ซื้อ Meditations ของ Marcus Aurelius มาอ่านเพราะเป็น Romanboos
มีความรู้สึกว่าแนวคิดมันก็น่าสนใจดีนะ แต่บังคับใจตัวเองให้นิ่งได้แบบนั้นทำจริงๆแม่งยากชิบ
Last posted
Total of 126 posts
ซื้อ Meditations ของ Marcus Aurelius มาอ่านเพราะเป็น Romanboos
มีความรู้สึกว่าแนวคิดมันก็น่าสนใจดีนะ แต่บังคับใจตัวเองให้นิ่งได้แบบนั้นทำจริงๆแม่งยากชิบ
ปุจฉา
จริง ๆ แล้วฉันไม่ได้ไป จริง ๆ แล้วฉันไม่ได้มา
คืออะไร
อ๋อ Roman boos ไอเหี้ยกูก็นึกว่าแนวคิดไร โว๊ะ
>>76-77 มาเข้าร่วมแนวคิดนี้ด้วยกันมั้ยนาย https://imgur.com/LBFOqkX
ตอบแบบซีเรียสคือ Meditations มันออกกึ่งปรัชญา กึ่งหนังสือแนวพัฒนาตนเอง แต่เวลาคนจัดกลุ่มจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มหลังมากกว่า
ซึ่งกูเป็นพวกยี้หนังสือแนวพัฒนาตนเองมาก ถ้าไม่ได้สนใจ ปวศ. โรมันมาก่อนจนรู้จักที่ที่ไปมากูคงไม่สนใจหนังสือเล่มนี้แน่ๆ
อ่านแล้วมันก็มีอะไรน่าสนใจเยอะ ไม่ใช่หนังสือแนวพัฒนาตนเองเพ้อๆ หรือแนวพวกไลฟ์โค้ชที่ชีวิตไม่ได้ต้องรับผิดชอบนั่งคิดคำคมเท่ๆไปวันๆ
Meditationข้อสำคัญคือไม่ได้เขียนให้มึงอ่าน มาร์คัสแกเขียนไว้อ่านเอง
เอาจริงๆถ้าย้อนเวลาไปบอกแกว่าหนังสือส่วนตัวแกได้ตีพิมพ์เป็นล้านๆครั้ง คนอ่านทั่วโลกเป็นพันปี แกคงแหยงๆล่ะ ไม่ได้เขียนให้คนอื่นอ่าน
มึงใช่โม่งเดียวกันที่เคยมาขายลัทธิStoicกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองซักมู้ใดมู้หนึ่งเปล่าวะ?
ปุจฉา ถามหน่อยดิ้ ถ้าเราไม่มีความทุกข์และความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง คิดว่าชีวิตนี้โอเคแล้ว อย่างกูเนี่ยต่อให้เป็นนักปรัชญาที่มีทฤษฎีมารองรับไม่ใช่พวกหนังสือเหลวไหลแบบคําคมพัฒนาตนเองก็ตาม แม้กูจะสนใจอะไรที่เป็นทฤษฎีแนวคิดก็ตามกูก็รู้สึกไม่อยากจะอ่านที่มึงแนะนํามาเลย เพราะกูไม่มีเหตุผลที่จะต้องอ่านนอกจากจะอยากเสือกว่ามันคืออะไรแต่ซึ่งกูก็ขกศึกษาอยู่ดีเพราะโลกนี้มันมีอะไรมากมายให้กูศึกษาและจําเป็นกับกูมากกว่านี้ แล้วแบบนี่กูยังจําเป็นต้องอ่านสิ่งที่มึงแนะนํามาหรือไม่?
ถ้ากูอ่าน Meditation แล้วกูเกิดความรู้สึกที่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองขึ้นมา มันจะเป็นผลดีจริงหรือ เพราะกูที่พอใจในชีวิตกูตอนนี้ที่ไม่เคยอ่าน Meditation ก็เพียงพอแล้ว?
