>>52 ดูสำนวนน่าจะโม่งเจ้าประจำที่ชอบคุยแบบเหยียดคู่สนทนาหน่อยๆ คุยด้วยก็จะไม่เพลิดเพลินนิดๆ
กูก็ไม่รู้ขั้นตอนโรงพิมพ์นะ แต่ถ้าเครื่องจักรยุคใหม่มันเป๊ะ กดกระดาษเข้าเครื่องลงล๊อค กรอกขนาดให้เครื่องจักรทำเลย และสามารถทำได้โดยไม่เกิดความคลาดเคลื่อนเลยกูว่าคงไม่มีใครตั้งใจให้เกิดขนาดผิดหรอก
2. ถ้าการqc ของโรงพิมพ์ มันก็ควรเน้นไปที่การตรวจหมึกขาด หน้าหายหน้าสลับมากกว่ามั้ย มันคุ้มมั้ยกับการทุ่มกำลังในจุดที่ไม่ใช่สาระสำคัญ กุคิดว่าเค้าคงทำ qcในส่วนขนาด แต่มันคงมีค่าระยะรับได้เป็นช่วง แต่ในอดีตกูคิดว่าโรงพิมพ์มันคงไม่มีใครวัดกันหรอก ถ้าไม่ได้เห็นชัดแจ๋วในระดับที่มากจนน่าเกลียด
3. ที่กูเห็นดราม่าส่วนมากก็ขนาดเหลื่อมไม่เกิน 3 มิลทั้งนั้น แต่กลับถูกลูกค้ากลุ่มหนึ่งคิดว่าหนังสือที่พิมพ์ขนาดเหลื่อมในช่วงค่าเหลื่อมนี้ มันคือของเสีย ของผิดพลาดร้ายแรงที่สมควรถูกทำลาย และต้องเคลม only ความเชื่อนี้มันเพิ่งมีมาในช่วงไม่กี่ปีนี้ที่เน้นรูปร่าง ความเป๊ะเล่มจนโอเวอร์ จนถึงขนาดสนพ.ยอมเคลม กุก็พูดตาม fact ที่กุเห็น ที่กุคิด
ถ้ามึงจะดันมาตรฐานใหม่โดยยก fact ว่าเครื่องจักรมันทำได้แล้วจริงๆ ถ้ามีพลาดคือคนนี่แหละละเลย 100 % อันนี้กูก็ไม่อะไรนะ ฟีดแบคให้สนพ.ดันเป็นมาตรฐานใหม่มันก็ดี แต่โดยส่วนตัวกู ในระยะค่านี้กูก็ยังคิดว่ามันไม่ใช่ของเสียหรือตกมาตรฐานอยู่ดี เพราะมันน้อยมากจนไม่ใช่สาระสำคัญของการเป็นเล่มหนังสือ