1. รุ้งคือ black company
มุมมองที่คนเห็นตรงกันตอนนี้ค่อนข้างไปทาง เซเลนคือ เหยื่อที่ถูกไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ใครก็ตามที่อยากซัพพอร์ตไลฟ์เวอร์ที่เหลือมักจะผลักไปอยู่ฝั่ง 1. คนที่บูลลี่เซเลน 2. คนที่ซัพพอร์ตบริษัทเหี้ย (ซึ่งคนที่ผลักนั้นแยกตัวไลฟ์เวอร์กับตัวบอออกจากกันไม่ออก) ซึ่งนำไปสู่ 3. ทำร้ายไลฟ์เวอร์เอง และมองว่าพวกเขาคือเหยื่อที่ติดอยู่ใน toxic relationship กับทางบอ
เหตุผลที่นำมาใช้ในการโต้เถียงที่เกิดขึ้นนั้นได้มองข้ามว่า ทุกคน (ที่เป็นผู้ใหญ่ที่บรรลุวุฒิภาวะ) ได้เซ็นสัญญากับบริษัทแล้ว ต้องทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น การตรวจ copyright, การยื่นเรื่องขอโฮสต์กิจกรรมต่างๆ, การลงโคฟเวอร์กับเพลง original, รวมไปถึงการเล่นเกมใหม่ๆ
ซึ่งแน่นอนว่า การเป็นไลฟ์เวอร์เซ็นสัญญากับบอมีข้อจำกัดมากกว่าการเป็นไลฟ์เวอร์อิสระ เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท vtuber ญี่ปุ่น = เป็นหน้าเป็นตาของบริษัท การกระทำทุกอย่างจึงสะท้อนให้เห็นถึงตัวบริษัทและส่งผลกระทบต่อตัวไลฟ์เวอร์คนอื่นๆ อีกด้วย คำวิพากษ์วิจารณ์มากมายที่คนมีต่อระบบการทำงานของรุ้ง ก็มีในบริษัทญี่ปุ่นอื่นๆเช่นเดียวกัน เช่น ค่า project ถ้าทำเอง ต้องจ่ายเอง ส่วนทางบอจะจ่ายให้ในเรื่องบอตั้งใจจะทำ, ทาง Hololive ไม่ออกค่าเดินทางให้ในการไป HoloFes หรือจ่ายค่าอุปกรณ์ 3D ให้
โดยเฉพาะในญี่ปุ่น บริษัทขนาดใหญ่อย่าง Holo & niji ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในเรื่อง copyright อย่าง Hololive เองก็เคยเจอปัญหาติดลิขสิทธิ์ที่ส่งผลให้ต้อง private หลายๆ คลิปบนช่อง จนต้องส่งหนังสือไปขอโทษที่ไม่ทำตามกฎ กรณีนี้แสดงให้เห็นว่า ในญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับลิขสิทธิ์ขนาดไหน ดังนั้นการเพลย์เซฟไว้ก่อนจะดีกว่า เพราะความผิดพลาดจากคนๆ เดียวสามารถสร้างปัญหาให้ทั้งบริษัทได้เลย