ในอภิปรัชญาจีน เช่น ฉีเหมิน หรือ อิ้จิง
บุคคลประเภทที่ 3 ที่ไม่ควรช่วยเหลือก็คือ "คนขี้อิจฉาริษยา"
การที่ใครสักคนจะ อิจฉา-ริษยา ได้มันจะต้อง
1. คอยเปรียบเทียบกับผู้อื่น
2. ไม่พอใจในสภาพที่ตนเองเป็นอยู่
3. เกิดอารมณ์ลบ (กับผู้อื่น)
4. มีเป้าหมายเพื่อเอาชนะ
ข้อแรกก็คือ พวกนี้วัน ๆ ก็เอาแต่เปรียเทียบกับผู้อื่นเสมอ
ดังนั้นคุณช่วยอะไรไป เขาก็จะเอาสิ่งที่คุณช่วยไปเปรียบเทียบกับการที่คุณช่วยคนอื่น
เช่นสมมุติว่า ผมเป็นอาจารย์ ถ้าผมช่วยคนขี้อิจฉา คนขี้อิจฉาก็จะไม่ได้ไปสนใจสิ่งที่ผมช่วย แต่จะไปสนใจว่า ผมช่วยเขากับผมช่วยคนอื่นต่างกันยังไง
ทำไมทีช่วยเขา ช่วยแค่นี้, ทีช่วยคนอื่น ช่วยตั้งเยอะ
คือ ไม่ว่าคุณจะช่วยเขามากแค่ไหน เขาก็จะมองว่า คุณช่วยเขาน้อยกว่า...(อีกคน)... เสมอ ในใจของเขา
เพราะว่าเขาคอยเปรียบเทียบตลอดเวลา
--------------------------------------------------
หรือไม่นั้นก็เปรียบเทียบการช่วยเหลือของคุณ กับ การช่วยเหลือของคนอื่น เช่น คุณช่วยเขาแค่นี้เอง ดูซินาย ก. ช่วยคนอื่นเขายังช่วยมากกว่าเยอะ
ดูซิคนนั้นช่วยให้ A ได้เป็นผู้จัดการ, ทำไมคุณช่วยเขาได้แค่เป็นหัวหน้าแผนก
ซึ่งสุดท้ายคุณก็เดาออกว่า...เขาก็จะไม่เห็นค่าสิ่งที่คุณช่วย มองว่ามันเล็กน้อยหรือห่วยแตก แล้วก็อยากไปหาคนอื่นที่ช่วยเขาได้มากกว่า ทิ้งคุณไป
--------------------------------------------------
ข้อ 2
เขามักไม่พอใจกับสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของตนเอง
คือ ทำให้ไม่ว่าคุณจะไปช่วยให้เขาดีขึ้นยังไง ตัวเขาเองก็ไม่เคยพอ ไม่ได้คิดว่ามันมีค่ามากนัก
ต่อให้คุณช่วยให้เขามีรายรับมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เช่น คุณทำให้ได้รายรับเพิ่มจาก 20,000 บาทต่อเดือน เป็น 40,000 ต่อเดือน เขาก็ไม่พอใจในสภาพปัจจุบัน
เพราะว่า ต่อให้เขาได้เพิ่มมา 2 เท่าแล้ว เขาก็ไปมองหาคนที่ได้มากกว่าแล้วไปเปรียบเทียบอีกอยู่ดี
ดังนั้นสิ่งที่คุณช่วยเหลือไป มันก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจของเขา เพราะเขาสนใจว่า เขายังได้น้อยกว่า...(อีกคน)... อยู่ดี
แล้วต่อให้คุณช่วยให้เขาดีกว่าเดิม 10 เท่า เช่น จากเงินเดือน 20,000 ไป 200,000 บาท
แล้วคุณอาจจะคิดว่านี่ก็ช่วยคนนี้เยอะมากแล้ว เขาอยู่สบายแล้ว ไม่ต้องไปสนใจหรือช่วยแล้ว
