สำนักพิมพ์ที่มีทุนพอจะซื้องานเขียนสร้างสรรค์ดี ๆ ไปตีพิมพ์ได้คือสำนักพิมพ์ใหญ่ที่มีเงินหนา มีหนังสือที่ขายได้มากมายในมือ แต่สำนักพิมพ์ประเภทนี้จะมาช่วยอุ้มหนังสือทุกประเภทมันก็ไม่ไหว ต้นทุนทำหนังสือบ้านเราพอ ๆ กับของฝรั่ง เพราะเราต้องสั่งกระดาษของเขา เครื่องจักรก็ของเขา แต่พอทำออกมาแล้วต้องตั้งราคาถูกกว่าเขาสามเท่าเป็นอย่างน้อย ยิ่งถ้าไปทุ่มกับปก นักวาดมีฝีมือ ก็ยิ่งแพงเข้าไปใหญ่ คนไทยที่มีกำลังซื้อหนังสือมีอยู่จึ๋งเดียวถ้าเทียบกับคนทั้งประเทศ ดูสิสมัยนี้เหลือพิมพ์แค่ห้าร้อยเล่มก็ยังมี จากสามสี่ปีที่แล้วที่ว่าพิมพ์น้อยสุดก็พันเล่ม
งานเขียนจากพวกมือใหม่ความจริงจะให้ดีควรมีมืออาชีพช่วยรีไรต์ให้ แต่ทีนี้ตัวเงินมันน้อยไง เขียนเองทำขายเองแล้วยังต้องจ้างคนมารีไรต์ ถ้าคนรีไรต์เก่งจริง ๆ เขาก็คงไม่คิดแค่สี่ห้าพันหรอก เพราะงานมันหนักเกือบเท่าเขียนเอง ไหนจะต้องรีไรต์ให้เป็นภาษาของผู้เขียนอีกด้วย สรุปว่างานหนังสือไทยมันตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ ก็เพราะตัวเงินนี่แหละว่ะ งานทำมือที่ทำออกมาได้ดีจริงมีน้อยมาก งานทำมือที่ได้เงินง่ายคือเล่นกับกระแส อันไหนกระแสดีก็ต้องรีบเขียนรีบขาย สำนักพิมพ์หลายแห่งก็มาเล่นกับกระแสเหมือนกัน ที่โม่งด่า ๆ กันว่างานห่วยเอาไปพิมพ์ได้ไง นั่นแหละสำนักพิมพ์ต้องการกระแส พิมพ์แค่พันเล่ม ได้เงินไว ๆ แล้วถ้าฟลุคมีคนซื้อเยอะก็สบาย ถ้าไม่ฟลุกก็ไม่เจ็บตัวมาก เพราะมีกระแสอยู่แล้ว อาจจะพอได้ทุน บางทีคนเขียนอยากตีพิมพ์มาก เขาให้เซ็นสัญญาแบบไหนก็ยอม ประเภทให้เงินตามจำนวนเล่มที่ขายได้ รับเงินทีละไม่กี่พัน สำนักพิมพ์ไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องทุ่มเงินให้นักเขียนทันทีที่พิมพ์เสร็จ
กูว่างานขายตามเว็บแบบที่เด็กดอยทำเนี่ยดีที่สุดแล้วสำหรับหน้าใหม่ที่อยากได้เงินค่าขนม ถ้ามีคนอ่านเยอะก็ไปขายเมบ แต่โอกาสพัฒนาตัวเองมันจะยากเพราะไม่มีมือาชีพมาแนะนำให้ ไม่มีบรรณาธิการ นอกจากจะกล้าลงทุนจ้างบรรณาธิการมาช่วย ช่วงแรกอาจจะไม่ได้กำไรเลยเพราะเอาไปจ่ายให้บรรณาธิการหมด แต่มันคือความรู้ไง ต่อไปถ้าเก่งขึ้นก็ไม่ต้องมีบรรณาธิการช่วยแล้ว