Fanboi Channel

ลงทุนใน Bitcoin และ Cryptocurrency

Last posted

Total of 1000 posts

100 Nameless Fanboi Posted ID:16m2dVg1y8

กลไกมาตรฐานของ Tokenomics ในโลก DeFi คือ

1. เอามูลค่าในอนาคต มาจูงใจเป็น incentive ในปัจจุบัน เช่น แจกเหรียญ gov token ให้คนที่มา engage ใน platform (เช่น Raydium แจก RAY ให้คนวาง liquidity หรือ Anchor แจก ANC ให้คนมากู้)

2. เมื่อคนมา engage กับ platform แล้วทำให้เกิดกิจกรรมทางการเงินขึ้น

3. กิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดรายได้ของ protocol

4. แนวโน้มการเติบโตของรายได้ จะเป็นปัจจัยที่คนจะประเมินมูลค่าของเหรียญ gov แล้ว discount กลับมาที่ปัจจุบัน

5. ถ้า incentive ที่ให้มีแรงจูงใจมากพอ และปริมาณของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดตามที่วางแผนไว้ gov token ก็จะมีมูลค่าและกลับมาตอบโจทย์คือ future value จะสะท้อนกลับมาในรูปแบบ incentive ที่เหมาะสม

6. แต่ถ้าการคำนวน incentive ผิดพลาด สร้างแรงจูงใจไม่ได้ ทำให้คนไม่มาใช้บริการ สุดท้ายรายได้พลาดเป้า ราคาเหรียญ gov token ก็จะร่วงลง

ดังนั้นการออกแบบ Tokenomics จำเป็นต้องคิดถึงดุลยภาพของระบบให้ดี จะออกแบบให้เหรียญเฟ้อ หรือฝืด ในช่วงจังหวะไหน? จะ private sales เป็นสัดส่วนเท่าไหร่? สัดส่วน incentive ที่ให้จะเป็นเท่าไหร่? คุณจะปล่อย emission rate เท่าไหร่ ที่อัตราการเฟ้อของเหรียญจะสอดคล้องไปกับอัตราการเติบโตของรายได้ของ protocol เพื่อที่ให้คำนวน valuation ออกมาแล้ว เหรียญจะเติบโตไปได้อย่าง healthy

หลายๆ คนมองง่ายเกินไป คิดแต่ว่าออกแบบระบบที่แจก gov แล้วคนจะแห่มาใช้ แล้วสุดท้ายราคาเหรียญจะ moon แต่สุดท้ายถ้าดุลยภาพไม่เกิด ถึงจุดนึงก็จะเกิดความ "เละ" ตามมา

ผมเองก็เคยคำนวน Tokenomics แบบเอาง่ายเข้าว่า แต่ก็โดนทีมงาน Avareum คอมเมนต์จนเละเทะ แล้วสุดท้ายทีม Financial Scientist ของ Avareum ก็เข้ามาช่วยออกแบบโมเดลของ Tokenomics ที่ (ในทางทฤษฏีแล้ว) จะสามารถช่วยสร้างดุลยภาพ ระหว่าง incentive, emission รวมถึง valuation ได้ในระยะยาว โดยเอาโมเดลอย่างพวก Gordon Growth Model ใน traditional finance มาประยุกต์เข้ากับ tokenomics ในโลกของ DeFi

ออกมาเป็น Tokenomics ของ Avareum ที่ย้ำนักย้ำหนาว่าเราไม่เน้นกาว แต่เราอยากสร้างระบบ DeFi protocol ที่ยั่งยืนที่จะเติบโตไปได้ ไม่ใช่มาวูบๆ แล้วก็จากไป

นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไม Avareum ถึงพัฒนานานจังกว่าจะออก product ได้ ดังนั้น ใจเย็นๆ รอกันอีกนิดนะครับ

PS. ตัวอย่างในภาพคือ โมเดลคณิตศาสตร์ที่ทีม Avareum กำลังพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้ดุลยภาพนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี ถ้าเสร็จแล้ว ก็น่าจะพร้อม publish whitepaper แล้วครับ เร็วๆ นี้

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.