Fanboi Channel

วิวาทะการเมือง Vol .1

Last posted

Total of 885 posts

675 Nameless Fanboi Posted ID6:M3EIkhh7bF

เรื่องที่เราค่อนข้างให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเมืองไทยคือเรื่องของ ‘ความสัมพันธ์ทางอำนาจ’ ระหว่างตัวละครต่าง ๆ ในระบอบการเมือง และการเคลื่อนตัวของเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อรักษาดุลแห่งอำนาจ
เราพยายามทำความเข้าใจ แต่ก็มีอะไรเยอะแยะไปหมดในหน้าประวัตศาสตร์ที่ทำให้เกิดคำถามว่า แม่งเกิดอะไรขึ้นกับอำนาจของประชาชนวะ บางครั้งเหมือนการต่อสู้ของประชาชนจะชนะ แต่ไป ๆ มา ๆ อำนาจกลับตกไปอยู่ในมือของทหาร บางครั้งเหมือนการต่อสู้ของประชาชนจะชนะ แต่ไป ๆ มา ๆ อำนาจกลับตกไปอยู่ในมือของเทคโนแครตหรือไม่ก็กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าปัญญาชนที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้ง
เมื่อเราจัดวางตัวละครออกเป็นกลุ่ม ๆ จะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ดีขึ้น
narrative ที่เราใช้น่าจะไม่ต่างจากที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คุ้นเคยกันก็คือ ความเชื่อที่ว่ามีความพยายามของชนชั้นนำเก่าที่ไม่ต้องการเห็น status quo ที่ตัวเองเคยมี ถูกเขย่ามากจนเกินไป
ที่นี้คำว่า status quo ของชนชั้นนำในระบบการเมืองไทยคืออะไร เราอยากชวนให้ทำความเข้าใจดังนี้
หลัก ๆ แล้วตัวละครทางการเมืองก็จะสามารถแบ่งเป็น
• กลุ่มอีลีตโดยชาติกำเนิด สืบเชื้อสายมาจากในรั้วในวัง
• กลุ่มชนชั้นนำข้าราชการ ที่มีรูปแบบ protocal และ hierarchy ชัดเจน มีความเจ้าขุนมูลนาย เช่นองค์กรศาล มหาดไทย องค์กรอิสระ
• เทคโนแครต ที่เปรียบเสมือน think tank คอยขับเคลื่อนนโยยายทางเศรษฐกิจและทำงานร่วมกับราชการอีกที ยกตัวอย่างเช่นสภาพัฒน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักสถิติ สำนักงบประมาณ ต่าง ๆ
• กองทัพ
• นายทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทุนขนาดใหญ่ระดับชาติ
• พรรคการเมืองและนักการเมือง
และในระยะหลัง เราเริ่มเห็นบทบาทของเครือข่ายนักวิชาการ ปัญญาชน นักคิดนักเขียน สื่อสารมวลชน เอ็นจีโอนักเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ถักทอความสัมพันธ์ เกื้อกูลผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ผ่านการมอบทุน มอบรางวัล การแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ตัดสินโน่นนี่นั่นระหว่างกัน จนกลายเป็นเน็ตเวิร์ก และท้ายที่สุด กลุ่มนี้ก็ถูกสถาปณาให้กลายอีกหนึ่ง status quo ของตัวละครทางการเมือง ซึ่งเราเรียกรวมๆ กลุ่มนี้ว่าเป็น public intellectual
ซึ่งตั้งแต่ยุคหลัง 2475 เป็นต้นมาแต่ละส่วนจะทำงานสอดรับเป็นเครือข่ายซึ่งกันและกัน จน establishment ความเป็นไทย ในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่
เรียกได้ว่า ถ้าใครตั้งคำถามว่า ภาพของความเป็นไทยคืออะไร
เราก็จะบอกว่า ภาพของความเป็นไทยก็คือสิ่งที่คนเหล่านี้ ‘อนุญาตให้เป็น’
และในทางการเมือง โครงสร้างเหล่านี้ต้องการเคลื่อนตัวไปพร้อมกับโลก ต้องการความร่วมสมัย ต้องการสร้างระบบเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทิ้งห่างจนกลายเป็นประเทศล้าหลังยากจนเกินไป ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการให้ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยด้วย
แต่ point มันอยู่ที่ “ประเทศต้องเป็นประชาธิปไตยในแบบที่ฉันกำหนด” นั่นคือประชาธิปไตยที่ยังรักษาความเข้มแข็งของระบบราชการไว้ได้ ประชาธิปไตยที่ให้อำนาจกับกองทัพ ประชาธิปไตยที่ฟังเสียงของเทคโนแครตมากกว่านักการเมือง ประชาธิปไตยที่ทำให้ทุนใหญ่สามารถเติบโตสร้างความมั่งคั่ง และยังมีความมั่นคงสถาพรให้กับสถาบัน นักการเมืองและพรรคการเมืองมีได้แต่ต้องทำงานภายใต้กรอบหรือฉันทามติที่ชนชั้นนำอนุญาตเท่านั้น
เราจะเห็นว่า อีลีต ข้าราชการ เทคโนแครต กองทัพ นายทุนระดับชาติ และ public intellectual ต่างๆนั้นจะมองว่านักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นขั้วตรงข้าม และการเมืองจะสงบสุขก็ต่อเมื่อ ดุลอำนาจระหว่างนักการเมืองและอื่นๆถูกจัดวางไว้ในจุดที่ รัฐราชการเข้มแข็ง - พรรคการเมืองอ่อนแอ ถ้าดุลอำนาจเป็นแบบนี้ เขาจะอนุญาตให้มีการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องแต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่พรรคการเมืองเข้มแข็ง หรือมีพรรคการเมืองได้รับ popularity จากประชาชนสูง มันทำให้ดุลอำนาจเปลี่ยนไป อีกฝ่ายก็จะสุมหัวกันและพยายามบั่นทอนพลานุภาพของพรรคการเมือง โดยใช้ กองทัพ ศาล หรือไม่ก็มวลมหาปัญญาชนเป็นเครื่องมือโค่นล้มรัฐบาล เพื่อจัดสรรดุลอำนาจระหว่างกันอีกที
และที่สำคัญ ทิศทางหรือแนวโน้มใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นคือมีผู้เล่น/ตัวละครทางการเมืองบางกลุ่มกำลังสวมเสื้อคลุมตัวใหม่ ทำให้เราเข้าใจการเมืองไทยได้ยากขึ้น

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.