>>853 พูดแบบนี้ก็จบ กูแค่แย้งจุดที่พวกมึงบอกว่าการใช้ตรรกะเป็นคือผลประโชน์หลักแค่นี้ละ
>>854-845 อันนี้มึงเข้าใจผิดมาก ซึ่งก็ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่คิดว่าตรรกะศาสตร์และการให้เหตุผล(reasoning)คือการเรียนตามตำรา แต่จริงๆ แล้วตัวมันเองเป็นปรัชญาประยุกต์(applied philosophy) หมายความว่ามันมีหน้าที่เอาไปใช้กับเรื่องอื่น การใช้เหตุผลจึงไม่ใช่การเรียนในตำรา แต่เป็นการเอาหลักในตำราไปใช้จริง เหมือนกับนิติปรัชญาที่ต้องฝึกใช้กับเหตุการณ์จริง กฎหมายจริง และคน/สังคมจริงถึงจะเกิดผล แต่ความคร่ำครึของสังคมนี้คือการผลักให้ทุกอย่างอยู่ในตำราจนกลายเป็นปรัชญาหยุดนิ่งและมิอาจประยุกต์ได้นั่นละ
กูเคยอ่านบทความของคนที่เรียนปรัชญามาแล้วต่อโทคอมที่เมืองนอก เขาบอกว่าเขาสามารถนำหลักปรัชญามาประยุกต์ใช้ได้เยอะมาก เอาแค่โลกแห่งรูปแบบและโลกแห่งวัตถุของเพลโตก็ตีความถึง 0 และ 1 ในโปรแกรมได้เยอะมากแล้ว ยิ่งเอาแนวคิดทางปรัชญาหลายๆ อย่างมาลองเขียนโปรแกรมก็ยิ่งเปิดมุมมองใหม่ๆ ว่าจะนำปรัชญามาประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆ ได้ยังไง
สุดท้ายประเด็นของแนวคิดที่พวกมึงพยามปลูกฝังก็อยู่ที่ว่าจะประยุกต์ใช้ได้ยังไงมากกว่า ศาสตร์ทุกศาสตร์มีความสำคัญในตัวมันเอง ถ้าเรารู้จักการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ยกตัวอย่างคุๆ ก็พวกLNต่างโลกนั่นละ เอาความรู้คุๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในต่างโลกไม่ก็จีบสาว ของอย่างนี้เกิดจากวิธีสอนและประสบการณ์ชีวิตมากกว่า
นิดนึง>>855 36 กลยุทธ์ของจีนนำมาใช้ได้จริงนะ ในวงการทูตถือกันว่าทูตจีนเขี้ยวลากดินมากที่สุดชาตินึงเพราะมีกลยุทธ์แพรวพราว ว่ากันว่านักการทูตจีนจะถูกเทรนด้วย 36 กลยุทธ์และปวศ.จีนโบราณอย่างเข้มข้นถึงจะได้เป็นทูต กูเคยอ่านเลียดก๊กแล้วยอมรับนะว่าในนั้นมีกลยุทธ์ทางการทูตแพรวพราวมาก เป็นแหล่งอ้างอิงเวลานำมาประยุกต์ชั้นดีเลยละ