>>427 >>431 >>432
1) ตุลาคม 2018 ฮอลแลนด์ ประกาศอนุญาตให้พาสปอร์ตไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง โดยถ้าเจ้าของพาสปอร์ตมองว่าตัวเองไม่ใช่ทั้งสองเพศนี้ สามารถระบุได้ว่า เป็นเพศ X
2) ซึ่งไม่ใช่แค่ฮอลแลนด์เท่านั้น แต่นอกทวีปยุโรป พาสปอร์ตหลายๆชาติเช่น อาร์เจนติน่า, ออสเตรเลีย, แคนาดา, เดนมาร์ก, เนปาล, นิวซีแลนด์ ชาติเหล่านี้ ไม่บังคับให้เจ้าของพาสปอร์ตระบุเพศว่าเป็นชาย หรือหญิง แต่สามารถเลือก เพศ X ได้ ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางว่า เพศไม่ได้มีแค่ชายและหญิงเท่านั้น
3) คำว่า LGBT หรือกลุ่มความหลากหลายทางเพศนั้น L ย่อจาก เลสเบี้ยน (หญิงรักหญิง), G ย่อจาก เกย์ (ชายรักชาย) , B ย่อจาก ไบเซ็กช่วล หรือรักได้ทั้งสองเพศ และ T ย่อจาก ทรานส์เจนเดอร์ (ชื่อย่อคือทรานส์) แปลว่าคนข้ามเพศ เช่นชายที่ต้องการเป็นหญิง หรือหญิงที่ต้องการเป็นชาย
4) ที่อังกฤษ กลุ่มทรานส์ และน็อนไบนารี่ (คนที่ไม่ระบุว่าตัวเองเป็นชายหรือหญิง) มีความพยายามผลักดันให้ประเทศ มีทางเลือกเพศ x เช่นเดียวกัน ในเอกสารทางการ อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักร ได้เบรกเรื่องนี้ไว้ และยืนยันตามเดิมว่าในพาสปอร์ตของ UK จะต้องระบุเพศ ตามเพศแรกเกิดของตัวเองเท่านั้น คือมีแค่ชาย กับหญิง
5) ธันวาคม 2019 มายา ฟอร์สเตเตอร์ นักวิจัยวัย 45 ปี ทวีตข้อความว่า เธอไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกลุ่มทรานส์ และกลุ่มน็อนไบนารี่ เพราะมองว่า เพศต้องถูกแบ่งแยกตามสรีระร่างกาย ไม่ใช่ความรู้สึก ตัวอย่างเช่น กะเทยที่อยากเป็นผู้หญิง ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองเป็นผู้หญิง เพราะสรีระของตัวเองคือผู้ชาย
6) เมื่อมายา ฟอร์สเตเตอร์ ทวีตไปแบบนั้น เธอถูกโจมตี ว่ามีทัศนคติเหยียดเพศ ไม่พยายามยอมรับการมีอยู่ของคนเพศอื่นๆ และจงใจกีดกันกลุ่มเพศที่สาม ไม่ให้เข้าไปมีบทบาทในสังคม ซึ่งการโดนโจมตีอย่างหนัก ทำให้สุดท้าย เธอไม่ได้รับการต่อสัญญาจากองค์กรของตัวเอง ซึ่งก็เชื่อว่าเป็นการโดนไล่ออกทางอ้อมนั่นเอง
7) คนที่คิดว่ามายาสมควรโดนลงโทษทางสังคมก็มีไม่น้อย แต่ก็มีคนจำนวนมากเข้าใจเธอเช่นกัน มีการตั้งแฮชแท็กชื่อ #IStandWithMaya ขึ้นมา เพื่อประท้วงว่าทำไมมายา จึงไม่มีสิทธิ์จะพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด และหนึ่งในคนดังที่เข้ามาสนับสนุนแนวคิดของมายา ก็คือ เจ เค โรว์ลิ่ง นักเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ นั่นเอง โดย โรว์ลิ่ง ทวีตข้อความว่า