>>425 ก็เรื่องของมึงน่ะ แต่กูเห็นนักเขียนหลายคน เขียนมาสิบกว่าปี บางคนก็ยี่สิบกว่าปี สามสิบปีก็มี ตลอดหลายสิบปีนี้เคยบ่นขิงบ่นข่าว่าเขียนมานานแต่ไม่ดังเท่าที่เขาคาดหวังแค่คนละครั้งสองครั้งเท่านั้นที่กูรู้ บางคนไม่บ่นอะไร และไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย นักบัญชียังบ่นถี่กว่าและบ่นทุกคน แต่มีคนบอกว่า "ขี้บ่นหมด บ่นมากกว่าอาชีพอื่นๆ" กูคิดว่ามันไม่ได้เป็นอย่างที่เขาพูด กูก็แย้ง แค่นั้น มันไม่จำเป็นต้องมีใครเดือดร้อนก่อนถึงจะแสดงความเห็นได้ปะ
>>426 แค่มีคำว่าส่วนมากก็ไม่เหมารวมแล้วงี้เหรอ แล้วคำว่า "หมด" กับคำว่า "บ่นมากกว่าอาชีพอื่นๆ" น้ำเสียงพวกนี้ไม่ต้องเอามาพิจารณาประกอบ? พิจารณาแค่คำว่า "ส่วนมาก" ก็พอ? เอาจริงดิ? ตีความงี้จริงๆเหรอ?
ความจริงแค่มีคำว่า "ส่วนมาก" มันก็คือการเหมารวมแล้วนะ
เรามาดูนิยามคำว่า "เหมารวม" หรือ Stereotype กันก่อน มันไม่ได้แปลว่าต้องมองว่า "ทุกคน" เป็นแบบนั้นนะมึง เหมารวมคือใช้ทัศนคติเดียวกันต่อคนกลุ่มหนึ่ง เป็นการตีตราแบบกลุ่ม เหมือนเราบอกว่า "พวกคนจีนมันเสียงดัง" เราก็ต้องรู้อยู่แล้วแหละว่าไม่ใช่คนจีนทุกคนจะเสียงดัง แต่เราใช้ทัศนคตินี้มองคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือคนจีน โดยไม่ได้แยกเป็นปัจเจกว่า "หวังฉู่ฉี่เป็นคนเสียงดัง"
กรณีนี้ก็เหมือนกัน "นักเขียนมันชอบท้อพร่ำเพรื่อ" เขาคงไม่ได้หมายความว่านักเขียนทุกคนท้อพร่ำเพรื่อหรอก แต่เขามองกว่าการ "ท้อพร่ำเพรื่อ" เป็นคุณสมบัติที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มีร่วมกัน ซึ่งมันอคติ ไม่ควรมองแบบนั้น