กุเข้าใจคนที่คิดว่าหน้าที่ของสนพ.คือกรองเรื่องดีๆ หลากหลาย ปั้นออกสู่ตลาด สมัยก่อนที่นักอ่านยึดสนพ.เป็นหลัก การออกงานต้องผ่านสนพ.ถึงจะขายได้ มันก็ใช่ตามนั้น แต่ยุคนี้มันแตกต่างเพราะนักเขียนทำมือเองได้ พวกที่ขายได้เอง มีฐานแฟนคลับกลางๆ ถึงระดับสูงเลยเลือกทำมือเอง ไม่ก็ทำอีบุคเองเพราะมันได้เงินเยอะกว่าผ่านสนพ. แถมไม่ต้องรอนาน (งานที่ออกกับสนพ.มึงต้องรอไม่ต่ำกว่า 2 เดือน) แล้วสนพ.สมัยนี้มีปัญหาตรงนั้นตรงนี้กันหมด พวกนักเขียนที่พอจะมีทางไป เขาเลยออกมาทำเอง ทีนี้เลยกลายเป็นว่าสนพ.ไม่ได้งานเขียนไทยที่ขายได้ ส่วนนักเขียนใหม่มึงต้องแข่งกับตลาดแปลถ้าอยากออกงานกับสนพ. แต่นักเขียนใหม่ยุคนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นคล้ายๆ กับที่กูบอกไปข้างบน เทียบกับงานแปลที่เอามาขายได้และปัญหาน้อย สนพ.ก็เลยเลือกงานแปลมามากกว่า เพราะมันขายได้ สิ่งสำคัญสุดคือมันขายได้นั่นแหละจ้า อยากให้สนพ.ปั้นนักเขียนหน้าใหม่แต่งานขายไม่ได้แถมบางคนฉอดองค์กรอีก สนพ.มันจะไหวเหรอ กุย้ำอีกทีว่าตัวเองไม่ใช่คนใน แต่เป็นคนอ่านที่ผ่านมาหลายรุ่น มึงอย่าไปคิดว่าเขาจะใจบุญสุนทานทำเพื่อวงการยอมกัดก้อนเกลือดันนักเขียนหน้าใหม่ที่ยอดเสี่ยงขายไม่ออกขนาดนั้น ขายไม่ออกเล่มนึงขาดทุนเป็นแสนๆ แบกไหวเหรอ แล้วสมัยนี้ถ้างานไม่ดัง สายส่งไม่รับเลย ปัดตกเลยนะ ทุกวันนี้คนอ่านหนังสือน้อยลงมาก ไม่เหมือนยุคก่อน สมัยก่อนแฟนตาซีขายไม่ได้ยอดพิมพ์ยังสามสี่พัน สมัยนี้ไม่ได้คือไม่ได้เลย งานมันเลยถูกบีบให้แคบลง มีแนวที่ขายได้ไม่กี่แนว คนอ่านไม่กล้าเสี่ยงกับแนวใหม่ๆ สนพ.ก็เลยไม่กล้าเสี่ยงกับนักเขียนหน้าใหม่ด้วย ถ้าคนอ่านหนังสือเยอะเหมือนสมัยก่อน อย่างขายไม่ได้ยังได้ยอดสักสองสามพัน สายส่งไม่ถีบหัวส่ง กุว่าสนพ.เขาก็อาจอยากลองเสี่ยงผลิตงานที่หลากหลายนะ