>>510 >>511 มึงต้องเข้าใจก่อนว่านิยายไม่ใช่ความเรียงที่ต้องการความถูกต้องของหลักภาษา นิยายสามารถใช้ภาษาระดับไหนก็ได้เพื่อความบันเทิง เพื่อสื่ออารมณ์ เพราะฉะนั้นนักเขียนจะเขียนยังไงก็ได้เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของเขา เพื่อเล่าเรื่องของเขา การที่นักแปลแปลตามลำดับการเล่าเรื่องเพื่อรักษาอารมณ์นั้นๆ เขาเรียกว่ารักษาโวหารของนักเขียน
eg: ระหว่าง
“อย่างเงียบงัน เวลาค่อยๆไหลผ่านไป
อย่างเงียบงัน พวกเขาแยกห่างกันทีละน้อย
อย่างเงียบงัน โชคชะตาบิดผันให้ผู้คนต้องแยกจาก”
กับ
“เวลาค่อยๆไหลผ่านไปอย่างเงียบงัน
พวกเขาแยกห่างกันทีละน้อยอย่างเงียบงัน
ผู้คนต้องแยกจากกันเพราะโชคชะตาบิดผันอย่างเงียบงัน”
อันนี้เห็นยังว่ามันเป็นโวหารยังไง
การเอาคำว่า “อย่างเงียบงัน” ขึ้น มันมีเอฟเฟกต์ต่อคนอ่าน เพราะมันเน้นว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความเงียบงัน ความเงียบจะเด่นในย่อหน้านี้ เด่นพอๆกับการกระทำของตัวละคร การเอาคำว่าความเงียบงันไปต่อท้ายจะทำให้ความเงียบเด่นไม่เท่าที่นักเขียนต้องการสื่อ
ยิ่งแปลจีนยิ่งชัด หลักภาษาจีนไม่ได้เอาคำขยายขึ้นก่อน แต่ถ้านักเขียนเอาขึ้นก่อนด้วยจุดประสงค์บางอย่าง มันก็ควรจะตามนั้น ไม่ใช่ไปแก้ให้ถูกหลักภาษาโดยไม่สนอารมณ์ที่นักเขียนต้องการสื่อ แบบนั้นเรียกว่าแปลทื่อ ให้แปลอะไรก็จะออกมาเหมือนๆกันหมดทุกสำนวน จะแปลสามก๊กหรือแปลนิยายตลกก็ออกมาอย่างเดียวกัน การแปลโดยที่ไม่สนใจอารมณ์ของต้นฉบับนี่ กูเรียกแปลห่วย