>>434 มีมู้นินทาในห้อง Netwatch อยู่ เมื่อก่อนก็คุยกันเยอะนะ แต่เดี๋ยวนี้ตันที่มู้6 กูว่าอย่าไปให้ราคามันเลย ทำเมินๆไป พวกสวะนี่ต่อให้ไม่มีสแกนยังไงก็ไม่ซื้อของลิขสิทธิ์หรอก
>>422 เอาเข้าจริง ที่ตลาดหนังสือบูมช่วงเผด็จการเพราะสื่อทางเลือกมันน้อยด้วย ทีวียังเป็นขาวดำแถมยังแพง สมัยนั้นร้านกาแฟมีไว้เพื่อเรียกลูกค้าเลยนะ ให้คนมานั่งกินกาแฟ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูข่าวจากทีวีในร้าน(กลายเป็นสภากาแฟ) สื่อบันเทิงราคาถูกคือนิยายนี่แหละ แล้วนักเขียนนิยายชั้นครูของไทยผลิตผลงานในยุคนั้นออกมาเยอะมาก ส่วนNon-fiction ก็บูมนะ แต่ไม่ใช่หนังสือเล่ม จะเป็นพวกหนังสือทำมือที่นักศึกษาทำขายกันเองถ้าเคยอ่าน "แล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ" ช่วงนี้คือยุคทองของพวกชนชั้นกลางพวกนักศึกษาเลย
พอมาตอนนี้สื่อบันเทิงมันมีทางเลือกมากขึ้น ความบันเทิงจากนิยายเลยกลายเป็นกลุ่มเล็กๆ นิยายที่ยังพอขายได้ก็พวกนิยายรักแจ่มใสขายสาวน้อยมอ้น กับพวกนิยายแปลจีนที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อนักอ่านไทยค่อนข้างมาก ที่เหลือก็แทบไม่รอด
ส่วน Non fiction ก็ยังพอไปไหว(มั้ง) ทั้งสนพ.เล็กๆอย่าง Openwolrd Welearn ก็เห็นออกหนังสือแนวสารคดีหัวใหม่เรื่อยๆ ถึงไม่เยอะแต่ก็ขายได้ งบการเงินของ Welearnก็ได้กำไรมาตลอด ผิดกับค่ายใหญ่อย่างมติชนที่ติดลบ
ปล. เกร็ดเล็กๆน้อยๆ ซีรี่ย์เรื่องเล่าจากร่างกายของ นพ.ชัชพล เกียรติขจร เป็นซีรี่ย์ Non-fiction ที่พิมพ์มากว่า10ครั้ง น่าจะขายได้เป็นหมื่นเล่ม แปลว่าคนไทยจริงๆก็ชอบการอ่าน เพียงแต่นักเขียนต้องเก่งพอที่จะเขียนเรื่องยากๆให้เป็นภาษาเข้าใจง่าย