กูเคยเขียนเรื่องคล้ายๆกันนี้ตอนมหาลัย จะลองอธิบายเท่าที่จำได้ให้ละกัน
การวิจารณ์ภาคทฤษฏี - คือการวิเคราะห์รูปแบบความสอดคล้องทางทฤษฏีกับโมเดล(ผลิตพันธ์) สิ่งนี้สัมพันธ์กับแบบ(From)และสถิติการนำโมเดลนี้มาใช้ในอดีตโดยใช้การเปรียบเทียบค่าต่างๆ เป็นการวิเคราะห์ขั้นฑุติยภูมิที่นำความรู้จากหลายๆส่วนมาอธิบาย
การวิจารณ์โดยผู้บริโภค - คือการวิเคราะห์ความรู้สึกของผู้ใช้จริง เป็นความเห็นของตลาด"ส่วนหนึ่ง" สิ่งนี้สัมพันธ์กับตัวผลิตภัณฑ์(Good) ภาพลักษณ์-วิธีการนำเสนอ(Image-Comers) กล่าวคือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภครับรู้ในตัวเองโดยไม่นำความรู้อื่นๆมาพสม เป็นการวิเคราะห์ขั้นปฐมภูมิ
เรื่องนี้มี 2 ลักษณะ
1. การวิเคราะห์ขั้นปฐมภูมิคือการวิเคราะห์ตลาดโดยตรงจากข้อมูลจริง(Fact) ซึ่งไม่จำกัดทั้งดีและร้าย
2. การวิเคราะห์ขั้นฑุติยภูมิเป็นได้ทั้งการวิเคราะห์ก่อนหน้า(A)และหลัง(B)การนำเสนอผลิตภัณฑ์ Aคือการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางทฤษฏี(Model) Bคือการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในตลาด(Market)ว่าสอดคล้องกับทฤษฏีแค่ใหน
คำวิจารณ์ที่ไม่ผ่านทฤษฏีใดๆนั้นสะท้อนตลาดอย่างแท้จริง(Fact) ดังนั้นมันจึงไม่สามารถลบล้างได้ด้วยทฤษฏี กล่าวคือต่อให้มันขัดทฤษฏีแค่ใหน แต่ถ้ามันขายได้คือขายได้ และทฤษฏีก็ต้องถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายมัน
คำวิจารณ์โดยทฤษฏีAแสดงถึงความสักยภาพ(Potential)ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ส่วนBคือการอธิบายว่าทำใมมันถึงเป็นเช่นนั้น เช่น ทำใมถึงขายได้หรือไม่ได้ มีประสิทธิภาพแค่ใหน และอนาคตของผลิตภัณฑ์
กล่าวโดยสรุปคือ คำวิจารณ์ต่างๆมีข้อดีของมัน และสะท้อนสิ่งต่างๆในตัวมันเอง ภาคทฤษฏีที่สมบูรณ์อาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ภาคการตลาดก็ไม่จำเป็นต้องอิงทฤษฏีเสมอไป ในกระบวนการทางตลาด ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน แต่สิ่งที่เป็นที่สุดคือความต้องการของตลาด(Demand)คือตัวกำหนดราคาและความสำเร็จของทฤษฏี(ผลิตภัณฑ์)นั้นๆ ถ้าทฤษฏีนั้นประสบความสำเร็จ ก็จะมีดีมานด์ต่อ"รูปแบบ"(Model)ความสำเร็จนั้น และรูปแบบนี้จะเป็นตัวขึ้นรูปทฤษฏีต่างๆที่เราใช้กันในทุกวันนี้
อธิบายให้สั้นกว่านี้ วิจารณ์โดยนักอ่านสะท้อนความต้องการของตลาด(ที่ผู้ผลิตนำเสนอผลิตภัณฑ์นั้นๆ - ตลาดมีหลายระดับ) การวิจารณ์ทางทฤษฏีสะท้อนศักยภาพยองผลิตภัณฑ์(ทั้งแบบAและB)
โดยพื้นฐานบอร์ดโม่งคือพวก2A เป็นพวกที่แสวงหาศักยภาพภายในของผลิตภัณฑ์(หนังสือ)นั้นๆ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่า2Aสะท้อนความต้องการของตลาด ดังนั้น2Aจึงมักเป็น2Bที่พยายามวิเคราะห์1(ตลาด)ว่าทำใมไม่กลายเป็นหรือแตกต่างจาก2A ดังที่พวกเราทำอยู่บ่อยๆ แปลโดยสรุปคือ"ทำใมของกากๆขายได้แต่ของดีๆขายไม่ได้"
ดังนั้นถ้าจะพูดให้น่าเกลียด คำวิจารณ์ภาคทฤษฏี(2)นั้นไร้ค่า ถ้าตลาด(1)ไม่ยอมรับ แต่ข้อสรุปนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานทางการตลาดว่า"มึงต้องการขาย(หนังสือ)ให้มากที่สุดตามความต้องการของตลาด"นะ เพราะกูเขียนเรื่องนี้ตอนIphoneแข่งกับSamsungและผลักBBออกจากตลาด(ที่ตอนนั้นไกล้ไปเต็มที) ตามทฤษฏี Iphoneมีดีกว่าทุกอย่าง แต่Samsungกลับสามารถแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมจนต้องสร้างทฤษฏีซัมซุงขึ้นมาอธิบายความสำเร็จที่หักปากกาเซียนนี้
ปล. แต่เอาจริงๆกูก็คิดว่าความเห็นผู้บริโภคค่อนข้างไร้ค่าในการเลือกซื้อมือถือ ยกเว้นเรื่องการบริการที่กูเชื่อผู้บริโภคมากกว่าผู้เชี่ยวชาญ