>>462
เรื่องสิทธิของนักเขียนที่สามารถใช้จินตนาการเพิ่มเติมจากเรื่องจริง...
กูไปอ่านเจอในเวปเรือนไทย คุณเทาชมพู(กูคิดว่าเป็นนักเขียนใหญ่ท่านนึงแต่ไม่แน่ใจ)ตามนี้
.....
ศิลปะสาขาต่างๆนั้นเป็นงานสร้างสรรค์ที่ผู้สร้างงานมีสิทธิพิเศษอย่างหนึ่ง ที่คนในอาชีพอื่นไม่น่าจะมี คือมีสิทธิ์ที่จะสร้าง เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง เพิ่มเติม ปฏิเสธ บิดผัน ข้อเท็จจริงต่างๆในโลก เอาไว้ในผลงานของตัวเองได้ ถ้าเป็นงานวรรณกรรม สิทธินี้เรียกว่า poetic license ถ้าเป็นศิลปะโดยรวม เรียกว่า Artistic license
license ที่ว่านี้ประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมาก แทบว่าจะยกตัวอย่างได้ครอบจักรวาล ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นครูสอนภาษา ก็ต้องสอนให้นักเรียนเขียนอ่านได้ถูกต้องตามหลักภาษา เขียนผิดก็หักคะแนนไป
แต่ข้อนี้ คุณครูเอาไปใช้กับกวีไม่ได้ กวีอาจสร้างภาษาหรือคำขึ้นมาใหม่ได้ตามความคิดของเขา ด้วยเหตุผลของเขา เหมือนสุนทรภู่ใช้คำว่า " เจ้ากรมยมราช" เพื่อให้มีสัมผัสใน ทั้งๆเจ้าพระยายมราช ตำแหน่งท่านคือเสนาบดี สูงกว่าเจ้ากรมเป็นไหนๆ แต่สุนทรภู่ก็ได้รับการยกเว้น ไม่ถือว่าผิด ด้วยสิทธิดังกล่าว......
กูก็เพิ่งรู้ค่ะ