Last posted
Total of 126 posts
>>105 เมื่อก่อนกูก็คิดงี้เลย แต่กูเปลี่ยนไปเพราะความคิดแบบนี้ทําให้กูมีปัญหากับคนมากกว่า เป็นคนซื่อตรงพูดอะไรในสิ่งที่พูดบางครั้งมันไม่ำด้พูดสิ่งที่ถูกต้องหมด บางครั้งก็ไปพูดอะไรไม่เข้าหูชาวบ้านโดยไม่ได้คิดถึงจิตใจคนอื่น แล้วการมีความคิดแบบนี้มึงจะต่อต้านคนที่ทําตัวเสแสร้ง ทั้งๆที่แต่ละคนมันมีประสบการณ์ในชีวิตเจออะไรไม่เหมือนกันเลยอาจต้องเป็นคนเก็บตัวไม่ได้บอกทุกเรื่องแชร์ทุกเรื่องทั้งหมด กูแต่ก่อนแม่งน้อยใจกับผู้คนมากเวลาคนอื่นมีอะไรไม่บอกกูตรงๆ
มันก็ไม่ใช่ว่ามนุษย์จะปลอมเปลือกอะไรขนาดนั้น ในสังคมที่อยู่ร่วมกันเราไม่มีทาวเป็นตัวเองได้100%หรอก แต่ละสังคมเราก็ทีบทบาทหน้าที่ไม่เหมือนกัน ต้องเคารพกฎสังคมและมารยาทวัฒนธรรมในแต่ละที่ นี่คือความหมายของการเป็นคนไม่ตรงตัวที่กูพูดถึง แล้วจากการคุยกับหลายคนแล้วกูลองพูดน้อยลงแบบstoic กูค้นพบว่าจริงๆแล้วน้อยคนมากๆมี่จะสนใจสิ่งที่มึงพูดจริงๆ แต่ละคนอยากมีคนรับฟังมากกว่า แล้วกูมองว่ามันไม่จำเป็นอีกต่อไปที่จะต้องพูดความคิดเห็นตัวเองจริงๆในทุกสถานการณ์ คือมันไม่ได้ไม่เสียอะไรนะ
>>110 ไหนๆก็มู้ปรัชญาแล้ว
ถามว่าตอแหลแค่ไหนมันวัดอะไรดีไม่ดีมันมีเกณท์ในการวัดอยู่แล้ว ในการวัดคุณค่าศืลธรรมว่าอะไรดีไม่ดีมันก็มีหลายแนวคิด แต่สําหรับกูแล้วกูใช้ da basic “อรรถประโยชน์นิยม” (utilitarianism) สำหรับการวางตัวของตัวกูเองนะ กูเชื่อว่าจะทําอะไรก็แล้วแต่ไม่ไปเบียดเบียนชาวบ้าน(หรือสังคม)ก็พอแล้ว การคิดถึงผลประโยชน์ร่วมทางสังคมมันจะกลับมาช่วยให้ชีวิตมึงง่ายขึ้นเอง
เชื่อมโยงกับแนวคิดconsequentialismแหละ ทําอะไรได้อย่างนั้น เคารพกฎสังคม เคารพไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นทั้งทางกายและวาจา คนก็จะไม่มามีปัญหากับมึง ชีวิติยู่อย่างสงบสุขไม่ต้องไปหาเรื่อง นินทาใคร
>การนินทาว่าร้าย มันไม่ได้สร้างผลดีอะไรให้กับสังคม เสียเวลาเปล่าๆ มันเป็นการแสดงความเห็นจากมุมมองทัศนคติของคนๆหนึ่งซึ่งเวลานินทาโดยปกติแม่งBiasอคติเข้าข้างคนพูดชิบหาย และไม่ได้ช่วยในการแก้ไขปัญหาอะไรเลย ดังนั้นนินทาคนเอามาลงโม่งดีกว่า บางครั้งมึงอาจย้อนกลับมาคิดได้ว่า มันไม่จริงอย่างที่มึงพูด มึงไม่ได้เข้าใจอีกฝ่ายดี แล้วมันลดการสร้างปัญหากับคนนั้นๆ หรือไม่สร้างบรรยากาศnegativityในหมู่เพื่อนหมู่สังคมด้วย
