พูดถึง อมร มันเป็นยักษ์ใหญ่ครบวงจร น่าจะเจ้าเดียวที่ค่อนข้างมีบทบาทในตลาดปะ
ทั้งมีโรงพิมพ์ เป็นสนพ. และสายส่ง ซีเอ็ดก็เงียบ คิโนกับเอเชียบุ๊คก็นำเข้าหนังสือขายเฉยๆ (ไม่นับว่ามีธุรกิจช่องทีวีอีก)
กูเลยว่านอกจากจะเป็นนายทุนแล้ว เทียบสเกลกับสนพ. อื่นก็ค่อนข้างมีความมวยคนละรุ่นนิดนึง
แต่โอเค สนพ. ใหญ่ๆ รองลงมา เดี๋ยวนี้ก็น่าจะมีโรงพิมพ์ของตัวเองแล้วมั้ง แจ่ม ซบ. บกร เงี้ย
อมร. ก็ได้เปรียบหลายทางนะ สายป่านยาว จะไปซอยมากี่เรื่องก็ได้ ล่าสุดก็มีให้เปิดเสนอลิขสิทธิ์นี้
ก็น่าศึกษาเพิ่มนะ กูเชื่อว่ามีคนทำลิสต์แล้วด้วยซ้ำว่าหนังสือดังๆ ติดท๊อปแค่ในจินเจียงเนี่ยมีค่ายไหนได้ไปกี่เรื่องบ้าง
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไร
อมร. เองก็จัดพิมพ์ จัดส่ง กระจายของได้เองง่ายด้วย
อย่างซบ. ยังพยายามแก้เกมด้วยการเปิดให้ไปรับของที่สนพ. + จัดส่งไปรฯ
แต่อมร. สามารถกระจายออกทั่วกรุงและต่างจังหวัดให้ซื้อตามร้านของตัวเองได้เลย (ล่าช้าก็วันสองวัน)
อันนี้ก็ธุรกิจ กูอาจจะไม่ค่อยชอบใจ แต่ทำอะไรไม่ได้
ที่เกลียดมากกว่าคือรู้สึกนิยายวายแม่งไม่ค่อยมีมาตรฐาน มีความขาดๆ เกินๆ ไม่เรียบร้อย
เน้นขายอย่างเดียว แบบรีบๆ คุณภาพยังไม่ผ่าน ทั้งเรื่องการแปล บก.
หรืออย่างฮัสกี้ ดูมีหลายเคสที่หนังสือตก QC ด้วยซ้ำ แบบ ปั๋มฟอยล์ลอก ตกจากตัวนูนไปเป็นวาเงี้ย
ที่น่าสนใจและอาจจะเห็นชัดกว่าวายตอนนี้ คือการกระโดดเข้าตลาดใหม่ของฝั่งเกาหลี
ที่เปิดตัวหัวใหม่ พคล. สำหรับแปลเกาหลี ญี่ปุ่นกับไต้หวัน ซึ่งมีการออกตัวมาว่าเป็นสนพ. เล็กๆ กูขำ
แต่อมร. ซอยดกจาไปแล้ว ก็น่าจะเอามาออกกับหัว. นี้มะ
แถมเล่มที่ออกแล้วๆ มาก็มีความคล้ายบิบลิที่กรุยตลาดฝั่งนี้มาก่อน (ทั้งโทนการออกแบบปก ขนาดไซส์หนังสือ)
แต่ทั้งนี้ บิบลิก็คือนายทุนเจ้าใหญ่อีกคนที่กระโดดมาเล่นวงการหนังสือนะ 5555
อีกจุดที่ไม่ชอบคือการจัดโปรลดราคา 15-20 เปอทุกเดือนในเว็บด้วย
อันนี้คนในวงการเคยพูดๆ กันว่า ทางอมร./นอ. จัดโปรเองนะ
แต่มาหักคอให้สนพ. ต้องเป็นคนแบกรับ cost ตรงนี้ นอกเหนือจากหักค่าสายส่ง แถมส่งเงินสนพ. ช้าอีก
อันนี้ก็แล้วแต่คน แต่กูเลยพยายามไปซื้อตรงจากสนพ. หรือร้านนอกมากกว่า
เก็บโปรพวกนี้ไว้ซื้อแค่กับหนังสือในเครือนี้อย่างเดียว