>>103 ไม่เห็นด้วยกับมึงตามเดิม โดยเฉพาะบทเปิด กูคิดว่าเขียนได้ดีแล้ว
มันเป็นเทคนิคในการตัดอารมณ์คนอ่านน่ะ ในประโยคแรกของเรื่องพูดถึงคนๆหนึ่ง โดยไม่ได้เจาะจงไปว่าชายคนนั้นเป็นใคร มีรูปร่างหน้าตายังไง แต่พูดแค่ว่าเขากำลังทำอะไร (ในกรณีนี้คือพ่นลมออกจากปาก) แล้วตัดฉากไปอธิบายบรรยากาศโดยรอบย่อหน้าหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาอธิบายถึงชายคนนั้นต่อในย่อหน้าถัดไป เป็นการบอกผู้อ่านโดยนัยว่า เอาล่ะนะ ไอ้หมอนี่คือคนที่ฉันกำลังจะโฟกัสนะ
ข้อมูลที่สอดแทรกมาไม่ได้รู้สึกว่ามากไป อันที่จริงก็ถือว่าตัดทอนลงไปเยอะแล้ว เพราะมันเป็นการเซ็ตโลกใหม่ทั้งหมด คิดว่าผู้เขียนคงจะทยอยอธิบายในบทต่อๆไป และการเขียนนิยายไม่ควรใช้เชิงอรรถมากเกินความจำเป็น ที่เหมาะกับการใช้เชิงอรรถก็ควรเป็นสิ่งที่ควรเข้าใจได้โดยไม่อธิบาย แต่ผู้เขียนกลัวว่าผู้อ่านจะไม่เข้าใจ โดยมากพบในนิยายแปล เช่น หนูเจีย (จากนิยายจีน) คนจีนอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่ามันหมายถึงคำแทนตัวของสตรี แต่คนไทยอาจไม่ทราบ ดังนั้นจึงต้องใส่เชิงอรรถ หรือการใส่เชิงอรรถให้กับอาหารบางอย่างใน แฮร์รี่ พอตเตอร์ เพราะคนไทยอาจไม่รู้จักอาหารบางอย่างที่คนอังกฤษรู้จักดีโดยไม่ต้องอธิบาย เช่น ครัมเป็ต
เอาง่ายๆก็เช่น เวลามึงจะบอกว่าตัวละครกำลังกินข้าวเหนียวหมูปิ้ง ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเชิงอรรถใช่ไหมว่าข้าวเหนียวหมูปิ้งคืออะไร แต่ถ้านิยายเรื่องนั้นเกิดโชคดีได้แปลเป็นภาษาต่างประเทศ ผู้แปลก็อาจจำเป็นต้องอธิบายความหมายของคำว่า "ข้าวเหนียวหมูปิ้ง" ให้ฝรั่งฟัง ที่กูต้องการจะสื่อก็คือ การเขียนนิยายไม่ควรมีเชิงอรรถ ไม่ควรมีภาคผนวกนอกจากจะเป็นแผนที่ หรือรวบรวมข้อมูลของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย (ในกรณีที่ตัวละครมีเยอะมาก) แต่ควรที่จะใช้การบรรยายในเรื่องเพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้มากที่สุด (อาจบรรยายบางอย่างแบบเผินๆ ให้คนอ่านพอที่จะเอาไปใช้เหตุผลคิดต่อได้เองก็ได้)
สิ่งเดียวที่กูคิดว่าไม่โอเคสำหรับบทนำคือการใช้ตัวอักษรเสียง ครืน ให้ตายเถอะ มึงอุตส่าห์บรรยายมาตั้งยาวเหยียดแล้ว พยายามบรรยายเสียงสักหน่อยมันจะตายเรอะ
ปล. โม่งคานทอง กูไม่ได้อยากจับผิดนะ ถ้าทำให้ไม่พอใจก็ต้องขออภัย แต่อยากถามว่านิยายเรื่องไหนที่มึงคิดว่าบรรยายดีบ้างวะ ลองไปอ่านเรื่อง RACHEL ตามที่มึงว่ามาแล้ว กูไม่ชอบโทนการบรรยายของมันเลย (อ่านในเด็กดีนะ ฉบับหนังสือเล่มอาจเขียนได้ดีกว่า?)