ไปเจอมา
รีวิวJOKER 2019
(มีสปอล์ย)
"Comedy is subjective
อารมณ์ขันเป็นเรื่องอัตวิสัย
แต่คนบางกลุ่มกลับผูกขาดอารมณ์ขันให้เป็นวัตถุวิสัย
แล้วตัดสินความตลกโดยยึดความคิดตัวเอง"
Arthur Fleck ประกาศกร้าวผ่านรายการตลกก่อนจะลั่นไกปืนเป่าสมองพิธีกรชนชั้นนำที่ใช้อำนาจผ่านเสียงหัวเราะ
แต่ทำไงได้วะ มุกมึงไม่ตลกจริงๆ นี่หว่า หนังชื่อ Joker แท้ๆ แต่หามุกตลกแทบไม่เจอ (ขำให้มุก punch out มุกนึง)
โจ๊กเกอร์ พยายามเล่าเรื่องของคนชายขอบที่ไม่มีใครเหลียวแล ไม่มีปากมีเสียง ไม่มีอำนาจ ไม่มีใครสนใจจนดูเหมือนไม่มีตัวตน โจ๊กเกอร์คนนี้ถูกวางให้เป็นคนธรรมดาสามัญคนหนึ่งในสังคม ไม่มีสติปัญญาเลิศเลอ ไม่มีทักษะการต่อสู้หรือการวางแผน แถมยังเป็นไอ้ขี้แพ้ ล้มเหลวทุกเรื่องในชีวิต ถูกผู้คนก่นด่าดูถูก หัวเราะเย้ยหยันเพราะทำตัวผิดจากบรรทัดฐานสังคม จนอาจจะบอกได้ว่าใครก็สามารถบังเอิญเป็นโจ๊กเกอร์ได้ในสังคมที่เส็งเคร็งแบบนี้ (ถ้าเรามองว่าอาการทางจิตและ unreliable narrative ในเรื่องเป็นผลมาจากโครงสร้างสังคม)
ปัญหาที่ตามมาคือ มันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่าว่าคนๆ นี้จะกลายเป็นโจ๊กเกอร์ที่ดีได้?
Arthur Fleck คนนี้มีหลายคุณสมบัติที่ทำให้เป็นโจ๊กเกอร์ที่ดีไม่ได้ เนื่องจาก
1. เนื่องจากปมทางจิตใจตอนเด็ก ทำให้อารมณ์ขันของเขามีลักษณะ subjective เกินไปจนอยู่คนละขั้วกับคนปกติ ทำให้อะไรก็กลายเป็นอารมณ์ขันได้ นั่นแปลว่าตลกร้าย มุกดาร์ค หรือมุกเฉียบๆ จะไม่มีค่าอีกต่อไป ทุกอย่างกลายเป็นมุกแป้ก คำว่าโจ๊กเกอร์หมดความหมายของมัน
2. การกลายเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม (ซึ่งกลายเป็นมอตโต้ของการชุมนุม - you get what you deserve) ทำให้โจ๊กเกอร์กลายเป็น Anti-hero ไม่ใช่ Villain
3. เป็นตุ๊ด อีลูกติดแม่ อีตุ้งติ้ง อีกะเทย
ดังนั้นสำหรับคนที่ sympathetic กับโจ๊กเกอร์ คุณน่าจะเข้าใจความหมายของ radical subjectivity แล้ว ด้วยเหตุผลทั้งปวงนี้ผมจึงให้คะแนน 1/10 ครับ