>>314 อันนี้กูคิดว่า เพราะนิทานเด็กเป้าหมายหลักๆของมันก็คือปลูกฝังเด็กให้เป็นไปในทิศทางที่อยากให้เป็น เนื้อหามันจึงย่ำอยู่ที่เดิม อาจารย์ของกูเคยพูดว่าการอ่านวรรณกรรมก็คือการอ่านมนุษย์ ซึ่งนิทานก็รวมอยู่ในนั้นด้วย ถ้าสังคมโดยรวมมันเปลี่ยนไป วรรณกรรมก็จะเปลี่ยนตาม หรือบางทีก็เป็นวรรณกรรมที่เปลี่ยนสังคม แต่น้อย ไม่ค่อยเกิดแบบนั้นขึ้นหรอก
ซึ่งวงการหนังสือเด็กของไทยมันยังไม่พัฒนาไปถึงจุดนั้น และมันต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะพัฒนาไปให้เป็นอย่างโลกตะวันตกได้ เรายังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหัวข้อเรื่องมนุษย์ แนวคิดหลักๆในสังคมไทยต่อเด็กยังเป็นคำว่า "หล่อหลอม" หล่อหลอมในแง่เคาะออกมาให้เป็นพิมพ์เดียวกัน ให้มีค่านิยมเดียวกัน วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน (ที่ไม่ใช่แจ่มใส) ในไทยจึงเป็นไปในแง่นั้นด้วย