“ยิ่งเราเกรี้ยวกราดใส่คนอื่นมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนดียิ่งขึ้น และพอเรารู้สึกว่าเราเป็นคนดีมากขึ้น ก็เลยคิดว่ามันเป็นพันธะหน้าที่ที่เราจะต้องหัวร้อนใส่คนอื่นที่ทำอะไรไม่ถูกไม่ควร”
ดร.เจเรมี เชอร์แมน (Jeremy Sherman) นักจิตวิทยาผู้มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับอารมณ์โกรธ เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า #Maddiction หรือ การเสพติดอาการหัวร้อน
โดยเขาเฉพาะเจาะจงลงไปที่ 'อาการหัวร้อนของคนดี' หรือ การบันดาลโทสะของคนที่เชื่อว่า ตนเองกำลังปกป้องคุณธรรม หรือมาตรฐานความดีบางอย่าง
‘
แต่ ดร.เชอร์แมน ตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ แล้ว คนที่เสพติดอาการหัวร้อน ไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาคิดว่ากำลังต่อสู้เพื่อความถูกต้อง หรืออุดมการณ์อันสูงส่งอะไรเลย พวกเขาเพียงแต่รู้สึกดี ที่ได้ระบายความเกรี้ยวกราดใส่คนอื่น ที่พวกเขาคิดเอาเองว่า ‘ไม่ดี’ เท่ากับตนเอง
“ศรัทธาหรือความเชื่อในความดี อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้คนรู้สึกโกรธและลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น แต่ความรู้สึกดีที่ได้ระบายความโกรธใส่คนอื่น แล้วทำให้ตัวเองดูสูงส่งขึ้น เป็นตัวการทำให้พวกเขาติดอยู่ในวังวนของการเสพติดอาการหัวร้อน” ดร.เชอร์แมน กล่าว
แล้วทำไมบางคนจึงหัวร้อนไวกว่าคนอื่น?
ดร.เจอร์รี เดฟเฟนแบคเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกับอารมณ์โกรธ กล่าวว่า คนเหล่านี้จะมีความอดทนต่ำต่อเรื่องหงุดหงิด หรือความไม่สะดวกสบายแค่เล็กๆ น้อยๆ ที่น่าสนใจก็คือ พวกเขามักจะแสดงอาการหัวร้อนออกมา เมื่อพบเจอเรื่องราวที่คิดว่า ไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรม หรือพูดง่ายๆ ว่า ไม่ดีงามตามมาตรฐานที่พวกเขาเชื่อ
ถึงแม้จะมีหลักฐานทางวิชาการที่ชี้ว่า อาการหัวร้อนได้ง่ายของหลายคน เป็นผลมาจากพันธุกรรม หรือลักษณะเฉพาะตัวที่พบในยีน แต่นักจิตวิทยาหลายคนมองว่า การเลี้ยงดูจากครอบครัวในช่วงวัยเด็ก ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ใครบางคนหัวร้อนมากกว่าคนอื่นๆ
มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า คนที่มีปัญหาในการจัดการอารมณ์โกรธ มักจะมาจากครอบครัวที่ดูสับสน มีแต่เรื่องวุ่นวาย และขาดทักษะในการสื่อสาร หรือแสดงออกทางอารมณ์อย่างถูกวิธีและสร้างสรรค์
อ่านบทความ Maddiction: เพราะเป็นคนดีจึงหัวร้อน หรือเพราะหัวร้อนแล้วรู้สึกดี? รับมือกับความโกรธที่อาจก่อตัวจากปมในวัยเด็ก https://thepotential.org/life/maddiction/
https://www.facebook.com/share/p/iMY768KTPQQ2fhw7/?mibextid=oFDknk