ส่วนการเป็นตอแหลโดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองแล้วมันมีศีลธรรมเข้ากับแนวคิดอรรถประโยชน์นิยมก็คือการไม่แสดงความเห็นที่สร้างความขัดแย้งให้กับสังคม คือยกตัวอย่างตอนนี้คนไหนพูดถึงการเมืองอะไรยังไงกูก็รับฟังหมดไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ แล้วกูก็เออ ออกับเขาไป เพราะกูคิดว่าไม่ทีเหตุจําเป็นที่ต้องไปเอตดูเขตคนอื่น ไม่มีแนวคิดไหนที่ตายตัวว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง100%ว่ามันจะworksกับการแก้ปัญหาทางสังคมได้ และทุกเหตุการณ์มันก็controversial อย่างปัญหาสังคมเงี่ยะ แต่ละฝ่ายก็มีความต้องการผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ทุกการกระทำของแต่ละฝ่ายมันก็มีหลักการของมันรองรับ มนุษย์ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็มีสิทธิ์ชอบธรรมในการแสดงออกความเห็น ดังนั้นกูจึงเลือกจะไม่แย้งอะไร แล้วการฟังมันทําให้กูเข้าใจมุมมองจากอีกฝั่งด้วย ส่วนโทรลด่าควายด่าสลิ่มกูมาเกรียนใส่ในโม่งพอ อิอิอิ
"No man ever steps in the same river twice. For it’s not the same river and he’s not the same man."
- Heraclitus
>>112 อื่มแต่จุดยืนต่างกันแหละ อันนร้อยากเขียนเฉยๆไม่ได้อยากให้มึงเชื่อหรือพยายามยัดเยียดความคิดให้มึง กูอยากกลับมาอ่านความคิดตัวเองในอนาคต สําหรับตอนนี้กูมองว่ายังไงเราก็ต้องเข้าสังคมนะ ถึงแม้ว่าในบางมุมมองสังคมมันจะดูโหดร้าย แต่กูมองว่ามนุษย์มันเทาๆมากกว่า คือในบางจุดคนเรามันเติบโตไม่มีประสบการณ์พอ มนุษย์ไม่สีใครสมบูรณ์แบบ คนเรามันพลาดกันได้บางครั้ง ทุกคนต้องเคยนินทา โกหก เสแสร้ง หลอกลวง อยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าคนๆนั้นจะเลวโดยสมบูรณ์แบบ ยังไงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่มีใครอยู่รอดด้วยตัวคนเดียว มองข้ามความผิดพลาดความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ในบางครั้งแล้วหาวิธีทํางานร่วมหรืออยู่ร่วมกันอย่างสงบที่สุดดีกว่า
>>113 Sono d'accordo
>>114 อันนี้กูถามความเห็นมึงหน่อย กูเป็นคนนึงที่รู้สึกว่าถูกพ่อแม่เลี้ยงมาแบบไม่ค่อยมีอิสระในการแสดงความรู้สึกของตัวเองเท่าไหร่
จนรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นคนเก็บกด และก็ไม่ได้รู้สึกชอบสิ่งที่ตัวเองเป็นเท่าไหร่ แต่มันเปลี่ยนไม่ทันแล้ว ก็อยู่ๆแม่งไปแบบนี้แหละ
กูเห็นคนที่กล้าจะแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมาตรงๆ (แต่ไม่ใช่ถึงขั้นไม่มีความเกรงใจ หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นนะ)
เวลามีความสุขหรือทุกข์ก็ไปสุด แล้วรู้สึกว่าคนแบบนี้เจ๋งดี รู้สึกว่าเค้าได้เต็มที่กับชีวิต อยากเป็นแบบเค้าบ้าง