ท่านว่าอย่างไร
>>83 กูหงุดหงิดเลยไปหาคําตอบเอง นี่คลิปสรุปสินะ https://youtu.be/Hu0xDtK3g3Q แล้วก็ขกฟังต่อหว่ะ ไม่ใช่ว่ามันไม่ดีนะ แต่กูแค่ขก กูไม่เข้าใจว่าการพัฒนาตรงนี้มันจุดประสงค์ต้องการเป็นคนยังไง ตามที่กูเข้าใจคือการพัฒนาจิตใจตนเอง ดูจากแต่ละข้อแล้วดูเป็นแนวคิดของคนที่มีความเป็นผู้ใหญ่อ่ะ ก็คือมาร์คัสแกเขาก็ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆเจอเรื่องอะไรก็จด บางอย่างที่แม่งตั้งเป็นข้อๆกูว่าก็มีอยู่ในตัวแต่ละคนอยู่แล้วจากการเรียนรู้ชีวิต เวลาเราโตขึ้นเราก็รับรู้เรียนรู้สังคม รู้ว่าต้องดีลตนเองกับสังคมอะไรยังไงมากขึ้น Correct me if im wrong
สรุปก็คือไม่อ่านมึงก็ไม่ตาย แต่ถ้ามึงสนใจปวศหรทอเจ้าตัวมาร์คัสงานเขียนนี้น่าจะสะท้อนอะไรหลายๆอย่างดีเลย แม่งเอ้ยกูไม่น่าไปเสียเวลาไปศึกษาเล้ย
>>81 กูว่านั่นคือหนึ่งในความพิเศษของหนังสือเล่มนี้เลยนะ มันคือความคิดของคนเขียนจริงๆที่ไม่ได้ต้องมา filter เพื่อให้ใครมาอ่านเนี่ย
แต่แกฟื้นขึ้นมาก็คงทำหน้าไม่ถูกที่คนเอางานเขียนส่วนตัวแกมาทำแบบนี้จริงๆแหละ 555
>>82-84 กู >>73 กับ >>78
ถ้าเอามาขายในแง่เปลี่ยนแปลงตัวเอง พัฒนาตัวเองนี่ไม่ใช่กูแน่ๆอ่ะ เพราะอย่างที่บอกว่ากูก็เป็นคนไม่ชอบอะไรแนวนี้อยู่แล้วด้วย
แต่จำได้ว่าเคยแปะบทความในกระทู้มิตรสหายที่เค้าพูดในแง่ว่าโลกตะวันตกเองก็มีแนวคิดแบบนี้ ไม่ได้จำกัดแค่ในตะวันออก
2 เม้นหลังนี่กูตอบไม่ได้เหมือนกัน เพราะกูไม่ได้สนใจหนังสือเล่มนี้ในแง่นั้น
ไอ้เรื่องพัฒนาตัวเองนี่ถ้ามึงไม่ได้รู้สนใจด้วยตัวเองก็ไม่เห็นต้องไปสนใจคำพูดคนอื่นเลย
กูสนใจในแง่ว่ามันคืองานเขียนไม่กี่ชิ้นในยุคนั้นที่เหลือรอดมาได้ ถึงเนื้อหาอาจจะตกหล่นไปกับการแปลหลายทอดบ้างก็ตาม
เทียบกับหนังสือแนวพัฒนาตนเองด้วยกัน มันคือสิ่งที่เขียนโดยคนที่ชีวิตแบกความรับผิดชอบหนักหนาไว้จริงๆ
ไม่ใช่พวกสถาปนาตัวเองเป็นไลฟ์โค้ชที่ยุคนี้มีเต็มไปหมด
กับอีกแง่นึงมันคือปรัชญาของสายตะวันตกที่จริงๆก็มีส่วนคล้ายกับแนวคิดของหลายๆศาสนาทางตะวันออก
ซึ่งจริงๆอาจจะได้รับอิทธิพลมาก็ได้ แต่มันถูกตัดส่วนที่เป็นความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติต่างๆออกไปแล้ว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=248783206611788&set=pb.100044403310217.-2207520000..&type=3
กูเจอบทความที่ว่าเคยเอามาแปะในกระทู้มิตรสหายละ ไปๆมาๆก็ไม่แน่ใจว่ากูเคยแปะจริงมั้ย หรือเบลอ เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองไปอ่านดู
ประเด็นที่คนเขียนมองว่าแนวคิดแบบนี้ตะวันตกก็มีของตัวเอง ไม่ได้รับจากตะวันออกเสมอไปนี่มีคนมาเถียงอยู่นะว่ามันก็มีความเป็นไปได้อยู่
