Fanboi Channel

การเมืองในประเทศ ขวานทองเล่มที่ ๓๘ เพราะก้าวไกลไม่ใช่ผู้คน แต่คืออุดมการณ์และสายลมแห่งการเล่นว่าว

Last posted

Total of 1000 posts

232 Nameless Fanboi Posted ID:EBpg0I90hi

ด้อมส้มอ่านซะ

รีวิว 2475 Dawn of Revolution

การ์ตูนใช้วิธีให้เด็ก 3 คน เป็นผู้ตั้งคำถาม และให้ลุงดอนเป็นผู้ตอบ สลับกับดำเนินเหตุการณ์ในช่วง 2475 พร้อม ๆ กันไปด้วย

ถึงแม้การ์ตูนจะใช้สัญลักษณ์หนวดปลาหมึกแทบทุกครั้งที่พูดถึง อ.ปรีดี แต่การ์ตูนเรื่องนี้ก็ไม่ได้ใช้นิ้วชี้ลงไปตราหน้าใครว่าเป็นฝ่ายผิดไปเสียทั้งหมดในทีเดียว การ์ตูนเรื่องนี้ขับเน้นถึง ‘ระบบความคิด’ ที่ไม่ตรงกันของรัชกาลที่ ๗ กับกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งนำโดย อ.ปรีดี

ลุงดอนไม่ได้พูดว่า ‘เค้าโครงเศรษฐกิจ’ ของอ.ปรีดีนั้นชั่วช้าเลวทราม แต่พยายามบอกผ่านการ์ตูนว่า เมื่ออ่านเค้าโครงเศรษฐกิจแล้วนั้น รัชกาลที่ ๗ ทรงกังวลเรื่องอะไร จึงได้ตอบโต้อ.ปรีดีไปแบบนั้น

จุดที่เป็นแก่นของเรื่องนี้ ที่ผมเห็นมีอยู่ 2 อย่าง

1. ระหว่างรัชกาลที่ ๗ กับ คณะราษฎร ใครกันแน่ที่เข้าใจประชาชนมากกว่ากัน ใครกันแน่ที่มีความห่วงใยอาณาประชาราษฎร์อย่างจริงใจมากกว่ากัน ใครกันแน่ที่ทำเพื่อประชาชนมากกว่ากัน การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรให้มันดูเท่ ๆ ตั้งแต่มาตรา 1 ว่า ‘อำนาจทั้งปวงเป็นของราษฎร’ มันก็เป็นได้แค่ตัวอักษร ถ้าหากไม่ได้ตั้งใจจะทำเพื่อราษฎรจริง ๆ

2. ความรู้สึกของรัชกาลที่ ๗ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ดูเหมือนว่าตั้งแต่เกิดการปฏิวัติ 2475 แน่นอนว่าสถานภาพของรัชกาลที่ ๗ เปลี่ยนแปลงไป พระองค์ต้องกลายมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ไม่มีใครยอมฟังเสียง แม้คณะราษฎร์หรือคณะไหนจะขอเข้าเฝ้า แม้จะได้คำแนะนำจากรัชกาลที่ ๗ ไปแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าทุกคนจะทำตามอำเภอใจกันทั้งสิ้น

การ์ตูนเรื่องนี้ยังขับเน้นไปอีกว่า
แม้จะยังคงสถานภาพความเป็นกษัตริย์ในลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี แต่ดูเหมือนว่าพระองค์จะไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ หลงเหลืออีกแล้วนับตั้งแต่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับนั้น

สุดท้าย เมื่อพระองค์ตระหนักแล้วว่า พระองค์ทรงไม่หลงเหลืออำนาจใด ๆ อย่างแท้จริงในการช่วยหลือพสกนิกรของพระองค์ไว้ได้ อำนาจเดียวที่พระองค์ยังคงมี และไม่มีใครที่จะสามารถพรากอำนาจนี้ของพระองค์ได้ในตอนนั้น นั่นคืออำนาจในการตัดสินพระทัย ‘สละราชสมบัติ’

การ์ตูนเรื่องนี้แสดงให้เห็นชัดถึงความกดดันที่ทุกฝ่ายโยนมาให้พระองค์ต้องแบกรับเอาไว้ ซึ่งจริง ๆ เมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญไปให้แล้ว พระองค์ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องแบกรับอะไรอีก เพราะงานราชการบ้านเมืองก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลดำเนินการกันไป

แต่เพราะ ‘ความห่วงใย’ ที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวสยาม เมื่อพระองค์ทรงเห็นแล้วว่า คณะราษฎร์ไม่ได้มีความห่วงใยในราษฎรอย่างจริงใจอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้พระองค์ทรงมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส

ความทุกข์ในฐานะลูกหลานกษัตริย์ที่รักษาอำนาจของบรรพบุรุษเอาไว้ไม่ได้

ความทุกข์ในฐานะเชื้อพระวงศ์ที่ต้องเห็นพระประยูรญาติบ้านแตกสาแหรกขาด แยกย้ายกันอพยพ บางคนต้องโดนเนรเทศออกจากสยามไปจนชั่วชีวิต

ความทุกข์ในฐานะของผู้นำในการปกครองที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งของราษฎร

ความทุกข์ของสามีที่ต้องเห็นภรรยาทุกข์ตามไปด้วย และเมื่อสามีสละฐานะกษัตริย์ ภรรยาก็จะต้องลงจากตำแหน่งราชินีไปโดยปริยาย

นี่คือความทุกข์ที่ผู้ชายตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งต้องแบกรับ การ์ตูนเรื่องนี้ทำออกมาได้เห็นภาพจริง ๆ

สุดท้าย ลุงดอนพูดได้ดีมาก ว่าเรื่องราวทั้งหมดมันผ่านมานานจนไม่มีประโยชน์ที่จะไปนั่งหาคนทำผิด แต่คนรุ่นนี้ควรจะศึกษาเรื่องราวในอดีตเพื่อไม่ให้มีการผิดพลาดซ้ำแบบเดิม

ไม่ว่าใครจะถูกหรือใครจะผิด มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนความจริงที่ว่าประเทศเราเปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 และเปลี่ยนมาแล้ว 92 ปี

อดีตผ่านไปแล้ว แต่ปัญหาคือเราได้เรียนรู้อะไรจากอดีตเพื่อจะทำปัจจุบันให้มันดี และส่งต่ออนาคตที่ดีให้กับลูกหลานเราบ้างหรือไม่..?

หรือตลอดเวลา 92 ปี ที่ผ่านมาและจะเป็นตลอดไป คือการทำเรื่องที่ผิดพลาดซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่อย่างนั้น..?

หากเหตุการณ์ 2475 เราเรียกมันว่า ‘อภิวัฒน์สยาม’ ผ่านมาเกือบร้อยปี เราอภิวัฒน์ไปถึงไหนกันแล้วบ้าง..?

จากวันนั้นถึงวันนี้ ผ่านมาหลายสิบรัฐบาล มีคนทำเพื่อราษฎรอย่างจริง ๆ หรือยัง..?

หรือคำว่า ‘เพื่อราษฎร’ ‘เพื่อประชาชน’ มันก็ยังคงเป็นคำอ้างที่สวยหรูอยู่อย่างนั้น ไปจนชั่วลูกสืบหลาน..?

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.