กูมาตอนนี้ทันไหม
กูขออธิบายหน่อยนะ คือเรื่องทับศัพท์น่ะ จริงๆการทับศัพท์เพื่อให้ได้ความละเอียดอ่อนของคำภาษาต้นทางมาครบมันไม่ได้ผิดเสมอไปหรอก แต่งานแปลประเภทนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวดของการแปลหนังสือความรู้หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ เพราะงานแปลจำพวกนี้มันโฟกัสที่เนื้อหาความรู้ เกี่ยวกับหลักวิชาการ เน้นแปลให้ได้ใจความและก็ความถูกต้องของเนื้อหาที่ละเอียดลงไปในแต่ละเรื่อง มันเลยต้องทับศัพท์เยอะเพื่อรักษาความหมายของคำให้ครบ สำนวนงานแปลส่วนใหญ่ก็จะเป็นบทบรรยายภาษาทางการ มันต่างจากงานแปลประเภทบันเทิงคดีที่สำนวนต้องมีความละเมียดละไม เน้นดึงอารมณ์ร่วมของผู้อ่านให้คล้อยไปกับเนื้อเรื่องของหนังสือ ภาษามันเลยจะไม่ได้เป็นทางการ จะเน้นเป็นจำพวกพรรณนาซะมากกว่า ซึ่งจุดที่ต้องดึงอารมณ์ร่วมให้ผู้อ่านคล้อยไปกับเนื้อหานี่แหละที่ทำให้มันต่างจากงานแปลประเภทวิชาการชัดๆ(มึงคงไม่อยากอ่านนิยายที่อ่านแล้วเหมือนอ่านหนังสือเรียนกันหรอกใช่ไหม) ด้วยการที่ถ้ามันทับศัพท์เยอะเนี่ยมันจะทำให้อรรถรสที่ได้ต่ำลงหรือบางครั้งอาจทำให้นักอ่านเข้าใจคำๆนั้นผิดไปเลยก็มี(การที่มึงเข้าใจความละเอียดอ่อนของคำมันไม่ได้หมายความว่ามึงจะเข้าถึงบริบทของคำๆนั้นไปด้วยนะ) นั่นแหละนักแปลนิยายส่วนใหญ่เลยเลือกที่จะลดความละเอียดอ่อนของคำภาษาต้นทางลงแล้วเลือกสรรคำ/สร้างคำในภาษาของตัวเองให้มีความหมายใกล้เคียงกับคำของภาษาต้นฉบับให้ได้มากที่สุด เพราะจุดที่สำคัญของการแปลนิยายจริงๆคือทำยังไงให้นักอ่านส่วนใหญ่ในวงกว้างสามารถอ่านแล้วเข้าถึงอารมณ์ของเนื้อเรื่องให้ได้มากที่สุด