เอาเป็นว่าอ่านแบบใช้วิจารณญาณละกัน
>>88 กูยังเชื่อเรื่องที่อินเดียมีอิทธิพลต่อสโตอิคอยู่นะ เพราะอินเดียก็มีค้าขายทางตรงกับโรมันหรือกรีกมาก่อนแล้ว พ่อค้าทมิฬมีหลีกฐานว่าเคยไปถึงโรมด้วย แล้วก็ไม่ใช่พึ่งมาสมัยหลัง พ่อค้าอินเดียหรือจากแถบนั้นเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนพระเวท คือก่อนอารยันเข้ามา มีการติดต่อกับตะวันตกตั้งแต่ bronze age แล้ว ในอารยธรรมโลกโบราณมีแค่จีนที่เอกเทศหน่อย แต่แถบนั้นเชื่อโยงผ่านการค้ามาตลอด เรื่องแลกเปลี่ยนแนวคิดมันถึงเป็นไปได้ไง
เรื่องมันกึ่งจิตวิทยากึ่งปรัชญากูลงมันทั้งคู่เลยละกัน
สงสัยว่าแนวคิดว่าเราไม่ยินดียินร้ายใจนิ่งๆกับสิ่งต่างๆเนี่ย มันดีกับสภาพจิตใจคนเรามากกว่าจริงๆหรอ
เห็นแนวคิดนี้อยู่ในทั้งศาสนาในตะวันออก หรือปรัชญาตะวันตกอย่างพวก Stoic เลย
แต่กูรู้สึกอยากเป็นคนที่เวลามีความสุขก็ไปสุด เวลาทุกข์ก็ไปสุด มากกว่าจะเป็นคนที่ต้องคอยกดความรู้สึกของตัวเองตลอดเวลา
เวลาที่กูเห็นคนแบบนี้แล้วรู้สึกว่าเค้าได้เต็มที่กับชีวิตดี อยากเป็นแบบนั้นได้บ้าง
รู้สึกว่าการไม่ยินดียินร้ายมันไม่ใช่การเป็นโตผู้ใหญ่เหมือนที่หลายๆคนมอง แต่มันคือไม่เข้มแข็งพอที่เผชิญหน้ากับความรู้สึกจริงๆของตัวเองมากกว่า
มู้ตายยัง โม่งแปะคลิปไปไหน หรือเสียเวลาไปโม่ยเด็กตามค่านิยมโม่งนักปรัชญาชายไทยอยู่
>>>/lounge/16640/721/ เดาว่ามึงน่าจะตั้งใจตอบกระทู้นี้ แต่ตอบผิดกระทู้
Marcus Aurelius ไม่ได้เคลมว่าคิดเองอยู่แล้ว นักปรัชญาสายนี้ก็มีคนอื่นมาก่อน
ประเด็นที่บนๆคุยกันมันคือแนวคิดนี้กำเนิดมาจากโลกตะวันตกเองเลยมั้ย หรือได้รับอิทธิพลจากอินเดียอีกที
ซึ่งแค่คุยกันเล่นๆ เพราะมันไม่เหลือหลักฐานมากพอมาพิสูจน์แบบชัวร์ๆอยู่แล้ว
https://youtu.be/b-9-PZd57Qk the Lucifer effect เป็นงานวิจัยจิตวิทยาแต่แม่งจะเอามาตีความในแง่ของปรัชญาได้เรื่องศีลธรรม คืองานวิจัยนี้มันมาproofในยุคที่มีการเชื่อว่าการเป็นคนเลวหรือคนดีนั้นเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่การวิจัยออกมาว่าจริงๆแล้วเป็นปัจจัยทางสถาพสังคมมากว่าที่หล่อหลอมให้คนเลวได้ แล้วงานวิจัยนี่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเริ่มมาจากการเป็นคนดีมาก่อน ซึ่งแม่งก็มีเรื่อวความความเท่าเทียมไรประมาณเนร้ แต่วิธีทดลองแม่งเถื่อนดี
