กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจเป็นกับดักให้เราหลงไปกับตัวเลขผลตอบแทนที่ได้ แต่เมื่อลองเอาอัตราเงินเฟ้อจริงๆมาคำนวณด้วยแล้ว ผลตอบแทนจริงๆอาจติดลบก็ได้!
ผมลองคำนวณเล่นๆ สมมติ เงินเฟ้อ 10% ทุกปี เราลงเงิน 100 ตอนต้นปี กำลังซื้อเราจะหดเหลือ 90 ท้ายปี และ ต้องทำกำไรจากการลงทุนเท่าไหร่เพื่อให้กำลังซื้อสู้กับเงินเฟ้อได้
ในกรณีนี้ผมใช้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเครื่องมือลงทุน โดยเงื่อนไขคือ ลงทุนในตลาดเงินหรือตราสารหนี้ ที่มูลค่าไม่เหวี่ยง
บริษัทตัดจากเงินเดือน 5% และสมทบเพิ่ม 5% มีเงื่อนไขถอนก่อน 5 ปี ได้แค่ครึ่งนึงของที่บริษัทสมทบ หลังจากนั้น ปีที่ 6 เป็นต้นไปบริษัทจะสมทบเพิ่มเป็น 6% ไปสูงสุด 15% โดยเรายังคงถูกตัดจากเงินเดือนไปแค่ 5% เหมือนเดิม ถือว่าเป็นข้อเสนอที่ดีมากๆ สำหรับคนที่ฝากยาวๆ
ดูจากรูปภาพจะเห็นได้ว่า เราต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 385% ตลอดระยะเวลา 15 ปี เพื่อให้ยังคงกำลังซื้อเทียบเท่าปีแรกที่เริ่มลงทุน
แต่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ไม่ได้ลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงที่โตล้อไปกับการพิมพ์เงินเพิ่ม ถือว่าไม่คุ้มค่าในแง่การรักษากำลังซื้อครับ
เผื่อเป็นไอเดียสำหรับคนที่กำลังตัดสินใจลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครับ
ปล.เวลาประเมินค่าเงินเฟ้อผมดูจากราคาของที่เราใช้จ่ายในชีวิตประจำวันว่าขึ้นมาเฉลี่ยปีละเท่าไหร่นะครับ ไม่ได้ยึดตาม CPI
ปล. ลิ้งสถิติปริมาณเงินบาทครับ >> https://tradingeconomics.com/thailand/money-supply-m1
ปล. 2 ลิ้งรูปการคำนวน เงินเฟ้อ 10% >> https://imgur.com/4pCoD8i
#FiatMoneyIsShit