>>215
การตั้งราคา ไม่ได้ขึ้นกับต้นทุนอย่างเดียว แต่ขึ้นกับราคากลางด้วย หรือ ราคาตลาดด้วย การที่นายทุนเข้ามาควบคุมตลาด ราคากลางที่เคยเกิดจากหลายๆ สนพ เป็นเสมือนค่าเฉลี่ยก็จะหายไป เพราะมีสินค้าแบบนี้ออกจากผู้ผลิตเพียงเจ้าเดียว ดังนั้น ผู้ผลิตเจ้านั้นจะกลายเป็นคนกำหนดราคากลางทันที
ที่มึงบอกว่านิยายหน้าละบาท อีกหน่อยมันอาจจะ 1.30 หรือ 1.50 ก็ได้ขึ้นกับสนพที่ยังเหลืออยู่ ณ เวลานั้น
>>อันนี้ไม่เห็นด้วย และไม่มีทางเป็นไปได้หนังสือไม่ใช่สินค้าจำเป็น ไม่ใช่ปัจจัยสี่ ขึ้นราคาไปสูงคนมีกำลังซื้อไม่ไหว หาสื่อบันเทิงอื่นที่ราคาต่ำลงมาทดแทนก็จบ ไม่ได้มีอำนาจต่อรองกับผู้บริโภคขนาดนั้น แถมเวลาเศรษฐกิจไม่ดีหนังสือก็กระทบหนักเพราะความไม่จำเป็นของมัน ล่ะกูไม่เคยพูดนะว่าหนังสือนิยายหน้าล่ะบาท จะหน้าเท่าไรก็เรื่องของมัน คนซื้อไว้ก็ซื้อ คนซื้อไม่ไหวก็เรื่องของบริษัทที่ต้องรับผิดชอบยอดขายที่มันน้อยจากการตั้งราคาของตัวเอง และต้นทุนของหนังสือแต่ล่ะเล่มมันต่างกันหมด ยังไงก็ไม่มีทางที่จะมีราคากลางเป็นสินค้าเกษตรหรือสินค้าอุปโภคบริโภคได้
กูขอตอบที่บอกลด 15-20% เลยด้วยแล้วกัน การเป็นนายทุนส่วนมากจะครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผลิตเอง ขายเอง ความสามารถในการทำราคาของนายทุนจึงดีกว่ารายย่อยมาก ที่บอกว่าลดแล้วถูกสุด มาร์จิ้นต่อเล่มที่ได้อาจไม่ต่างกับสนพเล็กๆ เลยก็ได้
มองต่อไปอีกหน่อย นอกจากสนพเล็กๆ จะตายแล้ว ใครตายต่อ โรงพิมพ์ขนาดเล็ก กลาง ก็จะตายต่อไป การที่ธุรกิจปิดกิจการกระทบต่อไปยังลูกจ้าง อัตราการว่างงาน จีดีพี ความเหลื่อมล้ำคนรวยจน ภาระหนี้สูญ มันเป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำที่มึงจะเห็นเพียงส่วนยอดเล็กๆ และไม่เห็นผลกระทบจริงๆ ที่ตามมาหลังจากนั้นก็ไม่แปลก
>>อมรต้นน้ำยันปลายน้ำอันนี้ตลก มันผลิตกระดาษเหรอ ก็ไม่ มันยังโดนโรงงานกระดาษฟันราคาอยู่เลย ลูกค้าเรียกร้องให้ใช้แต่กรีดรีด อซจ มันก็ต้องซื้อ ราคาเท่าไรก็ต้องซื้อเพราะเปลี่ยนประเภทกระดาษลูกค้าก็ด่าอีก แถมการที่มันมีโรงพิมพ์กับร้านหนังสือในยุคนี้เป็นภาระมันมาก ธุรกิจโรงพิมพ์ร้านหนังสือมันถอยหลังลงคลองจะตาย มึงมองเห็นอนาคตของธุรกิจโรงพิมพ์กับร้านหนังสือไหมล่ะ มันจะถูก digital disruption ตายอยู่ล่ะ แพลตฟอร์มอีบุ๊คกำไรเป็นร้อยล้าน กำไรอินายทุนโรงพิมพ์เท่าไรลองไปหาดูเอง Margin ต่อเล่มของกำไรขั้นต้นมันมากกว่า ต้นทุนอื่นของมันยังตามมาอีกเป็นกระบวนด้วยความที่มันเป็นบ. โรงพิมพ์งานน้อยแต่ค่าเสื่อมราคาก็ต้องจ่ายแบบ Fix ค่าแรงงงานที่ต้องจ่ายตลอดไม่ว่างานเยอะงานน้อย ในยุคนี้การจ่ายแค่เฉพาะตอนจะผลิตอาจจะเป็นทางเลือกที่สบายกว่าเยอะ ไม่ต้องแบกรับต้นทุนความเสี่ยงให้มากมาย ไอพวกตัวใหญ่ที่ยังแบกภาระที่อนาคตยังไงก็ต้องตายนี่เสี่ยงกว่าชิบหาย มึงลองไปหางบมันอ่าน แล้ววิเคราะห์ดูว่ากำไรมันมาจากรายได้การขายหนังสือจริงมั้ย หรือว่ากำไรมันมาจากอะไรแน่ๆ
แต่ตลาดผูกขาด ไม่ใช่สิ่งที่ทุกประเทศต้องการ ในไทยจึงมีกฎหมายเกี่ยวกับการผูกขาดทางการตลาด แต่มันเลี่ยงวนไปได้ เช่น เครือหนึ่ง ที่ใช้กลุ่มเงินทุนอื่นถือครองทางอ้อมแทน ตั้งแต่ค้าปลีก ส่ง ยันผลิต ถ้ามึงบอกว่า มันก็เรื่องของสนพเล็กๆ ไม่มีเงินเองก็ช่วยไม่ได้ ก็ไม่ผิด เพราะเราเป็นผู้บริโภค เราได้ประโยชน์จากนายทุนจริงๆ ได้อ่านนิยายที่ชอบ ได้นิยายที่ราคาถูก(ณ ตอนนี้) แต่มันจะกระทบในวงกว้างและกว่าจะเห็นผลกระทบชัดเจน พวกเราอาจจะเลิกอ่านนิยายไปเข้าวัดทำบุญถือศีลแล้วก็ได้
>>มันไม่ได้ไม่มีคู่แข่งนะ ไม่งั้นมันฟาด 50 อันดับในจจได้หมดแล้ว เงินมันก็ไม่ใช่ไม่มี คำถามกูคือมันผูกขาดยังไง เรื่องดังๆของจจมีอยู่ทุกสนพไม่ว่าจะสนพใหญ่ หรือสนพเล็ก หรือสนพที่คนคิดว่าเล็ก ถึงไม่มีอมรยังไงก็ต้องมีบริษัทอื่นขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการอยู่ดี ทุกประเภทของแต่ล่ะอุตสหกรรมมันก็ต้องมีผู้นำที่มีทุนเยอะอยู่แล้วแต่ใช่ว่าจะมีการผูกขาดในทุกประเภทอุตสหกรรม