พอคุณไปช่วยคนอื่นบ้าง เขาก็จะเปรียเทียบทันที ไปอิจฉา ริษยาคนใหม่ที่เราช่วยทันที ต่อให้คนใหม่เขาจะพึ่งเงินเดือนเพิ่มมา 2 เท่าแค่นั้นเป็น 40,000 บาท
แม้ว่าเขาตอนนี้ได้ 200,000 บาทแล้ว แต่เขาก็ไม่พอใจคนใหม่ที่เราไปช่วยอยู่วันยังค่ำเป็นต้น
ในเหตุการณ์จริง ต่อให้คุณช่วยให้มีชีวิตเขาสบาย เขาก็ยังไม่พอใจ เพราะมัวแต่ไปมองว่า คนนั้นก็สลายกว่า (ในด้านนั้น) คนนี้ก็สบายกว่า (ในด้านนี้)
ไม่ได้โฟกัสที่ตนเองว่า ตนเองนั้นตอนนี้ก็สลายกว่าคนอื่นเยอะแล้ว
ดังนั้นคุณช่วยเขาไป เขาก็ไม่พอใจกับสภาพปัจจุบัน (ที่ได้รับการช่วยจากคุณแล้ว) อยู่ดี
--------------------------------------------------
ข้อ 3
ก็ชัดเจนคือ มันเกิดอารมณ์ลบได้ง่าย ไม่พอใจ น้อยใจ โมโห สารพัดอย่างจะตามมา
สารพัดอารมณ์ลบเกิด ก็เชื่อได้เลยว่า เดี๋ยวสารพัดปัญหาจะตามมา ก็จะต้องเริ่มไม่พอใจ เริ่มบ่น เรื่องประชดประชัน เริ่มทำพฤติกรรมไม่พอใจ เริ่มทะเลาะกัน
--------------------------------------------------
ข้อ 4
เป้าหมายในระดับจิตไร้สำนึกเขา มักเป็นไปเพื่อการเอาชนะเป็นหลัก!
แปลว่า สิ่งต่าง ๆ ที่คุณช่วยเหลือไป ผ่านไปสักพัก มันจะถูกแปลงเป็นสิ่งที่เขาสามารถเอาไปชนะอีกฝ่ายได้
เขาไม่ได้เอาความช่วยเหลือของคุณไป สร้างสิ่งที่ทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาวจริง ๆ
เช่น ในเมื่อเป้าหมายเขาต้องการเอาชนะใครสักคน สักพักความช่วยเหลือคุณ เช่น คุณช่วยให้เขาได้เงินเดือนเยอะขึ้น
มันก็จะกลายไปเป็น กระเป๋าราคาแพง โทรศัพท์ราคาแพง หรือเครื่องประดับราคาแพง เพื่อที่จะทำให้ตนเองดูเหนือกว่าอีกฝ่าย อยู่สูงกว่าอีกฝ่าย เพื่อจุดมุ่งหมายของเขาคือการเอาชนะอีกฝ่าย
เรื่องที่น่าสนใจอีกอย่าง ที่สำคัญสำหรับความอิจฉา-ริษยา ก็คือ...
มันมักตามมาด้วยพฤติกรรมการ "อวด"
ก็คือการอวดในสิ่งต่าง ๆ เช่น อวดรวย อวดชีวิตหรูหรา อวดความรัก อวดผัว
แถมช่วยคนประเภทนี้ไป ก็มักจะลงท้ายด้วยการที่เขาไม่สำนึกบุญคุณ และถูกเนรคุณได้ เพราะว่าในจิตไร้สำนึกของเขา เขาก็คิดว่าเราทำไม่ถูกเป็นปกติ เช่น คุณช่วยคนอื่นมากกว่าช่วยเขาอยู่ดี เป็นต้น
แล้วก็ตามด้วยเอาเราไปนินทา ไปใส่ร้าย ให้เราเสียหายอีก
https://www.facebook.com/photo?fbid=1086909913436875&set=a.507761728018366