เวลาผมได้ยินคนพูดว่า “ต้องปรับตัวสิ” ในบทสนทนาเกี่ยวกับการแข่งขันในกิจการต่างๆ อันที่จริงผมก็ไม่ได้เถียงหรอกว่าคำพูดนี้ไม่จริง แต่ผมก็มีอะไรสงสัยตามมาอีกเป็นพรวนเช่น
- เราจะปรับตัวยังไงภายใต้เงื่อนไขที่กฎกติกามันเอื้อแค่เฉพาะคนบางกลุ่มได้ประโยชน์สูงสุด
- ต้องปรับตัวให้ถึงจุดไหนถึงจะเรียกว่ารอด เพราะคำว่ารอดและเป้าหมายของการปรับตัวแต่ละคนนั้นน่าจะแตกต่างกัน
- safety net ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทำให้ขีดความสามารถและข้อจำกัดการปรับตัวแต่ละคนไม่เท่ากัน และ ไม่เหมือนกันอีกด้วย
- ในหลายกรณี เช่น เกษตรกรที่ทำการเกษตรบนผืนที่ตัวเองมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด ปลูกพืชขาดทุนทุกปีแต่ก็ยังต้องทำต่อไปด้วนเหตุผลอื่นๆที่ไม่ใช่เรื่องการคำนวน cost-benefit ทางเสดสาดอย่างเดียว เราจะสามารถตำหนิคนกลุ่มนี้ได้มั้ยว่าไม่ยอมปรับตัว ?
เป็นต้น
ถ้าเราถกเถียงคำว่าปรับตัว-ไม่ปรับตัวด้วยท่าทีทางทฤษฎีตลาดเสรีแบบที่ชอบทำกันมาตลอด ผมคิดว่าการถกเถียงระหว่างบรรทัดอาจจะ miss the point ไปหลายอย่าง อย่างน้อยก็ 3-4 ข้อที่ผมยกมาด้านบน
ส่วนตัวผมเลยไม่ค่อยอินกับการถกเถียงในลักษณะนี้มานานพักใหญ่ๆแล้ว
ผมเห็นว่าการเอาทฤษฎีตลาดเสรีว่าด้วยปรับตัว-ไม่ปรับตัวในสนามแข่งขัน บ่อยครั้งไม่ได้สะท้อนโลกแห่งความเป็นจริงอีกหลายมิติตามที่ทฤษฎีนำเข้ามาจากดัทช์สมัยศตวรรษที่ 17-18 ได้นำเสนอเอาไว้แล้วคนมาเรียนท่องกันตามมหาวิทยาลัยนำมาพูดต่อ
แค่ไปเจอคนทำกิจการเจ๊งแล้วเจ๊งอีกแต่ก็ยังต้องทำต่อไป ทฤษฎีนี้ก็อธิบายไม่ได้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เพราะ by logic ทางทฤษฎี ถ้ามึงเจ๊ง มึงต้องปรับตัวสิ ถ้าทำแล้วเจ๊งแสดงว่าไม่ปรับตัว ต้องแพ้ออกจากสนามไป แต่ดันทำต่อไม่เคยหยุด ไม่ออกจากสนาม ผมเห็นคนเป็นแบบนี้จากชีวิตจริงมาแล้วหลายครอบครัว เจอด้วยตัวเองครับ
มันก็ตัองมีอะไรมากกว่านั้น จึงเป็นที่มาว่าผมถึงมีคำถามตามมาเป็นพรวนแทบทุกครั้งเมื่อเจอข้อถกเถียงแบบนี้