>>80 >>84 การลงโทษในอดีตนอกจากการแก้แค้นทดแทนแล้วยังมีการข่มขวัญให้กลัวด้วย (เหมือนโทษประหารสมัยก่อน ใครถูกตัดหัว-แขวนคอ นี่ถือว่าปราณีสุดๆ ละ เพราะมีอีกหลายวิธีที่สยองกว่านั้นเยอะ) แต่พอยุคสมัยเปลี่ยนไป คนรู้มากขึ้นว่าแนวคิดพวกนี้มันไร้ประโยชน์ โทษที่หนักอย่างเดียวไม่ได้ทำให้คนกลัว เพราะคนที่อยากก่ออาชญากรรมสุดท้ายมันก็ทำอยู่ดีแล้วไปหาทางหนีหรือปกปิดทีหลัง แถมหลายๆ คนที่ถูกจับยังเป็นแพะอีก ตาสีตาสาไม่รู้หนังสือ เป็นไพร่ทาสถูกกดดันหลอกมาก็มี ยุคต่อๆ มา เลยมองว่าต้องพัฒนาเทคโนโลยีการสืบสวนสอบสวน แบบที่ก่อเหตุแล้วโอกาสหนีหรือปกปิดความผิดน้อยลง (นิติวิทยาศาสตร์) แถมยังเข้าใจด้วยว่าหลายๆ คนที่เป็นอาชญากรไมไ่ด้เลวโดยสันดาน แต่มาจากความจำปเ็น (หลักๆ คือยากจน ปากกัดตีนถีบ หรือเคยถูกรังแก เจอความรุนแรงมาก่อน) เลยอยากให้โอกาสกลับตัว การประหารเลยถูกเก็บไว้ใช้เท่าที่จำเป็น และคุกเลยมีหน้าที่แก้ไขพฤติกรรมหรือฝึกอาชีพด้วย
แต่ก็นั่นแหละ สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยมุมมองศีลธรรมแบบศาสนา มักจะยังไม่หลุดพ้นแนวคิดแบบแก้แค้นทดแทนหรอก เพราะสิ่งที่ศาสนาให้ความสำคัญเสมอในการสอนคือนรก-สวรรค์ ถ้าใครจะตกนรกมันคือกรรมของเขาเอง ทำไมจะต้องเจียดทรัพยากรของคนดีๆ ไปช่วยด้วยล่ะ ไอ้แนวคิดฟื้นฟูคนทำผิดกลับสู่สังคมจึงไม่ค่อยเกิดใน ปท. แนวนี้