Meditations นี่กูลองซื้อมาอ่านเพราะสนใจ ปวศ. โรมัน คือมันก็มีข้อคิดดีๆเยอะ แต่รู้สึกว่าในทางปฏิบัติมันทำยาก และฝืนความเป็นมนุษย์เกินไป
มึงคิดว่าการเลือกจะกดความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์ไว้เป็นอะไรที่ดีกว่าจริงๆหรอ
กุขอเล่าของกูนะ กุไม่ใช่ไอตัวร่ายยาว หลายๆเมนต์ข้างบนนะ การเก็บความรู้สึกไว้ก็ดี มันทำให้เราเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือคนอื่น กฏเกณฑ์ บางทีมันก็จำเป็น สร้างความรับผิดชอบ ถ้ามนุษย์ไร้ซึ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเอง
แบบนั้นเราก็กลายเป็นคนแหลกเหลวเหมือนโนบิตะ
ที่เราเก็บอารมณ์เป็นคนดี ไม่ใช่ความอ่อนแอ
กุเคยได้สัมผัสมาแล้ว ที่เลือดขึ้นหน้าในหัวมีแต่สั่งฆ่าให้ตาย กุเคยเกือบควักลูกตาคนออกมาแล้วกินสดๆ แต่มีคนห้ามก่อน
พวกเราควรใช้สิ่งนั้นเมื่อเราต้องอยู่ภาวะต้องต่อสู้เป็นตาย และเรียกให้ปีศาจมาสถิตร่างเราได้
แต่ไม่ใช่สังคมปกติ ไม่งั้นเราคงไม่ต่างอะไรกับสัตว์ที่ไม่มีปัญญารั้งคิด อารมณ์ความรู้สึก สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ และเป็นโทษได้เช่นกัน
จงกลัวคนที่ไม่แสดงอารมณ์ เหมือน อายาโนะโคจิ ถ้าไม่มีอารมณ์ ก็จะไม่สามารถถูกควบคุมได้ หรือเข้าสู่ภาวะไร้ใจ แต่ละอย่างมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน บุ๋นหรือบู๊
เพิ่มเติม การเก็บอารมณ์ทำให้การระเบิดพลังของเรา มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ไขว้เขวกับสิ่งอื่น
ระเบิดเวลา อ๊าาาาาาาาาาาาาาา
นี่คือตัวอย่าง ของวาทกรรม “ไปยุโรป” ของนศ.ปรัชญาไทย ว่าทําไมมันเรียนต่อไม่ได้ ไปยุโรปยังไง
https://youtube.com/shorts/e-SPCiwSvLo?feature=share
https://thematter.co/social/philosophy/study-philosophy-and-baccalaureate/217069
ปรัชญาเป็นเรื่องของผู้ใหญ่? เข้าใจความสำคัญวิชาปรัชญา ผ่านการเรียนและการสอบระดับชาติในฝรั่งเศส
มึงเรียนปรัชญากับฝรั่งเศสคือมึงกลับไปเป็นลิงในถ้ำเลยนะ เพราะพวกนี้มันอยู่ในโลกจูนิเบียวพระเจ้าองค์เดียวมาเป็นพันๆปีจนโง่ ไปหมด
ไอ้นู่นก็พระเจ้าเสก ไอ้นี่ก็พระเจ้าสร้าง มักง่ายแบบนี้แหละ ในขณะที่อินเดียนับพันๆหมื่นๆปี มองโลกออกว่าเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง เลยแยกเป็นเทพเจ้านับล้านๆองค์ ซึ่งจริงๆก็เหมือนชื่อธาตุ ชื่อสูตรเคมีในยุคโบราณ ไม่อยากโง่อย่าไปยุ่งกับปรัชญาตะวันตก พวกนี้ก่อแต่ปัญหาให้โลก
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.