>>182 ตอบเกือบครบทุกประเด็นละ เสริมเท่าที่นึกออก ส่วนนึงมันคือการต่อยอดวัฒนธรรมน่ะนะ
เท่าที่เห็นมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะคล้ายๆ >>181-182 คือสนใจ แต่เห็นว่ามันดูโบราณ ดูไม่เข้ากับสไตล์งานที่ตัวเองอยากวาด ก็เลยไม่คิดจะเอามาใช้
กลุ่ม2 คือชอบ content ไทยที่แบบไทยจ๋า พวกผีไทย ความเชื่อพุทธกึ่งผี มวยไทย นิทานพื้นบ้าน หิมพานต์ รามเกียรติ์ ลายกนก (ขอข้ามว่าอะไรคือความเป็นไทยนะ เอาเป็นว่ามันคือไอ้ที่เราคุ้นเคยละกัน ไม่ถกเรื่อง origin) อยากเอามาถ่ายทอดในแบบการ์ตูน แต่กลุ่มนี้พอเข้าใจสิ่งที่ชอบมากๆจะไม่ค่อยกล้าคิดนอกกรอบ ทำให้เวลา adapt มาเป็นการ์ตูนก็ยังคงลักษณะเดิมไว้เยอะ ซึ่งตรงนี้มันจะค่อยๆหลากหลายมากขึ้นตามเวลา+ปริมาณ
ตัวอย่างที่เห็นการพัฒนาชัดคือทศกัณฐ์ เราติดภาพหน้ายักษ์-ลายกนก-หัวน่อยๆซ้อนกันเป็นมงกุฎ-แขนไร้มิติทำร้ายอนาโตมี่ แต่ตอนที่มีกระแส mv จนมีแฟนอาร์ตล้อเลียนมากมาย จะเห็นว่าเราคุ้นเคยกับการเอาตัวละครตัวนี้มา adapt กันแล้ว (เอาจริงๆก็คุ้นมาหลายปีแล้ว จำอนิเมเรื่องนี้กันได้มั้ย? https://www.youtube.com/watch?v=HUsmPrRc__g )
แต่ผีมันยังไม่มีคนเอาเล่นเยอะขนาดนั้น ที่ค่อนข้างจะนอกกรอบและรู้จักกันในระดับแมสเท่าที่นึกออกก็มีอันนี้ https://www.youtube.com/watch?v=yLuU6o0jMYQ
กูเองก็ไม่ใช่สายนี้ แต่เอาจริงๆมันมีเยอะนะ https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อผีไทย นี่คือแค่ที่ดังๆ พวกความเชื่อพื้นบ้านยิบย่อยที่เคยผ่านตาก็มีอีกเพียบ พวกที่เป็นแค่ความเชื่อแต่ไม่มีรูปร่างแน่ชัดอย่างผีบังตา ผีผลัก ก็เอามาสร้างเป็นคาแรคเตอร์เองได้
จุดนึงที่จำกัดไอเดียของคนเล่นคือ พอบอกว่าผีก็ต้องนึกถึงความอาฆาตมุ่งร้าย แต่ถ้าจะเอามาเล่นแนวอื่นเราไม่จำเป็นต้องยึดตามต้นฉบับขนาดนั้น อย่างนูระก็ลดระดับ(แถ)ด้วยการบอกว่ามันคือความเกรงขาม คามิซามะคิสก็เอามาแค่สายเลือดและความสามารถพิเศษ คิวทาโร่เอย คิทาโร่เอย ก็ลดระดับลงมาเป็น daily life of เหล่าสัมภเวสี อย่างเรื่องนาคข้างบนก็อยู่ในระดับนี้
หรือถ้าขยายออก จะรวมเอาปีศาจ+สัตว์วิเศษด้วยล่ะก็ ทีนี้มหาศาลเลย แค่ป่าหิมพานต์ก็เอามาเล่นได้ไม่มีหมดแล้ว
มู้คอมมูเห็นมีคนทำคอมมูไสย์เวทย์แนวโรงเรียนแฮรี่ ก่อนหน้านี้ก็มีบ้านเด็กประหลาดไทยสไตล์ Miss Peregrine ถ้าลองทำคอมมูชีวิตหลังความตายของสัมภเวสีก็น่าจะเล่นอะไรได้เยอะนะ