>>99 https://youtu.be/f9NWI3PGkPc The third wave experiment ก็คล้ายกันในผลสรุปที่ว่ามนุษย์แม่งจะดีจะเลวมันเกิดจากการหล่อหลอมการเติบโตการอยู่ในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆมา โดยการทดลองมีความเชื่อมโยงกับลัทธินาซี มีการจําลองโครงสร้างทางสังคมที่เป็นกลุ่มเป็นลัทธิขึ้นมา แต่กูชอบอย่างหนึ่งที่คอนทราสกับthe Lucifer effect ว่า แม่งสรุปว่ามนุษย์แม่งเลวมาแต่กําเนิดทุกคน
555
>>99 https://youtu.be/KND_bBDE8RQ อันนี้Vsauseมาอธิบายการทดลองละเอียดกว่า จริงๆมันชื่อว่า The Stanford Prison Effect นี่หว่า
ลองเขียนสรุปชีวิตตัวเองดู ตั้งแต่เรียนจบตรีมาเข้าสู่อีกสภาพสังคมหนึ่ง เวลาไม่ถึงปีนิสัยเปลี่ยนไปมาก ไม่รู้ว่าเป็นทางที่ดีขึ้นเปล่าหว่ะ เพราะมาเรียนต่างประเทศด้วยแหละมั้ง เหมือนเป็นคนละคนอยู่
-มีความกล้าเข้าสังคมมากขึ้น เข้าสังคมอย่างมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น รู้จักchitchat คุยกับคนได้หลายกลุ่มหลายช่วงอายุ แล้วรู้จักจัดการการแบ่งเวลากับสังคมกับตัวเอง เข้าใจแล้วว่าตัวเองต้องการอะไรจากการเข้าหาสังคม กูเข้าหาสังคมเพื่อที่จะรับแนวคิดอะไรใหม่ๆ ได้คอนเนคชั่น บางทีก็มีเพื่อนคอยอยู่แก้เหงา แต่priorityจริงๆคืออยากอยู่กับตัวเองมากกว่า แต่เราก็ต้องพึ่งพาสังคมดังนั้นการเข้าหาสังคมจำเป็น แต่ต้องหาเวลาเบรคมาให้ตัวเองไม่เหนื่อย
-ฟังมากกว่าพูด เมื่อก่อนเวลานําเสนองานกูชอบพูดไอเดียตัวเองอย่างเดียว ซึ่งบางทีเราพลาดและบางทีแม่งอยู่ในจุดที่พูดมากเกินไป แต่ตอนนี้กูปล่อยให้คนอื่นพูดก่อนแล้วกูคิดว่าจะพูดอะไรให้น้อยที่สุดแต่ดูฉลาดที่สุด แล้วค่อยพูดทีหลัง เลิกขี้โม้กลายมาเป็นคนพูด เอ่อๆอืมๆแทน
-รู้จักอ่อนนอกแข็งใน ยึดติดกับอะไรน้อยลงมากๆ โกรธยาก ไม่มีอุดมการณ์ตายตัว ไหลไปเรื่อย แต่ก็ไม่สูญเสียความเป็นตัวเอง
-จากการเป็นคนซื่อสัตย์ พูดตรงตัว เปลี่ยนเป็นพูดในสิ่วที่คนอยากฟังเท่านั้น พูดแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตัวเองน้อยลงมากๆ
-รู้จักช่างแม่ง กับปัญหาเล็กๆ ไม่เก็บมาคิดให้รกหัว
>ใช้ความเป็นstoicมากขึ้น ทําทุกอย่างให้สังคมรอบตัวสันติให้มากที่สุด ทําตัวเหมือนเป็นside character ก็ใช้ชีวิตง่ายขึ้น จากแต่ก่อนหัวร้อน แต่ที่บอกว่าไม่รู้ว่าเปลี่ยนไปดีขึ้นเปล่าเพราะแม่งเห็นแก่ตัวขึ้น มีความจริงใจน้อยลงแน่กลับรู้สึกสบายใจมากขึ้นกับการดีลกับคนอื่นๆ แต่บางกรณีก็เก็บกดอยู่ แต่พอกลับมาชาร์จพลังอยู่คนเดียวแม่งก็กลับมาสดใสได้
ไม่ได้เป็นความคืบหน้าทางการงานการเรียนอะไรหรอก แต่กูตลอดทั้งชีวิตตั้งแต่ขึ้นมัฐยมมาstruggling กับการบาลานซ์ระหว่างตัวเองกับสังคมมาก กูตอนนี้มองว่าวางตัวได้กําลังดี ขอให้อนาคตดียิ่งขึ้น แล้วขอให้ต่อไปมีความสามารถในการแบ่งเวลาในการทํางานกับงานอดิเรก เติบโตต่อไปตัวฉัน!
