“ทุนจีนยึดสวนทุเรียนไทย”
เป็นอีกหนึ่งความประสาทแดกของคนไทยจากการเสพสื่อสั้น ๆ ที่ไหลผ่านหน้าฟีดตัวเอง
ตรงนี้คงไม่มานั่งแก้ตัวแทนทุนจีน แต่อยากชวนตั้งคำถามต่อไปสัก 2 ข้อว่า
1. “แล้วทุนไทยหายหัวไปไหนกันหมด?”
ถ้าจะบรีฟสั้น ๆ ก็ต้องบอกว่านักลงทุนไทยไม่ชอบการลงทุนระยะยาว ชอบเก็งกำไรระยะสั้น จึงขนเงินไปลงทุนในตลาดที่ผลตอบแทนระยะสั้นสูง บางทุนก็ไปลงในภาคธุรกิจโรงแรม , ภาคการเงินการธนาคารที่ต่างประเทศ
เหลือทุนไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรแค่ไม่กี่เจ้า และแน่นอนว่าถ้าพวกนี้ขยับ ก็จะมีคนกรีดร้องทำนองว่า ทุนผูกขาดยึดสวนทุเรียนไทยแล้ว! อยู่ดี
พูดแบบนี้ เดี๋ยวก็จะมีพวกโลกสวยมาดีเฟนซ์ว่าแล้วทำไมไม่ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้แข็งแรงพอที่จะรักษาพื้นที่การเกษตรของตัวเองไว้ มึงก็ดูสภาพเกษตรกรไทยด้วย เงินลงทุนเอย หนี้ครัวเรือนเอย ผลผลิตต่อไร่เอย มึงว่าจะสู้ทุนขนาดใหญ่รอดไหม อย่าโรแมนติกเกิน ไม่ไหวบอกไหว ตลก
2. “สิ่งที่คนไทย(ทั้งภาครัฐและประชาชน) ควรทำคืออะไร?”
สำหรับเราคิดว่าต้องขยับตัวเองออกจากการเป็นแรงงานภาคการเกษตร แล้วเอากำลังส่วนนั้นไปทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อหัวสูงขึ้น
เราไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศที่มีอาชีพเกษตรกรเยอะที่สุด แต่เราสามารถเป็นประเทศที่มีเกษตรกรน้อยแต่สร้างผลผลิตต่อไร่สูงได้ หรือไม่ก็แปรรูปผลิตภัณฑ์ value added ให้มันมีราคาขายสูงขึ้น ใส่ความเป็นอัตลักษณ์ในสินค้าเกษตรแต่ละท้องที่มากขึ้น ซึ่งส่วนสำคัญที่จะทำให้เราไปจุดนั้นได้คือเทคโนโลยีและสกิลแรงงาน … วนกลับมาแล้วเทคโนโลยีมาจากไหน ถ้าไม่ใช่มาจากกลุ่มทุนที่เขา establish แล้ว ก็ต้องเป็นรัฐส่งเสริมสนับสนุน …
แต่พอนายทุนยื่นมือเข้ามา … ก็ แย่แล้ว นายทุนกินรวบแล้ว
พอรัฐบาลไหนๆจะทำโครงการยกระดับคุณภาพแรงงาน … ก็มีเสียงค่อนขอด ทำเป็นหรือเปล่า เข้าใจความหมายของมันหรือเปล่า มองไม่เห็นอนาคต บลา ๆ
พอรัฐในเวลานั้นๆจะช่วยเหลือเกษตรกร … ก็เรียกซื้อเสียงชาวนา เอาเงินภาษีไปอุ้มคนจน ทำไมไม่เอาเงินสดแจกเกษตรกรไปเลย วนไป
มึงก็นั่งทะเลาะกับ เจสามเคหน้าแป้นพิมพ์ไปจ้า คนที่เขาเก็ท เขาไปต่อกันแล้ว ไม่มาเสียเวลา