Fanboi Channel

ตำหนักหอสมุดจีน [ตำหนักที่ 93]

Last posted

Total of 943 posts

634 Nameless Fanboi Posted ID6:MXVWB1Zby5

>>633 ด้วยความสัตย์จริงแบบไม่ชวนทะเลาะ กูคิดว่าคำมันมีก็ใช้ไปเถอะ แต่ควรใช้อย่างระวังเพราะ

1. เสมอตรงไหนของหูล่ะ? เสมอด้านบนหู กลางหู หรือติ่งหู? อะไรยังไง? คำว่าผมสั้นเสมอหูมันให้ภาพไม่ชัดเจนหรือเปล่า

2. ที่จริงสมัยก่อนก็ไม่ได้ใช้คำว่าสั้นเสมอหู ที่อ้างว่ารร.รัฐใช้คำนี้ ความจริงก็ไม่ใช่ เขาใช้ว่า "เสมอติ่งหู" กันมาตลอด ถึงได้มีศัพท์ว่า "ติ่ง" ไงมึง ต้นตอมันมาจากผู้ใหญ่ยุคนึงก็ดูถูกดูแคลนเด็กผู้หญิงที่ตามหวีดดาราว่าเป็นเด็กไร้สาระ เลยเรียกอย่างเหยียดหยามว่า "ติ่ง" หมายถึงเด็กที่ยังต้องตัดผมเท่าติ่งหู คู่กับคำว่า "เกรียน" ของเด็กนักเรียนชายที่ตัดผมสั้นเกรียน

3. ความจริงก็คือ ธรรมเนียมของวัฒนธรรมภาคหนึ่งใช้คำว่าหูแทน xี ในแง่แอบเนียนลามกมานานแล้ว อันนี้ไม่ได้จะวิจารณ์วัฒนธรรมว่าไม่ดีนะ เพราะมันก็พัฒนาขึ้นมาจากวิถีชาวบ้านที่ร้องเล่นเฮฮากันยามว่าง เป็นแบบเรียนสอนเพศศึกษากันแบบเนียนๆ แต่ในเมื่อมันเป็นคำที่สื่อได้สองแง่ เวลาจะใช้ก็ควรต้องรัดกุมหน่อยหรือเปล่า ถ้าจะเขียนทำนองว่า "เธอมักตัดผมสั้นเสมอหู... เหมือนๆกับกระโปรงที่ใส่" มันก็ได้หรอก แต่ถ้าเป็นคำบรรยายแบบจริงจัง บางทีมันสะดุด

กูไม่รู้หรอกนะว่าไอ้งานที่อวยๆกันว่าแปลดีๆนั่นโดยรวมมันเป็นยังไง แต่ถ้ายกมาสองประโยคนี้ กูคิดว่านักแปลเลือกใช้คำได้ไม่ดี และน่าสงสัยว่าที่อวยๆกันจะเชื่อได้ไหม
ขนาดแยกมาสองประโยค วิจารณ์ให้เห็นชัดๆว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนแล้ว แต่ยังมีคนยืนกรานว่า "ก็ปกติ" "ก็เหมือนกัน" "ไวป์เดียวกัน" อันนี้ส่วนตัวกูคิดว่าคำอวยคงเชื่อไม่ได้

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.