ช่วงนี้ก็จะสนใจเรื่อง econ growth เลยรวบรวมงานเขียนหลายๆ ชิ้นมากำกับความคิดตัวเองสักหน่อย
มานั่งแคะๆ ข้อมูลของประเทศไทยบ้าง จะเห็นว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนค่อนข้างดี ประเทศเหล่านี้เคยจนและสามารถพัฒนามาเป็นชนชั้นกลางได้ ไทยเองก็เกาะกลุ่มกับเพื่อนบ้าน จะมีอยู่บ้างช่วง 1988-1990 ที่โตมากเกิน 10% แต่โดยรวมแล้วพัฒนาการทางเศรษฐกิจค่อยข้างไปในทางเดียวกัน
แต่ อาการเศรษฐกิจไทยเริ่มน่าเป็นห่วงเพราะเราเริ่มจะถอยห่างจากเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะหลังจากโดน 2 shocks ไปในช่วง 2008 และ 2011 (อาจจะเรียก 3 shocks ก็ได้ถ้านับ 2013-2014 political shock) ตั้งแต่ตอนนั้นไทยก็ยังไม่กลับไปโต 5 % สักที และเมื่อเราจำแนก growth ออกไป TFP growth, capital deepening, employment จะเห็นว่าทั้งสามส่วนลดลงหมดตั้งแต่ 2008 [1]
ทำไมกัน?
ลองมาดูตามองค์ประกอบของ growth
1) Productivity ลดลง
1.1) หมดพลัง catch up growth
Based on Aghion's work, การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจนกับประเทศรวยนั้นไม่เหมือนกันสะทีเดียว สิ่งที่ประเทศยากจนต้องทำคือลอกนวัตกรรมจากประเทศที่ร่ำรวยและปรับปรุงให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สำหรับประเทศที่ร่ำรวยแล้วนั้น จำเป็นจะต้องคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาเอง ในกรณีนี้การเจริญเติบโตที่ลดลงของไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาจจะสะท้อนโครงสร้างเศรษฐกิจว่า ไทยไม่สามารถขยับจากผู้ลอกไปเป็นผู้สร้างได้
1.2) การแข่งขันของภาคธุรกิจไทยต่ำ
การที่ไทยไม่สามารถยกระดับผลิตภาพได้เกิดได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการที่บริษัทไทยไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับใครเพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้น งานวิจัยหลายชิ้นพบสัญญาณเหล่านี้ในหลายสถิติ [2] เช่น
- productivity of existing firms ต่ำลง
- ไม่ค่อยมี productivity enhancing firms' exit
- firm's entry/exit ลดลง
- อายุเฉลี่ยของบริษัทเพิ่มขึ้น
- mark up เพิ่มสูงขึ้น
การแข่งขันที่ต่ำลงอาจจะมาได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุนั้นคือการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยี, e.g., Increasing Lucas's span of control (1978), หรือ การเข้ามาของ IT และ internet ทำให้ บริษัทใหญ่ๆ สามารถผลิตสินค้าได้มากชนิดขึ้นและ ใช้ประโยชน์จาก economy of scale บริษัทเล็กๆ ไม่สามารถแข่งกับคู่แข่งรายใหญ่ได้อีกต่อไป
1.3) ปัจจัยเชิงสถาบันที่ arguably แย่ลง
นอกจากปัจจัยเชิงเทคโนโลยีที่แย่ลงแล้วนั้น ช่วง 2014 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2556 ยังเกิดการรัฐประหาร ซึ่งสามารถทำให้การผูดขาดในเศรษฐกิจสูงขึ้นได้อีกด้วย
แม้ในหลักการแล้วอาจจะพูดได้ว่าสถาบันทางการเมืองกับสถาบันทางเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน กล่าวคือ โดยหลักการแล้วเราสามารถมีเผด็จการทหารโดยที่ยังมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจอยู่ได้ (insert Pinochet as a suspect) แต่ ในอีกทางหนึ่งผู้มีอำนาจทางการเมืองมีแนวโน้มสูงมากที่จะเอื้อผลประโยชน์เศรษฐกิจให้กับพวกตนเอง
งานของ Ufuk Akcigit et al. (2023) ได้ยืนยันผลว่าการที่บริษัทมีความสัมพันธ์ทางการเมือง (ในบริบทอิตาลี) เชื่อมโยงกับ การเติบโตของรายได้ การจ้างงาน และไม่ได้สัมพันธ์กับผลิตภาพ กล่าวคือ เมื่อเรารู้จักผู้มีอิทธิพลอย่างนักการเมือง เราก็สามารถเป็นทุนใหญ่ได้แม้จะไม่ได้ผลิตสินค้าเก่งก็ตาม
เรายังสามารถอนุมานต่อไปได้ว่าถ้าบริษัทเน้นไปลงทุนในความสัมพันธ์ทางการเมืองแทนยกระดับผลิตภาพอาจจะทำให้ผลิตภาพไทยต่ำลงได้
2) Capital: ไทยไม่น่าดึงดูดในการรับจ้างผลิตสินค้าเหมือนเดิม และยังไม่ลงทุนในประเทศอีกด้วย
การเติบโตของผลิตภาพไทยในอดีตมาภาคอุตสาหกรรมและบริษัทต่างชาติเยอะ [2, 4] แต่ปัจจุบันเราไม่น่าดึงดูดในการลงทุนอีกแล้ว FDI ของไทยต่ำลงมาเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน [3] ถ้าจะใช้รูปแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิมก็จะต้องมีความน่าดึงดูดให้ลงทุนมากกว่านี้