>>648 โม่งเฉาะมึงคิดถึงกูหรา
ส่วนเรื่องตะวันกล้าฯ >>639 กูเห็นด้วยกับโม่งเฉาะ ขอเสริมนิดนึง เอาแค่บทนำพอนะ
- คำว่า "มิ" ถึงแม้จะมีความหมายว่า "ไม่" และทำให้บรรยากาศดูโบราณขึ้น แต่การใช้ติด ๆ กันมันดูขัดตาพิกล จะเปลี่ยนไปใช้ทั้ง "มิ" และ "ไม่" ในเวลาเดียวกันมันก็กระไรอยู่ แล้วแต่นักเขียนแล้วกันว่าจะคิดยังไง
- คำว่า "หาก" จริง ๆ ตามพจนานุกรมไม่ได้มีความหมายว่า "แต่" เลย [(๑) ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. (๒) ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. (๓) สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ (๔) สัน. เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์ (บุณโณวาท)]
แล้วกูก็ยังไม่เคยพบในหนังสือหลักภาษาไทยว่ามีการใช้คำว่า "หาก" เป็นคำสันธาน/คำเชื่อมความขัดแย้ง (ถ้าใครเจอรบกวนบอกบุญ) งงนิดหนึ่ง เพราะนักเขียนส่วนใหญ่ก็ชอบใช้คำว่า "หาก" แทนคำว่า "แต่" มันคงฟังดูโบราณขึ้นมั้ง แล้วก็น่าแปลกด้วยที่คนส่วนใหญ่อ่านแล้วก็เข้าใจว่า "หาก" สามารถมีความหมายเป็น "แต่" ได้ แปลกดี
- "เสียงใสนั่นติดแหบเล็ก ๆ ก่อนจูหรงเยี่ยวัยสิบเอ็ดปีได้ยินเสียงร้องห้ามปรามวี้ดว้ายของสตรีจนอื้ออึง" ตรงนี้ต้องอ่านซ้ำอยู่หลายรอบว่าใจความของประโยคนี้คืออะไร เหมือนที่โม่งเฉาะว่านั่นแหละ ตัดคำขยายออกหน่อย ย้ายเรื่องการบรรยายอายุของจูหรงเยี่ยไปไว้ที่อื่นก็น่าจะทำได้
- "เมื่อลืมตาขึ้นมองก็พบดวงตาคู่คมซึ่งกำลังจ้องมองมา" นี่คือตัวอย่างของประโยคที่ควรตัดคำว่า "ซึ่ง" ทิ้ง ถ้าเหลือแค่ "เมื่อลืมตาขึ้นก็พบดวงตาคู่คมกำลังจ้องมองมา" แค่นี้ใจความก็ยังเท่าเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แถมยังกระชับกว่าประโยคเดิมอยู่หน่อยหนึ่ง
- "เนิ่นนานดั่งชั่วกัปชั่วกัลป์" เอาตามตรงนี่เป็นคำเปรียบเทียบตามปกติของไทยเลย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจีนเขาเชื่อเรื่องกัปกัลป์มั้ย แล้วคำเปรียบเทียบความนานของจีนแบบนี้เขาใช้กันมั้ย คิดว่าบางทีอาจลองหาสำนวนจีนที่ใช้เปรียบเรื่องระยะเวลานาน ๆ มาใช้ น่าจะให้ความเป็นจีนได้มากกว่า
- ส่วนตัวแล้วกูชอบย่อหน้าสุดท้าย ตรง "หลายสิบปีจากนี้ผู้คนเล่าขานฯ" เป็นพิเศษ
ป.ล. อักษรต่ำไม่สามารถใช้กับไม้ตรีได้ เพราะมันไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ เช่น วี๊ด ต้องใช้ว่า "วี้ด", มั๊ย ต้องใช้ว่า "มั้ย" << ในกรณีภาษาพูดน่ะนะ