ถามว่าอยู่ได้ไงวะเฟคทั้งวัน พูดแต่สิ่งที่คนอื่นอยากฟัง ไม่มีความคิดเป็นของตัวเองเหรอ รือกูเอาเวลามาเป็นตัวเองก็เขียนอะไรลงอินเตอร์เน็ตแบบไร้ตัวตนเนี่ยแหละ แล้วมันช่วยได้เหมือนได้ระบายอะไรไปแล้ว แล้วไร้ตัวตนมันดีเพราะส่วนPureความคิดตัวเอง100%แม่งcringe และนิสัยเหี้ยด้วย ใช้แล้วกูชอบtrollชาวบ้านด้วย อิอิอิอิ
การใช้ชีวิตที่ซื่อตรงต่อตัวเองไม่ใช่เรื่องน่าอายเลย
กุเกลียดคนจอมปลอมที่สุด
>>105 เมื่อก่อนกูก็คิดงี้เลย แต่กูเปลี่ยนไปเพราะความคิดแบบนี้ทําให้กูมีปัญหากับคนมากกว่า เป็นคนซื่อตรงพูดอะไรในสิ่งที่พูดบางครั้งมันไม่ำด้พูดสิ่งที่ถูกต้องหมด บางครั้งก็ไปพูดอะไรไม่เข้าหูชาวบ้านโดยไม่ได้คิดถึงจิตใจคนอื่น แล้วการมีความคิดแบบนี้มึงจะต่อต้านคนที่ทําตัวเสแสร้ง ทั้งๆที่แต่ละคนมันมีประสบการณ์ในชีวิตเจออะไรไม่เหมือนกันเลยอาจต้องเป็นคนเก็บตัวไม่ได้บอกทุกเรื่องแชร์ทุกเรื่องทั้งหมด กูแต่ก่อนแม่งน้อยใจกับผู้คนมากเวลาคนอื่นมีอะไรไม่บอกกูตรงๆ
มันก็ไม่ใช่ว่ามนุษย์จะปลอมเปลือกอะไรขนาดนั้น ในสังคมที่อยู่ร่วมกันเราไม่มีทาวเป็นตัวเองได้100%หรอก แต่ละสังคมเราก็ทีบทบาทหน้าที่ไม่เหมือนกัน ต้องเคารพกฎสังคมและมารยาทวัฒนธรรมในแต่ละที่ นี่คือความหมายของการเป็นคนไม่ตรงตัวที่กูพูดถึง แล้วจากการคุยกับหลายคนแล้วกูลองพูดน้อยลงแบบstoic กูค้นพบว่าจริงๆแล้วน้อยคนมากๆมี่จะสนใจสิ่งที่มึงพูดจริงๆ แต่ละคนอยากมีคนรับฟังมากกว่า แล้วกูมองว่ามันไม่จำเป็นอีกต่อไปที่จะต้องพูดความคิดเห็นตัวเองจริงๆในทุกสถานการณ์ คือมันไม่ได้ไม่เสียอะไรนะ
>>110 ไหนๆก็มู้ปรัชญาแล้ว
ถามว่าตอแหลแค่ไหนมันวัดอะไรดีไม่ดีมันมีเกณท์ในการวัดอยู่แล้ว ในการวัดคุณค่าศืลธรรมว่าอะไรดีไม่ดีมันก็มีหลายแนวคิด แต่สําหรับกูแล้วกูใช้ da basic “อรรถประโยชน์นิยม” (utilitarianism) สำหรับการวางตัวของตัวกูเองนะ กูเชื่อว่าจะทําอะไรก็แล้วแต่ไม่ไปเบียดเบียนชาวบ้าน(หรือสังคม)ก็พอแล้ว การคิดถึงผลประโยชน์ร่วมทางสังคมมันจะกลับมาช่วยให้ชีวิตมึงง่ายขึ้นเอง
เชื่อมโยงกับแนวคิดconsequentialismแหละ ทําอะไรได้อย่างนั้น เคารพกฎสังคม เคารพไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นทั้งทางกายและวาจา คนก็จะไม่มามีปัญหากับมึง ชีวิติยู่อย่างสงบสุขไม่ต้องไปหาเรื่อง นินทาใคร
>การนินทาว่าร้าย มันไม่ได้สร้างผลดีอะไรให้กับสังคม เสียเวลาเปล่าๆ มันเป็นการแสดงความเห็นจากมุมมองทัศนคติของคนๆหนึ่งซึ่งเวลานินทาโดยปกติแม่งBiasอคติเข้าข้างคนพูดชิบหาย และไม่ได้ช่วยในการแก้ไขปัญหาอะไรเลย ดังนั้นนินทาคนเอามาลงโม่งดีกว่า บางครั้งมึงอาจย้อนกลับมาคิดได้ว่า มันไม่จริงอย่างที่มึงพูด มึงไม่ได้เข้าใจอีกฝ่ายดี แล้วมันลดการสร้างปัญหากับคนนั้นๆ หรือไม่สร้างบรรยากาศnegativityในหมู่เพื่อนหมู่สังคมด้วย
