ตอนแรกเห็นสนพ.หยุดขาย+นักแปลปิดเพจก็ว่าจะเลิกแล้วต่อกัน แต่เห็นคนอวยสนพ.แล้วใช้เป็นเครื่องมือด่าบกร.รัวๆแล้วกูหน่ายใจ ด้วยเหตุนี้จึงอยากมายกตัวอย่างเพิ่มเติมว่ามันผิดยุบยิบยังไงบ้าง เสียดายกูพิมพ์ประโยคเก็บไว้เมื่อวานกะว่าจะเทียบ แต่ยังพิมพ์ไม่ครบสนพ.ก็ปิดตัวอย่างไปก่อน
解体= แยกชิ้นส่วน แปลผิดเป็น ถอนขน
半年ぶり=ในรอบครึ่งปี แปลผิดเป็น ทุกๆครึ่งปี
もちろん心から、村の安寧を祈って แปลออกมาเป็น สวดอวยพรให้หมู่บ้านสงบสุขร่มเย็น (ไม่ได้ผิด แต่ตก 心から=จากใจ)
大麦粉= แป้งข้าวบาร์เลย์ แปลผิดเป็น แป้งสาลี
わずかばかりの草が生える=มีหญ้าขึ้นอยู่น้อยนิด แปลผิดเป็น ต้นหญ้าเพิ่งงอกขึ้นมาใหม่ได้ไม่นาน (ประโยคนี้ผิดแล้วทำให้ใจความขัดกับประโยคหลัง เพราะประโยคหลังบอกว่า มองเห็นเพียงสีน้ำตาลของหินและทรายกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าหญ้าเพิ่งขึ้นมาใหม่ ทำไมมองเห็นแต่สีน้ำตาล แล้วหญ้าไปไหน? และต้นเรื่องก็บอกอยู่ว่ากำลังจะเข้าฤดูหนาว ทำไมหญ้าเพิ่งขึ้น?)
物を奪うためなら人殺しも躊躇わず เขาแปลออกมาว่า "หากคิดจะปล้นชิงก็อย่าลังเลที่จะฆ่าทิ้ง" 物を奪うためなら มันคือ 物を奪う (ปล้นสิ่งของ) + ため (เพื่อ) + なら (ถ้า) = ถ้าเพื่อปล้นชิงแล้วก็ไม่ลังเลที่จะฆ่าคน เรื่องราวนี้เล่าจากมุมนายเอก ประโยคนี้ไม่ได้เล่าจากมุมโจร จึงไม่ใช่การสอนคติโจร แต่เป็นนายเอกพูดถึงการกระทำของพวกโจร
とにかく荒っぽく派手で、 その派手さが余計におそろしく見えるのだという。
เขาแปลว่า แต่เอาเป็นว่า การคลั่งไคล้ความหรูหรานี้ ส่งผลให้ถูกมองว่าเป็นความหรูหราที่ประหลาดพิลึกพิลั่น
ประโยคนี้กล่าวสรุปการแต่งกายของพวกโจรที่ชอบแต่งตัวด้วยผ้าสีสด โพกผ้า สวมเครื่องประดับ ศัพท์ญี่ปุ่นในประโยคนี้คือ 荒っぽい=ดิบเถื่อน รุนแรง 派手 ฉูดฉาด おそろしい=น่ากลัว สรุปคือไม่ได้เกี่ยวกับความคลั่งไคล้ความหรูหรา ไม่ได้ดูพิลึก แต่ คือดูฉูดฉาดดิบเถื่อนจนน่ากลัว
村はひどい有様だった。แปลเป็น สภาพของหมู่บ้านเละเทะจนแทบจะไม่เหลือซาก
ไม่เชิงแปลผิด ออกแนวแปลโอเวอร์จากต้นฉบับมากกว่า ต้นฉบับใช้คำว่า ひどい (แย่, เลวร้าย) กับ 有様 (สภาพ) แปลตรงๆ จะแปลว่า หมู่บ้านสภาพเลวร้ายทีเดียว อะไรแบบนี้มากกว่า
水瓶の中身もぶちまけられている เขาแปลเป็น เหยือกใส่น้ำจืดเองก็ถูกสูบออกไปจนหมด
ぶちまける พจนานุกรมอธิบายความหมายว่า คว่ำภาชนะจนของข้างในกระจายออกมาอย่างแรง ไม่ใช่สูบน้ำ
倒れている人の姿を見つけてぎょっとして駆け寄ると เขาแปลเป็น พอเห็นว่ามีคนล้มอยู่ เขาจึงรีบวิ่งไปดูทันที
ตรง ぎょっとして (สะดุ้ง, ตกใจ) หายไป
それなりに食料も貴重品もあるのだ แปลเป็น อย่างไรเสียก็มีทั้งเสบียงอาหารและข้าวของมีค่า
ใจความถูกแล้ว แต่ それなり (ตามสมควร/พอสมควร) ที่ใช้บอกปริมาณหายไป
イーシェは立ち上がり แปลเป็น อีเชย์ผลุนผลันผุดลุกยืนพรวดพราด
立ち上がり แปลว่ายืนขึ้น ต้นฉบับไม่มีคำที่แสดงอาการผลุนผลันหรือพรวดพราด
でも、どんな幸せな来世が待っているとしたって、今、両親を失ってしまったこの辛さを補うほどのものなのだろうか?
