Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 24th quotes

Last posted

Total of 949 posts

704 Nameless Fanboi Posted ID:Tjq.KFAKUs

เป็นช่างไฟฟ้าต้องทำความเข้าใจด้วยนะครับว่า
ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้ต่อสายดิน แล้วเปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้าในส่วนที่เป็นโลหะหรือโครงโลหะของมันมีความต่างศักย์ทางไฟฟ้าสูงเกิน 50 V ถือว่าเป็นอันตรายได้นะครับ
การเทียบศักย์ไฟฟ้าต้องใช้เครื่องมือในการเทียบศักย์ไฟฟ้าเพื่อดูความต่างศักย์ทางไฟฟ้าที่โครงโลหะของโหลดเมื่อเทียบดินหรือคุณจะเอาไปเทียบศักย์ไฟฟ้ากับสายนิวทรัลก็ได้
แต่การใช้ test lamp ไปจิ้มดูเหมือนในภาพตัวอย่างนี้ มันไม่สามารถบอกได้ว่าเปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นโลหะหรือในส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความต่างศักย์ทางไฟฟ้ากับดินกี่โวลต์
การใช้ test lamp มันไม่สามารถบอกได้ครับ
ต้องใช้เครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้า ตั้งย่านวัดแรงดันไฟ AC สายวัดเส้นหนึ่งจิ้มที่โครงโลหะของโหลด แล้วสายวัดอีกเส้นหนึ่งเอาไปจิ้มที่สายนิวทรัลในกรณีที่เป็นระบบไฟฟ้าเก่าที่ไม่มีระบบสายดิน แต่ถ้าเป็นระบบไฟฟ้าใหม่ก็เอาไปเทียบศักย์ไฟฟ้ากับสายดินได้ซึ่งถ้าภายในระบบไฟฟ้ามีการต่อลงดินของสายเมนของนิวทรัลและในระบบไฟฟ้ามีสายดินในระบบ TN-C-S คุณจะเอาโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเทียบศักย์ไฟฟ้ากับสายนิวทรัลหรือสายดินก็ไม่แตกต่างกันครับเพราะว่ามันเชื่อมต่อถึงกันอยู่แล้ว
เอาโครงโลหะของโหลดไปเทียบกับไฟฟ้ากับสายนิวทรัลหรือสายดิน เพื่อดูความต่างศักย์ทางไฟฟ้าที่โครงโลหะของโหลดว่ามันมีความต่างศักย์ทางไฟฟ้ากี่โวลต์
แต่การเทียบความต่างศักย์ทางไฟฟ้ามันก็ยังไม่สามารถบอกได้อยู่ดีนะครับว่ามีกระแสรั่วไหลกี่มิลลิแอมป์ มันจะต้องต่อสายดินเข้าที่โครงโลหะของโหลดซะก่อน แล้วค่อยทำการวัดกระแสเพื่อดูว่ามีกระแสรั่วไหลกี่มิลลิแอมป์ ซึ่งเวลาอ้างอิงเรื่องปริมาณกระแสรั่วไหลก็จะอ้างอิงจากสายดินในระบบ TN-C-S เพราะว่าสายดินในระบบนี้มีค่าความต้านทานต่ำ เวลาจะอ้างอิงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นมีกระแสรั่วไหลที่กี่มิลลิแอมป์จึงต้องใช้สายดินจากระบบ TN-C-S หรือคุณจะไปยืมเอาสายนิวทรัลมาแทนเป็นสายดินเป็นการชั่วคราวเพื่อทดสอบกระแสรั่วไหลก็ได้เหมือนกัน มันก็เปรียบเสมือนสายดินในระบบ TN-C-S นั่นแหละครับ
แต่เวลาติดตั้งสายดินใช้งานจริงที่ตัวโหลดห้ามจั้มเอาสายนิวทรัลมาใช้เป็นสายดินนะครับ การไปจั้มเอาสายนิวทรัลมาใช้เป็นสายดินให้ใช้เฉพาะการทดสอบกระแสรั่วไหลเท่านั้น

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กเสียบ การเสียบปลั๊กด้านหนึ่งเข้ากับขั้ว L มันก็อาจจะทำให้ความต่างศักย์ทางไฟฟ้าที่โครงโลหะของโหลดสูงขึ้น แต่พอกลับปั๊บอีกด้านหนึ่งให้ขาปลั๊กอีกข้างหนึ่งตรงกับขั้วสาย L ก็จะทำให้ความต่างศักย์ทางไฟฟ้าที่โครงโลหะของโหลดมันลดลง ช่างอิเล็กทรอนิกส์หลายคนก็น่าจะเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ก็คือกลับปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วทำให้ไฟไม่ดูดเมื่อไปสัมผัสกับโครงโลหะของโลก ผมว่าช่างอิเล็กทรอนิกส์หลายคนก็น่าจะรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ผมก็เคยอธิบายไปหลายครั้งแล้วล่ะเคยทำคลิปให้ดูด้วย
แต่การกลับปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อไม่ให้โดนไฟดูด มันก็ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัวนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว...ถึงแม้จะกลับปลั๊กแล้วก็ไม่เป็นผลโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่ง

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.