ Ponzi Scheme
https://www.youtube.com/watch?v=ZD42JsHjjMc
สมุนอาชญากรต่อมนุษยชาติ คือ นักวิชาการ fiat หลอกคนหมู่มากแลกกับเงินของรัฐบาล
จากระบบทาสที่เคยล่ามด้วยโซ่โบยด้วยแส้
มาสู่การล่ามด้วยหนี้สินและโบยด้วยดอกเบี้ย
ทาสต้องทำงานอย่างหนักไปชั่วชีวิต
เพื่อผลิตผลกำไรให้คนบางกลุ่มที่เสกเงินจากอากาศได้
ทำไมหยุดทำงานไม่ได้?
เพราะไม่มีเงินเก็บ
เพราะเงินเก็บเสื่อมค่า
เพราะหนี้สินใหญ่(บ้าน-รถ) ยังไม่พ้น
เพราะการช่วยเหลือแบบ centralized ไม่ได้ตามต้องการ (รัฐ ประกันสังคม กองทุน)
มีชีวิตอยู่เพื่อแบกหนี้ ทำงานไม่หยุด ห้ามตาย
นี่คือ fiat life ที่แท้เลย (คำนี้เคยมีใครสักคนในกลุ่มพูดไว้ แต่ไม่ให้นิยาม)
ผู้ได้ประโยชน์คือธนาคาร มีเงินจ่ายเข้ามาต่อไป และรัฐบาลมีข้ออ้างขยายอำนาจทางการเงินให้ธนาคารอีกที
ในยุคชาตินิยม ไม่มีลูก อาจเป็นปัญหาของรัฐ แต่ยุคเฟียตนี้ ใครกันยังเชื่อว่าการไม่มีลูก จะทำให้ระบบเฟียตล่มสลาย? ตรงกันข้ามต่างหาก
#เวลามีค่าศึกษาบิตคอยน์
23 ส.ค. ของทุกปี นับเป็น "วันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล" ไม่มีทาสแล้วจริงดิ ? 🤔
.
พวกเจ้าหารู้ไม่สหาย ? ในปัจจุบันนี้ทาสก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการควบคุมเท่านั้นเอง 👀
.
#Bitcoin #BTC #พ่อมดคริปโต
" หากการพิมพ์เงินยุติความยากจนแล้ว การพิมพ์ประกาศนีย์บัตรก็จะยุติความโง่เขลา "
#JavierMilei #สัจวจนะ
จากการที่กุใช้tokenมาจาก86บาทมา68บาทแล้วจะลดลงเรื่อยๆ
คนที่รวยคือคนที่ออดโทเคนต่างหาก มันคือแชร์ลูกโซ่ชัดๆ
คนที่แอนตี้บิทคอยน์ไม่ใช่เพราะเขาไม่ฉลาด หลายคนประสบความสำเร็จมากกว่าผม แต่คำเดียวสั้นๆที่เขายังคงแอนตี้บิทคอยน์คือ
“อีโก้” ล้วน ๆ
เงินเฟ้อทำให้เงินเสื่อมค่า เป็นคำลวงของรัฐ
เงินที่ดีคือเงินที่เราสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่เสียมูลค่า เลือก btc เพื่ออนาคต
https://www.youtube.com/watch?v=8gNK4d1Q2YI
ดีเบต 'เงินเฟ้อ' อาจารย์พิริยะ vs ซีเค เจิง จากเวที THBW2024
มีอะไรน่าลงทุนบ้าง
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.