>>26 >>31 คนเป็นมะเร็งยังไงก็รู้ชะตากรรมตัวเองแหละ น่าจะเป็นไม่กี่โรคมั้งที่แพทย์กล้าทำนายวันตายให้ล่วงหน้าเลย (แม้จะไม่ตรงเป๊ะๆ แต่จำนวนมากก็ใกล้เคียง) ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนป่วยจะเลือกใช้ชีวิตข่วงสุดท้ายยังไงอะ เหมือนที่มีคนตั้งข้อสังเกตเรื่องสมเจียม ตั้งแต่แกป่วยแล้วกลับมา ถ้าไม่ใช่คนอื่นมาช่วยรันเพจ ก็คือแกทำเองนี่แหละแต่แบบทำรัวๆ ไม่สนคุณภาพเหมือนสมัยก่อนแล้ว ขอแซะเจ้าแบบบ้านๆ เหมือนที่ปวินทำก็เอา เพราะแกอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงก่อนทีตัวเองจะหมดเวลาบนโลกน่ะ
>>27 >>28 มันมีเพราะคนเปิดรับมากขึ้นด้วย กูคน กทม. โตมาในยุคที่พวกวิถีต่างจังหวัด (ไม่ว่าอีสาน เหนือ ใต้) เป็นวัฒนธรรมกระแสรอง ไม่นิยมให้ออกสื่อ ถ้าออกก็แบบแนวๆ เหยียด บุลลี่ตลกขบขัน แม้แต่เพลงลูกทุ่งที่คนต่างจังหวัดหรือชนชั้นล่างชอบฟัง กระแสหลักก็เป็นเพลงภาษาไทยกลางนะ หมอลำนี่กระแสรอง จนน่าจะช่วงไม่ถึง 10 ปีล่าสุดนี่แหละมั้งที่เปิดรับกันมากขึ้น อย่างไทบ้านภาคแรกก็ยังถูกมองเป็นหนังเฉพาะกลุ่มอยู่เลย พอได้รับการยอมรับมากขึ้น คนในพื้นที่นั้นๆ ก็กล้าแสดงออกมากขึ้น เพราะบางทีก็มองเป็นจุดขายด้วยซ้ำ เพียงแต่ประชากรไทยคนอีสานเยอะสุดไง เลยดูขยายวงกว้างกว่า แต่รองลงมาก็วัฒนธรรมใต้นะ เพลงลูกทุ่งใต้หลังๆ ได้ยินบ่อยๆ พอๆ กับลูกทุ่งกลางหรืออีสานเลย (ส่วนเหนือนี่เหมือนไม่โดดเด่น ออกแนวโดนกลืนไปยาวๆ มากกว่า)
>>29 >>32 เปลี่ยนนายกฯ ไปกี่คน เปลี่ยนรัฐบาลไปกี่ชุด เลือกตั้งก็แล้ว ยึดอำนาจก็แล้ว ทำไมคนไทยจำนวนมากยังไม่ไว้ใจระบบราชการ ไปเชื่อคนนอกทั้ง ngo สื่อ เพจดาร์ค อินฟลูฯ หรือพวกจักรวาลทนาย (ใช้คำนี้นะ เพราะหลังๆ ชักเหมือน lawyer civil war ทนายดังๆ งัดกันเองก็มี ร่วมมือกันปราบเหล่าร้ายก็มี) บอกว่าต้องให้คนพวกนี้ออกหน้าไม่งั้นความทุกข์ร้อนไม่ถูกแก้ กูคิดว่ารัฐไทยมันควรยอมรับความล้มเหลวของตัวเองได้ละ