วิเคราะห์แบบมีความรู้เรื่องนี้งูๆปลาๆ จากการที่หัวหน้าเคยใช้ให้ทำสรุปในห้องประชุม เรียกกูว่า โม่งมั่ว ก็ได้ จะได้ไม่อินมาก ใช้พื้นฐานจากของไทยนะ เพราะกูไม่รู้กฏหมายญี่ปุ่น
- ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเกิดความเสียหาย และสาเหตุเกิดจากเคสนี้จริง ๆ
ง่าย ๆ คือ ข้อมูลหลุดไป แต่ไม่มีความเสียหายก็ทำอะไรไม่ได้
- แล้วการที่ข้อมูลหลุดในโซเชี่ยล จนเกิดความเสียหาย
ฟ้องคนเผยแพร่ ง่ายกว่าฟ้องคนทำหลุดโดยไม่เจตนา
- ถ้าสาเหตุเกิดจาก error human ก็ง่ายในการสืบหาตัวคนทำหลุด
- ถ้าเป็นการทำงานผิดพลาด มีคนเข้ามาดูข้อมูลได้ บริษัทต้องรับผิดชอบความเสียหาย(ถ้ามี)
- แต่ถ้ามีคนจงใจปล่อยลิ้งค์ บริษัทไม่ผิด
- กรณีเอาข้อมูลไปสตลอกเกอร์ โทรป่วน หรืออะไรก็ตามแต่ กฏหมายมันเอาผิดคนที่กระทำมากกว่า
- ต้องชนะคดีแรก แล้วไปฟ้องคนทำข้อมูลหลุดต่ออีกที
- กรณีเข้าไปดูตามช่องโหว่ แล้วไม่ทำอะไรกับข้อมูลส่วนตัว
หรือจะเซฟเก็บไว้เฉยๆ ก็ไม่มีความผิดอะไร เพราะไม่ได้แฮค
- มีรูปโป๊คนจริง (อายุเท่าคุโรมุ) ยังอันตรายกว่า
คนที่มันโง่เอาไว้ในกูเกิลไดร์ฟโดนมาหลายรายแล้ว กูเกิลแม่งส่งชื่อให้ตำรวจไทยเลย
หรือวันดีคืนดี ตำรวจมาขอตรวจคอมมึงตามหมายศาล ก็สามารถจับมึงเข้าคุกได้เลย (ในไทยอะนะ)
คราวนี้เรามาดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น สำหรับวีทูปเบอร์คืออะไร
เอนเกจลด ยอดลด รายได้ลด ?
ปกติรู้เบื้องหลังวี หน้าวีหลุด ถ้าชอบก็ตามต่อกันอยู่ดี ก็ไม่น่ามีผลอะไรขนาดนั้น
แล้วการที่ยอดลด มันก็พิสูจน์ยากอีก ว่าเกิดจากการที่ข้อมูลหลุด เก็ทมะ ?
ทนายเก่งๆ บอกสบายเลยเรื่องแถ
สรุป คือ ถ้าเคสนี้ไม่มีคนเอาข้อมูลไปทำอะไร มันก็ไม่มีอะไร
แต่ถ้าเกิดมีเรื่องขึ้นมา
ขั้นแรกไอคนที่เอาข้อมูลไปใช้เรื่องแปลกๆอะ จะต้องโดนก่อน (แค่ไอตรงนี้อะมีใครกล้าทำไหม)
แล้วถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น ถึงจะเอาคดีแรกมาฟ้องต่อ บีบให้บริษัทรับผิดชอบ
แล้วก็มาพิสูจน์กันต่อว่า ความเสียหายนั้นเกิดจากข้อมูลตรงนี้รั่วจริง หรือมาจากเรื่องอื่น
แล้วข้อมูลที่ว่า หลุดโดยตรงจากบริษัท หรือมีคนเอาไปปล่อยต่อ
ถ้าแค่ข้อมูลหลุดแล้วบริษัทจะล้มนะ
บริษัทอินเตอร์เน็ทในไทยเนี่ย ไปก่อนเพื่อนเลย ฟ้องกันได้ทั้งประเทศ