ซึ่งประเด็นที่ CPF จะเตรียมดำเนินการทางกฎหมายนั้น ทาง CPF ได้ลงไว้ในเว็บไซต์ว่า มีการใช้รูปภาพและข้อมูลประกอบการสื่อสารบนเวทีสาธารณะที่เป็นเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท เช่น ภาพที่สื่อถึงสภาบ่อดินของฟาร์มยี่สาร ที่ใช้เพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ปี 2554 ถึง ปี 2557 และข้อมูลที่ว่าทาง CPF เลี้ยงต่อเนื่องที่ฟาร์มยี่สารตั้งแต่ 2553 ถึง 2560 ทั้งหมดนี้ทาง CPF ชี้ว่าเป็นการใช้ภาพและข้อมูลเท็จ สถานที่ดังกล่าวไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และ หลังจากการตัดสินใจไม่เริ่มดำเนินโครงการและยุติการวิจัยเมื่อต้นเดือนมกราคม 2554 และได้ทำลายลูกปลาทั้งหมดแล้ว
.
และภาพที่ 2 เป็นภาพที่กล่าวอ้างว่าเป็นการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำ เพื่อนำไปขยายพันธุ์/ผสมพันธุ์แล้วนำไปอนุบาลในกระชังในฟาร์มยี่สาร ความเป็นจริงแล้วสถานที่นี้ไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และกิจกรรมดังปรากฎในภาพนี้ ไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกไข่ปลาตามวิธีปฏิบัติของบริษัท
.
ภาพที่ 3 ภาพสุดท้ายเป็นภาพถ่ายทางอากาศของบริเวณฟาร์ม โดยมีการระบุผังของฟาร์ม ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จ กล่าวคือ กรอบสีแดง ไม่ใช่บ่อเลี้ยงปลาตามที่กล่าวอ้าง ความเป็นจริงคือเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ขณะที่กรอบสีเหลืองที่ระบุว่าเป็นบ่อผสมพันธุ์ปลาและบ่ออนุบาลปลาตามที่กล่าวอ้างนั้น ความจริงคือเป็นบ่อปรับปรุงพันธุ์ปลานิล ปลาทับทิม และปลาทะเล
.
ซึ่งในการสู้คดีครั้งนี้ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) อาสามาช่วย BIOTHAI ต่อไป