>>960 จำนวนครูมันผันแปรกับจำนวนเด็ก ไม่ใช่จำนวนรร. ที่บางรร.ครูสอน 40+ ต่อห้องกับบางรร.ครูสอน 10 คนต่อห้องเพราะปัญหาเรื่องการกระจายเด็ก ถ้ารร.ใหญ่ขึ้นแล้วครูมาอยู่รวมกันมากเข้าก็แก้ปัญหานี้ได้ เรื่องร้อยพ่อพันแม่นี่อยู่รร.เล็กมีปัญหากว่าเยอะ เพราะมันมีตัวเลือกน้อย ถ้าคนเยอะเด็กมันก็เลือกคบเพื่อนได้มากขึ้นเองละ กูนี่ตอนประถมมีเพื่อนไม่กี่คน พอขึ้นม.ต้นมาอยู่รร.รัฐถึงคุณภาพคนจะดรอปลงบ้าง แต่พอมีกลุ่มใหญ่ขึ้นแล้วก็เลือกได้ว่าจะอยู่กับใคร
เรื่องพิมพ์เขียวนี่ก็อย่างมึงพูดละ เขาว่าการศึกษาคือการลงทุน 100 ปี ต้องทำต่อเนื่องถึงจะเห็นผล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ มันไม่ดี ถึงตอนนี้ไทยก็ยังเลือกไม่ได้เลยว่าจะเอาแบบไหน
สำหรับกูนะ กูชอบแบบเยอรมัน+ญี่ปุ่น เรียนสิ่งที่สร้างงานและเป็นประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ได้เรียนเฉพาะวิชาการ แต่เรียนให้รอบด้าน แล้วผลักเด็กให้หางานที่ตัวเองชอบให้ได้ จุดนี้กูอยากให้รัฐ+เอกชนแทรกแซงแบบเยอรมัน ที่เอกชนจะช่วยปรับหลักสูตรให้ทันสมัยตามความต้องการของตลาดเสมอ แล้วรัฐควรให้เรียนฟรีแค่สาย STEM ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า สายสังคมอยากเรียนก็เรียนไป แต่ได้สิทธิไม่เท่า STEM นี่ละถึงจะทำให้ไทยหลุดกับดักรายได้ปานกลางซักที
>>961 อันนี้ก็เป็นปัญหาของไทย คือเด็กกับผู้ปกครองไม่ค่อยไปด้วยกัน เมืองนอกที่มีการปรับหลักสูตรการศึกษาได้เพราะผู้ปกครองเอาใจใส่เด็ก ทำความเข้าใจว่าเรียนอะไรแล้วเจออะไรที่รร. เวลาประชุมผู้ปกครองถึงพูดคุยกันได้ ส่วนของไทยผู้ปกครองโยนเด็กให้รร.เลี้ยงและสอน ตัวเองรับผิดชอบแค่จ่ายค่าเลี้ยงดู มันถึงแก้ปัญหาร่วมกันไม่ได้