การแซะก็คือการบ่อนทำลายอีกฝั่งหนึ่ง โดยมากมักเกิดขึ้นด้วยการกล่าวลอยๆ ไม่เจาะจงตรงไปตรงมาว่าพูดถึงใคร แต่มีการบอกใบ้ให้พอรู้ว่าเป็นใคร
การแซะมักเกิดขึ้นเนื่องจากผู้แซะ ‘พิพากษา’ แล้วว่า อีกฝ่ายหนึ่งกำลังทำอะไรบางอย่างผิด แต่กระนั้น ผู้แซะก็ไม่ต้องการจะใช้วิธีตรงไปตรงมาในการบอกกล่าวกับผู้ถูกแซะ ไม่ว่าจะด้วยวิธี ‘ดีๆ’ เช่น การระบุชื่อออกมาเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ เขียนหลังไมค์ไปหาตรงๆ นัดคุยกัน หรือด้วยการ ‘ด่า’ กันตรงๆ
ที่จริงแล้ว การแซะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในสมัยก่อนการแซะเกิดขึ้นในนามของการล้อเลียน โดยเฉพาะการล้อเลียนโดยใช้อารมณ์ขัน เช่นที่เราเห็นในการ์ตูนล้อการเมือง ซึ่งจะเห็นได้เลยว่า มักเป็นการแซะของคนที่มีอำนาจน้อยกว่า (คืออยู่ด้านล่างของโครงสร้างสังคม) ค่อยๆ เซาะ ค่อยๆ แซะ ค่อยๆ สื่อ เพื่อให้คนอื่นเห็นถึงภัยของอำนาจที่อยู่ด้านบนกว่าและใหญ่กว่า โดยใช้อารมณ์ขันมาปกปิดเป็นเครื่องประดับ การแซะในแบบดั้งเดิมจึงเป็น ‘อาวุธ’ ของคนที่มีอำนาจน้อย ที่ใช้เพื่อต่อกรกับผู้มีอำนาจมากกว่า ในโลกออนไลน์ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า การแซะที่เกิดเป็นวงกว้าง ไวรัล และแพร่หลายไปได้ไกลๆ หรือพูดได้ว่าเป็นการแซะที่มีสัมฤทธิผล มักเป็นการแซะผู้มีอำนาจหรือสภาวะที่เป็นตัวแทนของอำนาจที่ใหญ่กว่าแทบทั้งนั้น
การแซะผู้มีอำนาจเหนือกว่า จึงคือความพยายา