>>673 รสนิยมการเมืองของคน กทม. ต่างจากคน ตจว. แต่ไหนแต่ไรแล้ว ตาเอนกที่คุมกระทรวงอุดมศึกษาฯ แกถึงได้บอกตั้งแต่สมัยยังหนุ่มๆ ว่าประเทศนี้มัน 2 นคราไง คนชนบทตั้งรัฐบาล-คนเมืองล้มรัฐบาล สมัยก่อนเมืองใหญ่ก็มีแค่ กทม. แล้วคน กทม. ก็เลือกผู้แทนประเภทหนึ่ง คน ตจว. เลือกอีกแบบหนึ่ง ทีนี้คน กทม. เลือกแบบไหนล่ะ เอาตาม คห. กูนะ เพราะกูเกิด กทม. อายุใกล้เลข 4 เท่าที่สังเกตตั้งแต่เด็กๆ เลย คน กทม. ใช้ชีวิตกับสื่อน่ะ ตั้งแต่สื่อเก่าอย่าง นสพ. , TV มาจนสื่อใหม่อย่างโซเชียล แล้วก็ไม่ค่อยได้พึ่งพา สส. ในเรื่องจิปาถะเท่าไร ดังนั้นจึงมักเลือกผู้แทนตามภาพลักษณ์ที่เห็นในสื่อ ที่เห็นชัดๆ คือผู้ว่าฯ กทม. อะ เน้นภาพลักษณ์ดี หรืออย่าง ปชป. นี่มาร์ค-กรณ์ แม่ยกใน กทม. อย่างเยอะนะ ในขณะที่คน ตจว. จะเลือกผู้แทนที่ช่วยงานจิปาถะชาวบ้านในชุมชนได้มากกว่า งานบวช งานแต่ง งานศพ มีใครเจ็บป่วยมีทีมงานวิ่งหา รพ. ให้ หาที่เรียนให้ลูกหลานชาวบ้าน ฯลฯ (ปชป. สายใต้ กับ ปชป. สาย กทม. ให้สังเกตภาพลักษณ์ สส. ก็ต่างกันแม้จะพรรคเดียวกัน) จริงๆ แม้แต่การเลือกตั้งล่าสุด เขตที่ กก ชนะ ส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองทั้งนั้น คือยิ่งความเป็นเมืองมันขยาย รสนิยมคน ตจว. ที่อยู่ในเขตเมืองก็จะเริ่มคล้ายๆ กับคน กทม. นั่นละ
>>685 >>687 มันไม่ใช่วัยรุ่นสร้างตัวอย่างเดียว แต่ประเทศเราชนชั้นรากหญ้ามันเยอะไป กำลังแรงงานไทย 37-38 ล้านคน เป็น ศก.นอกระบบซะ 20-21 ล้าน ในระบบแค่ 17-18 ล้าน (รายงาน สนง.สถิติ ออกมาทุกปีอะนะ) ดังนั้นพวกนี้ต้องการนโยบายประชานิยมอะ บัตรคนจนนี่ถึงได้ถูกมองว่าเป็นเครดิตสายการเมืองที่ป้อมดีลมามากกว่า เพราะตู่ลึกๆ ไม่ชอบนโยบายแบบนี้ แต่ต้องเข็นออกมาเพราะเตรียมเลือกตั้งปี 62