ส่วนการเป็นตอแหลโดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองแล้วมันมีศีลธรรมเข้ากับแนวคิดอรรถประโยชน์นิยมก็คือการไม่แสดงความเห็นที่สร้างความขัดแย้งให้กับสังคม คือยกตัวอย่างตอนนี้คนไหนพูดถึงการเมืองอะไรยังไงกูก็รับฟังหมดไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ แล้วกูก็เออ ออกับเขาไป เพราะกูคิดว่าไม่ทีเหตุจําเป็นที่ต้องไปเอตดูเขตคนอื่น ไม่มีแนวคิดไหนที่ตายตัวว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง100%ว่ามันจะworksกับการแก้ปัญหาทางสังคมได้ และทุกเหตุการณ์มันก็controversial อย่างปัญหาสังคมเงี่ยะ แต่ละฝ่ายก็มีความต้องการผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ทุกการกระทำของแต่ละฝ่ายมันก็มีหลักการของมันรองรับ มนุษย์ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็มีสิทธิ์ชอบธรรมในการแสดงออกความเห็น ดังนั้นกูจึงเลือกจะไม่แย้งอะไร แล้วการฟังมันทําให้กูเข้าใจมุมมองจากอีกฝั่งด้วย ส่วนโทรลด่าควายด่าสลิ่มกูมาเกรียนใส่ในโม่งพอ อิอิอิ
"No man ever steps in the same river twice. For it’s not the same river and he’s not the same man."
- Heraclitus
>>112 อื่มแต่จุดยืนต่างกันแหละ อันนร้อยากเขียนเฉยๆไม่ได้อยากให้มึงเชื่อหรือพยายามยัดเยียดความคิดให้มึง กูอยากกลับมาอ่านความคิดตัวเองในอนาคต สําหรับตอนนี้กูมองว่ายังไงเราก็ต้องเข้าสังคมนะ ถึงแม้ว่าในบางมุมมองสังคมมันจะดูโหดร้าย แต่กูมองว่ามนุษย์มันเทาๆมากกว่า คือในบางจุดคนเรามันเติบโตไม่มีประสบการณ์พอ มนุษย์ไม่สีใครสมบูรณ์แบบ คนเรามันพลาดกันได้บางครั้ง ทุกคนต้องเคยนินทา โกหก เสแสร้ง หลอกลวง อยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าคนๆนั้นจะเลวโดยสมบูรณ์แบบ ยังไงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่มีใครอยู่รอดด้วยตัวคนเดียว มองข้ามความผิดพลาดความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ในบางครั้งแล้วหาวิธีทํางานร่วมหรืออยู่ร่วมกันอย่างสงบที่สุดดีกว่า
>>113 Sono d'accordo
>>114 อันนี้กูถามความเห็นมึงหน่อย กูเป็นคนนึงที่รู้สึกว่าถูกพ่อแม่เลี้ยงมาแบบไม่ค่อยมีอิสระในการแสดงความรู้สึกของตัวเองเท่าไหร่
จนรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นคนเก็บกด และก็ไม่ได้รู้สึกชอบสิ่งที่ตัวเองเป็นเท่าไหร่ แต่มันเปลี่ยนไม่ทันแล้ว ก็อยู่ๆแม่งไปแบบนี้แหละ
กูเห็นคนที่กล้าจะแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมาตรงๆ (แต่ไม่ใช่ถึงขั้นไม่มีความเกรงใจ หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นนะ)
