>>381 มันคือความสะใจมั้ง เหมือนมีนักวิชาการหรือใครนี่แหละที่อธิบายว่า ชนชั้นกลางบน (ที่บางคนนิยามว่าเป็นสลิ่มไม่ใช่เหลือง) เติบโตมาในยุคที่ภาครัฐไม่มีนโยบายอะไรช่วยครอบครัวพวกตัวเองเลย ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบกว่าจะสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เลยไม่รู้สึกว่าการที่รัฐใช้เงินภาษี ใช้ทรัพยากรสาธารณะไปช่วยให้คนที่อยู่ระดับล่างมีชีวิตดีขึ้น เพื่อให้อย่างน้อยๆ คนรุ่นพ่อถึงจนแต่รุ่นลูกยกระดับเป็นคนชั้นกลางล่างได้ก็ยังดี มันมีความหมายกับพวกตัวเองยังไง
และพอถึงยุคทักษิณที่เป็นการเปิดศักราชประชาธิปไตยที่กินได้ งบประมาณถูกใช้ลงไปที่คนชั้นล่างจำนวนมาก (30 บาท กองทุนหมู่บ้าน 1 ทุน 1 อำเภอที่ใช้งบหวยบนดิน) คนชั้นกลางบนคิดว่าไม่ได้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ อย่าง 30 บาทก็ไม่ได้ใช้ อย่างน้อยๆ มีประกันสังคมไม่ก็ประกันชีวิต (ซึ่งผู้ใช้บริการจ่ายเงินในสัดส่วนสูงกว่า 30 บาท) หรือกองทุนหมู่บ้านก็ไม่ได้ใช้ (มีเงินฝากธนาคารและลงทุนอย่างอื่นเป็น เช่น หุ้น กองทุนรวม) หรือพวกนโยบายที่มาจากพรรคอื่นๆ ที่สานต่อประชานิยม เช่น กยศ. กู้ง่าย (กยศ. เกิดปี 2539 ก็จริงแต่แพร่หลายในยุคทักษิณและรัฐบาลหลังจากนั้นก็ปรับปรุงไปตามลำดับ) หรือเรียนฟรี 15 ปี (นโยายประชาธิปัตย์ยุคอภิสิทธิ์ แม้จะไม่ฟรีจริงแต่ก็ลดค่าใช้จ่ายคนระดับล่างได้พอสมควร) รวมถึงสารพัดนโยบายอุ้มภาคเกษตร เช่น ประกันราคาขั้นต่ำ จำนำข้าว
พวกนี้คนชั้นกลางบนเห็นว่านอกจากตัวเองไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเพราะเงินที่เอาไปทำมันมาจากพวกตัวเองนี่แหละที่เสียภาษี 2 ต่อ คนชั้นล่าง - กลางล่าง จ่ายแค่ VAT แต่คนชั้นกลางบนจ่ายทั้ง VAT ทั้ง ภงด. เพราะรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสีย เมื่อเห็นว่าพรรคไหนๆ ก็เอาแต่ช่วยคนล่าง - กลางล่าง ก็เลยพาลไม่เอาประชาธิปไตยมันเสียเลย