เยาวชนเหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานของพี่น้องร่วมชาติเดียวกัน การที่จะให้ผู้ที่ยังเป็นเยาวชนอยู่มีความสุขุมลุ่มลึกย่อมขัดต่อธรรมชาติของผู้ที่ยังเป็นเยาวชน ประเด็นก็คือ ก่อนที่บรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายจะตำหนิติเตียนเยาวชนเหล่านี้ ควรถามตัวเองก่อนว่า "พฤติกรรมที่ผ่านมาของพวกท่านเป็นตัวอย่างที่ อยู่ในกรอบของความถูกต้อง ความเป็นธรรม ความยุติธรรมหรือไม่?" ครั้นจะวิพากวิจารณ์โดยใช้บรรทัดฐานตามมาตรฐานสากลทั่วๆไปที่ว่า "ปฏิบัติตามกฎหมาย"ก็ไม่ได้เสียแล้ว เพราะพวกท่านได้สอดไส้ความไม่ถูกต้อง ความไม่ชอบธรรม ความอยุติธรรมเข้าไปอยู่ในกฎหมายเสียแล้ว หากเยาวชนยอมรับกฎหมายนี้ พวกเขาก็จะมีปัญหาทาง"จิตสำนึกด้านมโนธรรม" หากเยาวชนไม่ยอมรับหรือต่อต้านกฎหมายนี้ พวกเขาก็จะมีความผิดตามกฎหมายที่พวกท่านสร้างมันขึ้นมา ตราบใดที่ยังไม่แก้ไขที่สาเหตุ ตราบนั้นเหตุการณ์ต่างล้วนจะนำไปสู่ความแตกสามัคคี ไปสู่ความขัดแย้ง ไปสู่จุดเสื่อมของประเทศ ที่ผู้คนในประเทศนี้สร้างขึ้นมาด้วยมือของตนเองทั้งสิ้นและต้องรับชะตากรรมร่วมกันในท้ายที่สุด ขณะนี้พวกเราทุกคนกำลังสร้างประวัติ
ศาสตร์หน้าหนึ่งให้กับประเทศนี้อยู่
มาดูบทอาขยาน"พฤษภกาสร" ที่เราใช้สอนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งโดยทั่วไปอายุราวๆ10-11ขวบ
" พฤษภกาสร อีกกุญชรอัน ปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา"
(กฤษณาสอนน้องคำฉันท์)