แปลออกมาเป็น ต่อให้จะเฝ้ารอความสุขในภายภาคหน้า แต่ถ้าตอนนี้ต้องสูญเสียพ่อแม่ไป เขาก็ทุกข์ใจอยู่ดีไม่ใช่หรือ?
ประโยคแรกใช้ไวยากรณ์พื้นฐานแบบแรกๆ ที่คนเรียนภาษาญี่ปุ่นจะได้เรียนกัน ซึ่งก็คือ ประธาน + คำช่วย が + คำกริยา/ภาคแสดง คำที่อยู่หน้าคำช่วย が คือประธานของประโยค พอมาดูประโยคนี้จะพบว่าคำที่อยู่หน้า が คือคำว่า 来世 (ชาติหน้า, ภพหน้า) ดังนั้นความหมายของประโยคนี้จึงไม่ใช่นายเอกเฝ้ารอความสุขในภายภาคหน้า แต่เป็นชาติหน้าที่มีความสุขรออยู่ ส่วนประโยคหลังใจความเพี้ยนไปจากต้นฉบับนิดหน่อย ตรง 補うほどのもの หายไป ตรงนี้นายเอกหมายความว่า ต่อให้มีชาติหน้าที่มีความสุขรออยู่ แต่มันจะชดเชยความทุกข์ที่เสียพ่อแม่ไปตอนนี้ได้ด้วยหรือ? ใจความหลักๆ ของประโยคนี้มันคือชาติหน้าจะดียังไงมันก็เอามาชดเชย/ทดแทนชาตินี้ไม่ได้ แต่ฉบับแปลขาด nuance ตรงนี้ไป
黒と、深みのある赤の布張り แปลเป็น ~สีแดงเข้มเกือบดำ
と เป็นคำช่วยแปลว่า และ ในที่นี้จึงหมายถึงผ้ามีสองสี สีดำกับสีแดงเข้ม ไม่ใช่สีแดงเข้มจนเกือบดำ
額から上には赤を基調にした幅広の布を巻き แปลเป็น บนหน้าผากโพกผ้าโพกแถบหนาตามแบบนิยม
基調 แปลว่าพื้นฐาน เวลาใช้กับสีจะหมายถึงใช้สีนั้นๆ เป็นพื้น 赤を基調 にした แปลว่าใช้สีแดงเป็นพื้น ประโยคนี้ไม่มีคำที่แปลว่าตามแบบนิยม คาดว่าน่าจะเข้าใจความหมายของ 基調 ผิด ที่จริงประโยคนี้แปลว่า “เหนือหน้าผากโพกผ้าแถบกว้างสีพื้นแดง” “เหนือหน้าผากโพกผ้าแถบกว้างที่ใช้สีแดงเป็นพื้น”
これを渡れるのか?荷物はどうする? แปลเป็น จะข้ามนี่ไปน่ะรึ? แล้วสัมภาระจะทำอย่างไร?
ที่ถูกคือ ข้ามอันนี้ได้เหรอ สัมภาระจะทำอย่างไร 渡れる เป็นรูปสามารถ (可能形) เขาแปลรูปสามารถผิดอยู่หลายจุด นอกจากจุดนี้มีอีกเพียบ