Fanboi Channel

การเมืองในประเทศ ขวานทองเล่มที่ ๒๒ - รุ่งอรุณของเพื่อไทย ความยุติธรรมของรัฐบาลเป็นแสงส่องสว่างที่ส่องไปยังอนาคตของประเทศชาติ

Last posted

Total of 1000 posts

169 Nameless Fanboi Posted ID:/PjuO0p04e

https://www.the101.world/kiatipong-ariyapruchya-interview/
ธนาคารโลกเน้นย้ำว่าการทำโครงการสวัสดิการสังคมต้องทำแบบเจาะจง ด้วยเหตุผลเรื่องความยั่งยืนทางการคลัง แต่อีกมุมหนึ่งก็อาจมีคนแย้งว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องฐานข้อมูล ทำให้การทำนโยบายแบบเจาะจงอาจนำไปสู่ปัญหาการตกหล่นของผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยก็เจอปัญหานี้มาแล้วเหมือนกัน เลยมักมีข้อเสนอให้ไทยทำสวัสดิการบางด้านแบบถ้วนหน้าไปเลย คุณคิดอย่างไร
เห็นด้วยว่ามีความเสี่ยงที่จะมีการตกหล่นเกิดขึ้น เพราะถ้าดูจากประสบการณ์หลายประเทศ ก็มีการตกหล่น มันเป็นไปได้ยากที่ความผิดพลาดจะเป็นศูนย์ แต่อย่างน้อยเราควรจะสร้างระบบให้มีวิธีแก้ไขการตกหล่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งเราก็มองว่าไทยยังมีประสิทธิภาพที่จะทำระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับในเรื่องนี้ โดยเป็นระบบที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดว่าผู้มีสิทธิรับสวัสดิการควรมีใครบ้าง และมีการประสานข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ ในการจะเลือกใช้นโยบายแบบถ้วนหน้าหรือเจาะจง ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยทางการคลัง ซึ่งธนาคารโลกก็ดูด้านนี้เป็นหลัก ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่ทำนโยบายแบบค่อนข้างครอบคลุม แต่ผลกระทบคือมีวิกฤตทางการคลัง จึงต้องเป็นการชั่งน้ำหนักว่าคุณจะยอมรับให้มีการตกหล่นหรือจะยอมรับให้มีวิกฤตการคลัง หรือคุณจะยอมรับไหมว่า ถ้าทำนโยบายที่ครอบคลุมไม่มีตกหล่น แต่คุณก็ต้องลดงบประมาณในการลงทุนไป เช่น สวัสดิการบางด้านอาจมีมูลค่าน้อยลง หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องดูว่าจะให้ลำดับความสำคัญกับเรื่องไหนก่อน แต่สำหรับประเทศไทยตอนนี้มีหลายเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดูแล ทั้งคนสูงวัย การศึกษา climate change และอีกหลายเรื่อง เราเลยเสนอให้เป็นการทำแบบเจาะจงกลุ่มคนที่ต้องการ เพื่อจะได้รักษาประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณได้ และอย่างที่บอกไปแล้ว เรามองว่าไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้การดำเนินการเหล่านี้มีการตกหล่นน้อยลงได้

ผมยกตัวอย่างนโยบายการตรึงราคาน้ำมันดีเซลช่วงปีที่แล้วที่ทุกคนที่ใช้ดีเซลได้ประโยชน์ แต่ถ้าถามว่าคุ้มหรือเปล่า จริงๆ คือไม่คุ้ม เพราะถ้าเปลี่ยนมาช่วยเหลือแบบเจาะจงคนที่เดือดร้อนจริง จะประหยัดงบประมาณตรงนี้ไปได้ประมาณหนึ่งในสี่ เราอาจจะเห็นว่าหลายประเทศก็ใช้นโยบายตรึงราคาดีเซลเหมือนเรา อย่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย แต่ที่เขาทำแบบนั้นเพราะเขายังขาดเครื่องมือในการเจาะจงหาคนที่เดือดร้อน แต่ประเทศไทยมีศักยภาพ มีฐานข้อมูลที่จะทำเรื่องนี้แบบเจาะจงได้มากกว่าเขา ผมถึงมองว่าไทยไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการช่วยเหลือแบบกว้างในเรื่องนี้ แต่ทำแบบเจาะจงดีกว่า เพราะถ้ายิ่งเราไปทำให้พื้นที่การคลังหดหายไป เราจะยิ่งไม่สามารถไปรับมือความท้าทายอื่นได้ ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศก็เคยไปเส้นทางนั้น คือเหมือนค่อยๆ ขุดหลุมให้ตัวเอง

ทุนนิยมนี่มันเหี้ยจริงๆ นักเศษฐศาสตร์จาก World bank ออกมาบอกว่าแทนที่จะใช้สวัสดิการทั่วหน้า ให้ช่วยคนจนจริงๆดีกว่า
เพราะประหยัดเงินมากกว่า แน่นอนว่ามีคนจนตกหล่นแต่ก็ช่วยไม่ได้นะ ที่อื่นๆก็มีคนจนตกหล่นเหมือนกันนะ
แทนที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่นี่เลือกทิ้งคนจนไว้ข้างหลัง

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.