>>528 กูว่า >>512 มันไม่ได้คิดงั้นนะ มึงดูที่มันยกตัวอย่างดิ มันเป็นพรรณนาโวหารที่เอาส่วนขยายขึ้นแล้วดีกว่าเรียงตามไวยากรณ์เห็นๆ แล้วมันก็บอกอยู่ว่าภาษาจีนไม่มีธรรมเนียมขึ้นต้นด้วยส่วนขยาย ถ้านักเขียนเอาส่วนขยายขึ้น มันก็น่าจะมีเหตุผลของนักเขียน ถึงภาษาอังกฤษก็เหอะ ถ้ามันมาแบบ Slowly, he walked to the door. กูก็คิดว่ามันน่าจะมีเหตุผลเหมือนกัน เพราะส่วนใหญ่การพรรณาแนวนี้ที่กูเจอ บริบทมันน่าจะเป็นอะไรน่าอึดอัดอย่างมีบางอย่างไม่ชอบมาพากลอยู่อีกฟากของประตู หรือตัวละครกำลังหนีอะไรอยู่เลยไม่อยากส่งเสียง เขาเลยเดินไปที่ประตูอย่างช้าๆ เน้นว่าอย่างช้า นักเขียนก็เลยเอา slowly ขึ้น กูว่ากรณีนี้จะแปลว่า “อย่างเชื่องช้า เขาเดินไปที่ประตู / และอย่างเชื่องช้า เขาก็เดินไปทางประตู” มันก็ไม่ผิดอะไร
ที่เขาเถียงกันเรื่องนี้มันไม่ได้มาจาก >>510 >>511 ฟันธงว่าแปลตรงตามที่เขาเขียนมามัน “แปลทื่อ” “ไม่เป็นธรรมชาติ” “อ้างว่ารักษาโวหารฟังไม่ขึ้น” เหรอวะ >>512 มันเลยยกตัวอย่างนี่ไงว่าบางทีมันต้องแปลตรงๆตามนั้นเพื่อรักษาสิ่งที่คนเขียนต้องการสื่อจริงๆ แถมดูเป็นธรรมชาติมากกว่าเขียนด้วยสำนวนไทยๆอีก หรือถ้าไงมึงลองเรียบเรียงไอ้ท่อนที่มันยกตัวอย่างแบบถูกไวยากรณ์เป๊ะให้ได้อารมณ์แบบที่มันเขียนดิ