เรื่องเพลงนี่...ไม่รู้สิ ขึ้นอยู่กับว่าบ้านนี้นิยามวีในบริบทไหนด้วย ถ้าตีว่าวีคือไอดอล ก็ต้องให้ความสำคัญกับผลงานเพลง ถ้ามองว่าวีคือสตรีมเมอร์ ก็ต้องให้ความสำคัญกับคอนเท้นต์ ปัญหาก็คือนิยามของวีมันกว้างมาก คือมึงจะเป็นอะไรก็ได้ภาพใต้ภาพเสมือน คอนเท้นต์เลยออกมาหลากหลายมาก ตั้งแต่ร้องเพลง วาดรูป เล่นเกม เขียนโค็ดโชว์ยังมี ที่มองว่าเป็นปัญหาเพราะบริษัทหรือแม้แต่ตัววีเองก็อยากขายให้ได้หลายๆกลุ่ม โดยมองแค่ว่าผู้ติดตามเยอะคือดี ซึ่งมันดีจริง แต่มันกลายเป็นการพยายามจับปลาหลายมือจนทำให้ไปไม่สุดสักทาง รู้ตัวอีกทีปลาก็หลุดไปหมดแล้ว
ตัวอย่างมีให้ดูชัดๆคือยูทูบเบอร์บ้านเรา ขอยกนายอาร์มแล้วกัน เขาเป็น Geek ทำคอนเท้นต์เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องร้องเพลง คอนเท้นต์ก็ไม่ได้หวือหวา แค่นั่งพูดคุยเล่าเรื่อง ก็มีผู้ติดตามมากมาย ในขณะที่คนบ้านเราชอบคอนเท้นต์แนว Vlog กับอาหาร เขาก็ไม่เห็นจะต้องลงไปในสนามแข่งเดียวกันที่ไม่เขาไม่ถนัด เขาแค่ทำสิ่งที่เขาชอบสิ่งที่เขาถนัดให้ออกมาดีแค่นั้นเอง ไม่ต้องจับลูกค้าทุกกลุ่ม จับเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องแนวเดียวกันเพื่อดูว่าเขาสนใจในคอนเท้นต์แนวไหนอีกบ้าง สังเกตว่าเดียวนี้เขาเริ่มทำคอนเท้นต์อื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับด้านเทคโนแล้วเช่น รายการเหาฉลาม แต่ยังคงคอนเซปการพูดคุยแล้วมีส่วนร่วมไปด้วยกันกับคนดูเหมือนเดิม เพราะนั่นคือจุดเด่นของเขาที่อาจจะไม่ได้แปลกหรือแตกต่างจากคนอื่น แต่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลายคนนึกถึงออกได้ว่าเป็นใคร
ข้อแนะนำคือไปตีกรอบนิยามตัวเองให้แคบลง หาจุดเด่นในตัวที่ชัดที่สุดออกมา แล้วนำเสนอให้ดี ไม่จำเป็นต้องเก็บลูกค้าทุกกลุ่ม ถ้าคิดว่าตัวเองร้องเพลงไม่เพราะ แต่งเพลงไม่เก่ง ไม่ต้องฝืนทำ บ้านเราก็มีเอกลักษณ์ของเรา ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบค่ายอื่นในสนามที่ไม่ถนัด
รู้ว่าคุยกันเรื่องการตลาดแบบ mass market อยุ่ ซึ่งกุไม่ค่อยเห็นด้วยจากที่บ่นไปตอนต้น กุยังยืนยันในแนวคิดที่ว่า ทำให้มันดีสักทาง แล้วถ้ามันดีมันจะแมสเอง การไลฟ์ถี่เอย การลงหลายๆช่องทางเอย มันช่วยแค่เรื่องการมองเห็นนะ เพราะถ้านำเสนอไม่ดี ต่อให้ไลฟ์ทุกวันทุกช่องทางก็ไม่มีใครอยากดู หนำซ้ำยังเพิ่มต้นทุน เพิ่มความเหนื่อยอีก