เวลามีความสุขหรือทุกข์ก็ไปสุด แล้วรู้สึกว่าคนแบบนี้เจ๋งดี รู้สึกว่าเค้าได้เต็มที่กับชีวิต อยากเป็นแบบเค้าบ้าง
Meditations นี่กูลองซื้อมาอ่านเพราะสนใจ ปวศ. โรมัน คือมันก็มีข้อคิดดีๆเยอะ แต่รู้สึกว่าในทางปฏิบัติมันทำยาก และฝืนความเป็นมนุษย์เกินไป
มึงคิดว่าการเลือกจะกดความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์ไว้เป็นอะไรที่ดีกว่าจริงๆหรอ
กุขอเล่าของกูนะ กุไม่ใช่ไอตัวร่ายยาว หลายๆเมนต์ข้างบนนะ การเก็บความรู้สึกไว้ก็ดี มันทำให้เราเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือคนอื่น กฏเกณฑ์ บางทีมันก็จำเป็น สร้างความรับผิดชอบ ถ้ามนุษย์ไร้ซึ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเอง
แบบนั้นเราก็กลายเป็นคนแหลกเหลวเหมือนโนบิตะ
ที่เราเก็บอารมณ์เป็นคนดี ไม่ใช่ความอ่อนแอ
กุเคยได้สัมผัสมาแล้ว ที่เลือดขึ้นหน้าในหัวมีแต่สั่งฆ่าให้ตาย กุเคยเกือบควักลูกตาคนออกมาแล้วกินสดๆ แต่มีคนห้ามก่อน
พวกเราควรใช้สิ่งนั้นเมื่อเราต้องอยู่ภาวะต้องต่อสู้เป็นตาย และเรียกให้ปีศาจมาสถิตร่างเราได้
แต่ไม่ใช่สังคมปกติ ไม่งั้นเราคงไม่ต่างอะไรกับสัตว์ที่ไม่มีปัญญารั้งคิด อารมณ์ความรู้สึก สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ และเป็นโทษได้เช่นกัน
จงกลัวคนที่ไม่แสดงอารมณ์ เหมือน อายาโนะโคจิ ถ้าไม่มีอารมณ์ ก็จะไม่สามารถถูกควบคุมได้ หรือเข้าสู่ภาวะไร้ใจ แต่ละอย่างมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน บุ๋นหรือบู๊
เพิ่มเติม การเก็บอารมณ์ทำให้การระเบิดพลังของเรา มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ไขว้เขวกับสิ่งอื่น
ระเบิดเวลา อ๊าาาาาาาาาาาาาาา
นี่คือตัวอย่าง ของวาทกรรม “ไปยุโรป” ของนศ.ปรัชญาไทย ว่าทําไมมันเรียนต่อไม่ได้ ไปยุโรปยังไง
https://youtube.com/shorts/e-SPCiwSvLo?feature=share
https://thematter.co/social/philosophy/study-philosophy-and-baccalaureate/217069
ปรัชญาเป็นเรื่องของผู้ใหญ่? เข้าใจความสำคัญวิชาปรัชญา ผ่านการเรียนและการสอบระดับชาติในฝรั่งเศส
มึงเรียนปรัชญากับฝรั่งเศสคือมึงกลับไปเป็นลิงในถ้ำเลยนะ เพราะพวกนี้มันอยู่ในโลกจูนิเบียวพระเจ้าองค์เดียวมาเป็นพันๆปีจนโง่ ไปหมด
ไอ้นู่นก็พระเจ้าเสก ไอ้นี่ก็พระเจ้าสร้าง มักง่ายแบบนี้แหละ ในขณะที่อินเดียนับพันๆหมื่นๆปี มองโลกออกว่าเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง เลยแยกเป็นเทพเจ้านับล้านๆองค์ ซึ่งจริงๆก็เหมือนชื่อธาตุ ชื่อสูตรเคมีในยุคโบราณ ไม่อยากโง่อย่าไปยุ่งกับปรัชญาตะวันตก พวกนี้ก่อแต่ปัญหาให้โลก
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.